การวิเคราะห์และออกแบบระบบ

System Analysis and Design

1.1 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
1. 2 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่เป็นรูปธรรม สามารถวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศสำหรับธุรกิจได้
2.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ในรายวิชานี้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้
ศึกษาเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ วงจรการพัฒนาระบบ วิธีวิเคราะห์ระบบ การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบ ระบบธุรกิจ แผนภาพแสดงการไหลของข้อมูล คำอธิบาย การประมวลผล ผังแสดงการตัดสินใจ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล ผังโครงสร้าง การออกแบบส่วนรับข้อมูล การออกแบบส่วนแสดงผลข้อมูล การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้ การบริหารโครงการ การทำเอกสารประกอบ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์
1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสังคม
1.1.3 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
กำหนดให้มีวัฒธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
      2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
      2.1.3 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกำหนด
      2.1.4 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์
      2.1.5 รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
      2.1.6 มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้อง
      2.1.7 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
     2.1.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องการทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
บรรยาย อภิปราย โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฏิบัติจริง โดยการมอบหมายงานพร้อมทั้งอธิบายงานที่มอบหมายเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ หรือการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์
2.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.2 แบบฝึกหัดที่มอบหมาย
2.3.3 การทดสอบย่อย
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้น ตีความและประเมินอุตสาหกรรมโดยใช้สารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาทำการศึกษา วิเคราะห์และออกแบบกรณีศึกษา แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.2.2 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดที่ส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์
3.3.1 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3.3.2 แบบฝึกหัดที่มอบหมาย
3.3.3 การนำเสนอชิ้นงานหน้าชั้นเรียน
4.1.1 สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้อย่างต่อเนื่อง
4.2.1 มอบหมายงานกลุ่ม  เพื่อช่วยกันวิเคราะห์แก้ปัญหากรณีศึกษา
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3.2 แบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย
4.3.3 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถเลือกใช้สื่อสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
5.2.1 ให้นักศึกษทำเอกสารรายงานการวิเคราะห์และออกแบระบบสารสนเทศ ที่ประกอบด้วยการวิเคราะห์และออกแบบระบบของกรณีศึกษา
5.3.1 แบบฝึกหัดที่ได้รับมอบหมาย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงานเป็นกลุ่ม
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม และโครงงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE108 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2 สอบกลางภาค 8 20%
2 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2 สอบปลายภาค 16 30%
3 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2 ทดสอบย่อย ระหว่างเทอม 10%
4 1.1.1 – 1.1.3, 2.1.1 – 2.1.3, 3.1.1 – 3.1.2, 4.1.1 – 4.1.3, 5.1.1 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
5 1.1.1 – 1.1.3 การเข้าชั้นเรียนและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
โอภาสเอี่ยมสิริวงศ.การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2549.
กิตติภักดีวัฒนะกุล, พนิดาพานิชกุล. คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร : เคทีพีคอมพ์แอนด์คอนซัลท์,2546.
-
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้

สังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน สังเกตผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ งานที่มอบหมาย วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 ประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