จิตวิทยาทั่วไป

General Psychology

        1.  เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาว์ปัญญา
        2.  เข้าใจพฤติกรรมต่างๆของตนเองและผู้อื่น
        3.  นำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้แก้ปัญหาของตนเอง
        4.  นำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการปรับตัว เข้ากับสังคม
        5.  ตระหนักถึงความสำคัญของจิตวิทยาและการนำจิตวิทยาไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการทำงานต่างๆ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเรื่องของตนเองตั้งแต่เกิดจนปิดฉากพัฒนาการชีวิต เข้าใจระบบอวัยวะที่ทำให้เกิดพฤติกรรม เป็นผู้ที่เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่น มองโลกในเชิงบวก คิดดี พูดดี ทำดีทำตนเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น มีสุขภาพจิตดีสามารถปรับตัวได้
ศึกษาเกี่ยวกับความหมายและขอบข่ายของจิตวิทยา อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พัฒนาการของมนุษย์ ระบบอวัยวะต่างๆของมนุษย์โดยสังเขป เชาว์ปัญญา การรับรู้ การเรียนรู้ การจูงใจ บุคลิกภาพและการปรับตัว สุขภาพจิตและพฤติกรรมทางสังคม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

       พัฒนาผู้เรียนให้รู้จักเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาว์ปัญญา  เข้าใจพฤติกรรมต่างๆของตนเองและผู้อื่น นำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้แก้ปัญหาของตนเองและ นำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการปรับตัว เข้ากับสังคม
-บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับข่าวสุขภาพจิตในปัจจุบัน
-อภิปรายกลุ่มเรื่องที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา
-บทบาทสมมุติ/คลิปละครทางจิตวิทยา
-เข้าเรียนตรงเวลา,ส่งงานตามที่กำหนด 
 -อ่านหนังสือนอกเวลาที่สนใจและเกี่ยวข้องกับวิชาเรียนอย่างน้อยจำนวน  1 เล่ม
-มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
-ประเมินผลจากการอภิปรายกลุ่มการทำงานกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมติของนักศึกษา
-ประเมินจากการนำเสนอโดยใช้โปรแกรม Power point
-ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน ต้องมีเอกสารอ้างอิง
     ความรู้ที่ต้องได้รับความรู้เรื่องความหมาย ความสำคัญของศึกษาเกี่ยวกับ จิตวิทยา ขอบข่ายของจิตวิทยา อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม  พัฒนาการของมนุษย์ ระบบอวัยวะต่างๆของมนุษย์โดยสังเขป เชาว์ปัญญา การรับรู้ การเรียนรู้  การจูงใจ  บุคลิกภาพและการปรับตัว สุขภาพจิตและพฤติกรรมทางสังคมโดยมี
    2.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้หาที่ศึกษาเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาว์ปัญญาเข้าใจพฤติกรรมต่างๆของตนเองและผู้อื่น
    2.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาจิตวิทยาทั่วไปได้
    2.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้แก้ปัญหาของตนเอง นำไปใช้ในการปรับตัว เข้ากับสังคมและประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการทำงานต่างๆ            
ใช้วิธีการสอนแบบบรรยายและส่งเสริมการทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมติโดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องอ่านหนังสือที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาอย่างน้อย 1 เล่ม และเขียนไดอารี่ส่วนตัว โดยเน้นการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา ( Problem base Learning) วิเคราะห์ตนเองทั้งส่วนที่ดีและส่วนที่เด่น
 -ทดสอบย่อยเป็นรายหน่วย
-รูปเล่มรายงาน
-การนำเสนอในชั้นเรียน
-การแสดงบทบาทสมมติในชั้นเรียน
 -วิเคราะห์ตนเองในไดอารี่  (ฉีกหน้ากากตนเอง)
 -อ่านหนังสือนอกเวลา
 3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
 3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
          การสอนวิชาจิตวิทยาทั่วไปช่วยให้นักศึกษาเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจพฤติกรรมตนเองและพฤติกรรมคนอื่น สามารถแก้ไขปัญหาส่วนตัว การเรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพมีความคิดในเชิงบวก สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้และมีสุขภาพจิตดี ต้องมีทักษะดังนี้
        1.  ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
        2.  วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปความคิดรวบยอดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
        3.  ประยุกต์ทักษะความเข้าใจในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพได้เหมาะสมตามสถานการณ์
           -ใช้วิธีสอนแบบเน้นผู้เรียนสำคัญโดยให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูป Power point
          -แสดงบทบาทสมมติของนักศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์
          -ศึกษาดูงานนอกสถานที่ 
-งานมอบหมาย การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา  30 คะแนน
-สอบกลางภาค  30  คะแนน
-สอบปลายภาค  30  คะแนน
-จิตพิสัย  10  คะแนน (ผู้สอน : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบงาน แต่งกายเรียบร้อย 4 คะแนนอีก 6 คะแนนจากส่วนกลาง)
       4.1.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
       4.1.2  มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
       4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม            
