ปฏิบัติการทางวิศวกรรมความร้อน

Thermal Engineering Laboratory

  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน  องค์ประกอบ ประโยชน์การฝึกปฏิบัติในทางวิศวกรรมความร้อน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ จากการศึกษาและปฏิบัติการทางวิศวกรรมความร้อน อีกทั้งยังเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีการปรับเปลี่ยนการทดลองในห้องปฏิบัติการหรือตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับ การนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสีความร้อน การทดสอบหาค่าพลังงานความร้อน การทดสอบอัตราการไหลของอากาศ การทดสอบการสูญเสียในท่อ การทำความเย็นและการปรับอากาศ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย ๑ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนักศึกษาอาจจะมีการติดต่อกับอาจารย์โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
     พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น  และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม โดยมีคุณธรรมจริยาธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
   1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
   2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
   3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
   4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
   6. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
   1. บรรยายความรู้เบื้องต้นและสอนวิธีใช้เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ
   2. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและทำการทดลองพร้อมทั้งเก็บผลที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อหาลักษะเฉพาะของการทดลองนั้นๆ
   3. ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนอการทดลองหลังจากทำการทดลองเสร็จ
    1. พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
   2. ประเมินจากผลการนำเสนอ ผลการทดลองในห้องเรียน
   3. พฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน ความตรงต่อเวลา การทำปฏิบัติการและรายงานผล การปฏิบัติการ
มีความรู้เกี่ยวกับ การนำความร้อน การพาความร้อน การแผ่รังสีความร้อน พลังงานความร้อน อัตราการไหลของอากาศ การสูญเสียในท่อ การทำความเย็นและการปรับอากาศ
บรรยาย และสอนวิธีใช้เครื่องมือ จากนั้นให้นักศึกษานำเสนอการทดลองหลังจากทำการทดลองเสร็จ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้
   1. ทำรายงานการทดลองโดยทำการค้นคว้าเพิ่มเติม วิเคราะห์และสรุปผล
   2. การนำเสนอผลการทดลองในชั้นเรียน
   นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหาแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
   1. มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
   2. มีทักษะในการนำ ความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
    การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้
    1. ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติตามวิธีการทดลองที่กำหนดไว้ 
   2. ให้นักศึกษาทำรายงานของแต่ละการทดลองโดยมีวิธีคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
   1. วัดผลจากการประเมินรายงานจากการทดลอง
   2. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาในขณะทำการทดลอง
   1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
   2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
   3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดกิจกรรมกลุ่มการทำการทดลองในชั้นเรียน 
2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดลองนั้นๆ
3. การนำเสนอรายงาน
1. สังเกตการทำงานเป็นกลุ่มของนักศึกษา
2. ประเมินจากแบบทดสอบในคาบเรียน พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
   1. ทักษะการคิดคำนวณ
   2. พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง
   1. บรรยายความรู้เบื้องต้นที่จะใช้ในการทดลอง
   2. สาธิตวิธีใช้เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองให้นักศึกษาดู
   1. ประเมินจากรายงาน
   2. สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาขณะฝึกปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 3 4 5 1 2
1 31089310 ปฏิบัติการทางวิศวกรรมความร้อน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.4, 2.2, 3.2, 3.3, 4.4 รายงาน การทำงานกลุ่มและการนำเสนอ การส่งงานตามที่มอบหมาย ฝึกปฏิบัติทำการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 90%
2 1.2, 1.3, 2.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
J.P. Holman, “Heat Transfer A Practical Approach”  edth 10. Singapore: McGraw-Hill, 2010.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นของนักศึกษาได้ดังนี้
   1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
   2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
   3. ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
   1. การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
   2. ผลการเรียนของนักศึกษา (การนำเสนอผลงาน)
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
   1. ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
   2. ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อปรับพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
   3. ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะแก่กลุ่มนักศึกษา
   ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
    1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
   2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
   1. ปรับปรุงรายวิชาทุกๆ ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ ๔
   2. ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย
   3. นำข้อคิดเห็นจากการประเมิน โดยนักศึกษามาประมวลผล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประมวลจะถูกนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
   4. ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้ตรงกับการทำงานจริง โดยให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพในอนาคตได้