สารสนเทศเพื่อการเขียนรายงาน

Information for Report Writing

1.1 เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
1.2 รู้ เข้าใจ และใช้ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง
1.3 เกิดความรู้และเข้าใจหลักการเขียนรายงานทางวิชาการได้อย่างถูกต้อง
1.4  สามารถเขียนรายงานได้ถูกต้องตามขั้นตอนและนำเสนอผลงานได้
1.5 สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆได้
2.1 เพื่อให้การเรียนการสอนทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยีต่างๆ
2.2 เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและออกแบบการเรียนรู้ เกิดประสบการณ์จากกิจกรรมการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น
ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ ทรัพยากรสารสนเทศและการจัดระบบ การสืบค้นสารสนเทศ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรายงานทางวิชาการ ขั้นตอนการเขียนรายงานทางวิชาการ ส่วนประกอบของรายงานทางวิชาการ การพิมพ์รายงานทางวิชาการ หลักการอ้างอิง และการนำเสนอ
อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาทุกวันจันทร์ ตั้งแต่เวลา 9.00-16.30 น. และวันอังคาร ถึงวันศุกร์ เวลาที่ว่างจากการสอนตามตาราง โดยแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอนของภาคเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความชื่อสัตย์ ไม่นำงานใดๆของผู้อื่นมาเป็นงานของตนเอง โดยมีคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้
 1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
 1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
 1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพใน คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
 1.1.6  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา ข่าว เหตุการณ์   เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องที่มีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต หรือจากมิจฉาชีพ การป้องกันตนเอง
1.2.2 อภิปรายกลุ่ม
1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้เกี่ยวกับสารสนเทศทั้งความหมาย ประเภทหรือลักษณะของสารสนเทศ ความสำคัญ ของสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ การสืบค้นข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศ การเลือกและประเมินสารสนเทศเพื่อนำมาจัดทำรายงานทางวิชาการ การอ้างอิงตามหลักการที่ถูกต้อง ตลอดจนการนำเสนอ โดยเน้นการฝึกปฏิบัติตามเนื้อหาของรายวิชาให้สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นได้
 
บรรยาย  อภิปราย ศึกษาแหล่งเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ มอบหมายงานเฉพาะรายและกลุ่ม  การนำเสนองาน การศึกษาโดยใช้โครงงานและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1  สอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
2.3.2  ประเมินจากการนำเสนองานที่มอบหมาย ผลการฝึกปฏิบัติการค้นหาข้อมูล  กรณีศึกษาหรือโครงงาน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง  สามารถอ้างอิงอย่างถูกวิธี
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานในเรื่องที่สนใจ รวบรวม เรียบเรียงข้อมูล วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   การสะท้อนแนวคิดจากประสบการณ์ พฤติกรรมการทำงาน
3.3.1   งานที่มอบหมาย สอบกลางภาค และปลายภาค
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรม
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   ฝึกปฏิบัติการต่างๆ ตามบทเรียนที่กำหนด
4.2.3   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.4   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อนร่วมชั้นเรียน
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3  ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1  พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ต่างๆ
5.1.2  ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล การส่งงาน การสื่อสารการทำงานในกลุ่ม
5.1.3  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1  สอนโดยการใช้หลายๆ รูปแบบ รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับบทเรียน
5.2.2  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1 ประเมินจากงานที่มอบหมาย รายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - สอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5, 7, 11, 13, 14 8 16 10% 15% 15%
2 การส่งงานที่มอบหมายรายบุคคล การนำเสนอรายงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย (รูปเล่มรายงาน) ตลอดภาคการศึกษา 20% 10% 20%
3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
  1.1 วิภาวรรณ ปลัดคุณ. 2561. การเขียนรายงาน. เชียงใหม่: ภิรมย์กิจการพิมพ์. 
  1.2 รุ่งฤดี  อภิวัฒนศร และคณะ. 2556. สารนิเทศและการเขียนรายงานทางวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น. 
  1.3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะอักษรศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์.  2552.   การค้นคว้าและการเขียนรายงาน.  พิมพ์ครั้งที่ 1 แก้ไขปรับปรุง.  กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์.
  14  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์.  2546.   การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศและการเขียนรายงาน.  เชียงใหม่ : ภาควิชา.
  1.5 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์.  2557.   การรู้สารสนเทศและการนำเสนอสารสนเทศ.  ฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 2.  เชียงใหม่ : ภาควิชา.
  1.6 มหาวิทยาลัยบูรพา  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์.  2548. สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.
  1.7 รุ่งฤดี  อภิวัฒนศร และคณะ. 2551. การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น. 
  1.8 อรทัย  วารีสะอาด.  2558.  เทคนิคการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดในยุคดิจิทัล.  กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  1.9 อรทัย  วารีสะอาด.  2558.  บริการอ้างอิงและสารสนเทศ : เอกสารคำสอนวิชา สศ 221.  กรุงเทพฯ : ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  1.10 Publication manual of the American Psychological Association. 2010. 6th ed.  Washington, D.C. : American Psychological Association.
 
-
-
นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับ พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
     1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
     3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
     มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
   จากผลการทบทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา (ข้อ 4) กลุ่มอาจารย์ผู้สอนทบทวนเนื้อหาและกลยุทธ์การสอน แล้วนำเสนอแนวทางปรับปรุงและพัฒนารายวิชา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมกลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาสรุปและวางแผนพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพื่อนำเสนอภาควิชา / คณะ