       วิชาจิตวิทยาทั่วไปมุ่งพัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ การเรียนรู้ด้วนตนเอง ทำงานตามที่มอบหมาย ตรงตามกำหนดเวลา พัฒนาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยการให้ความสำคัญเรื่องการ รักตนเองก็รักคนอื่นมีการพัฒนาทักษะจิตสาธารณะทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมและพัฒนาตนพัฒนาจิตโดยการปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าใจอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง
-จัดการสอนแบบกิจกรรมกลุ่มโดยนักศึกษามีส่วนร่วม
-กำหนดปฏิทินเวลานำเสนอ
-ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วนโดยใช้ Power point ของผู้สอนสรุปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ ครอบคลุม
-ฝึกปฏิบัติจริงโดยการเข้าค่ายฝึกสมาธิปฏิบัติธรรมเพื่อฝึกจิต
-รณรงค์ให้นักศึกษาใส่เสื้อพื้นเมืองเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน
-ให้เพื่อนนักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
-ครูประเมินตามแบบการนำเสนอ
-สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียน
-แบบฝึกหัด
-การเข้าร่วมโครงการต่างๆ ที่ผู้เรียนและผู้สวนร่วมกันกำหนด
5.1  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
        5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
        5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
        5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
        -พัฒนาทักษะการใช้Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจากการข่าวสุขภาพจิต การทำร้ายตนเอง ปัญหาต่างๆที่เกิดกับเยาวชนที่ได้ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์และหนังสือพิมพ์อิเลคทรอนิกส์
       -พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่างๆ
      -มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหาเว็บไซค์ที่ให้ความช่วยเหลือปัญหาสุขภาพจิต
       - ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาของผู้สอน
        -ให้นักศึกษาเขียนเว็บบอร์ดเสนอแนวคิดให้สังคมตอบในช่องของเว็บบอร์ดแบบไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
        -การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point
       -ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
       -ดูจากเว็บบอร์ดที่ผู้สอนโพสต์ให้นักศึกษาตอบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2 2.1 ,2.2 2.4,2.5 3.1,3.3 3.5,4.1 4.2 5.1,5.2 6.1,6.3 7.1,7.2 8.1,8.2, 8.3 สอบกลางภาคและปลายภาค 9 และ 17 60%
2 6.2 9.1 9.2 9.3 บรรยาย แบ่งกลุ่มอภิปราย ซักถามแนวคิด แสดงความคิดเห็นโดยการวิเคราะห์ วิพากษ์ นำเสนอและทำงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม การทำงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
สุภวรรณ  พันธุ์จันทร์.จิตวิทยาทั่วไป.พิมพ์ครั้งที่ 2,พิษณุโลก : ต้นส้ม.2553.
สุภวรรณ  พันธุ์จันทร์.เอกสารประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาทั่วไป.พิษณุโลก : ต้นส้ม.2553.       
กันยา  สุวรรณแสง.จิตวิทยาทั่วไป General  psychology . กรุงเทพมหานคร : อักษรพิทยา, 244 หน้า, 2538.
จิราภา เต็งไตรรัตน์และคณะ.จิตวิทยาทั่วไป.พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย
               ธรรมศาสตร์,364 หน้า, 2547.
ชัยพร วิชชาวุธ. มูลสารจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,491 หน้า, 2525.
โยธิน  ศันสนยุทธ และคณะ. จิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : ศูยน์ส่งเสริมวิชาการ, 381หน้า , 2533.
พิชญ์สิรี  โค้วตระกูล และ สุธีรา  เผ่าโภคสถิตย์. จิตวิทยาทั่วไป.กรุงเทพมหานคร : เทพรัตน์พับลิช
              ชิ่งกรุ๊ป,200 หน้า  , 2538.
โรเบิร์ต  อี. ซิลเวอร์แมน. สุปาณี  สนธิรัตน และคณะ  แปลและเรียบเรียง. จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้ง
              ที่ 5 ,กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์, 388 หน้า  ,2537.
ทิพย์  นาถสุภา. บทความประกอบหมวดวิชาการศึกษา  วิชาจิตวิทยาการศึกษา. พระนคร :
             หน่วยศึกษานิเทศ กรมการฝึกหัดครู, 2513.
ศรีเรือน  แก้วกังวาล. จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพมหานคร :
            มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 324  หน้า, 2545
พวงเพชร สุรัตนกวีกุล. มนุษย์กับสังคม.พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัย 
         เกษตรศาสตร์,216 หน้า,2541.
John W. Santrock. Psychology. 6ed. New York  : McGraw-Hill Higher  ,2000,593pp.
Stephen Worchel  and Wayne Shebilske. Psychology Principles and Applications.3ed.
             New Jersey : Englewood  cliffs  ,1989,800 pp.
เว็บไชด์กรมสุขภาพจิต
     -นักศึกษาเป็นผู้ทำแบบประเมินการนำเสนอ
     -นักศึกษาเป็นผู้เสนอแนะกิจกรรมในการเรียนการสอนโดยเสนอสัปดาห์แรกของการเรียน
     -สังเกตจากการมีส่วนร่วมในการเรียนในการอภิปรายกลุ่มใหญ่
     -สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
     -ประเมินจากผลการนำเสนอ
     -ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค  
-แก้ไขเนื้อหาให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ปัญาต่างที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตของบุคคล
     -ให้นักศึกษาเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
     -ทำวิจัยในชั้นเรียน  
          ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าหรือมีการพัฒนาที่ผิดปกติแก้โดยการขอพบนักศึกษา แจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
วิชาจิตวิทยาทั่วไปต้องปรับปรุงเนื้อหาทุก 2 ปี เพราะมีปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมที่ต้องเรียนรู้ให้เท่าทัน