การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

Computer Programming

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐาน องค์ประกอบ ประโยชน์จากการใช้งานด้านการเขียนโปรแกรม ผลกระทบ การใช้งานด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้  ควรมีการเปลี่ยนแปลงตังอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ แนวคิดและองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ การอันตรกิริยา(INTERACTION) ระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ การประมวลผลข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการออกแบบและการพัฒนาโปรแกรม การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง การประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางวิศวกรรม
อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นกลุ่มหรือเฉพาะรายตามความต้องการ 1 ชั่วโม/สัปดาห์ โดยการกําหนดเวลาร่วมกับระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความซื่อสัตย์ชุจริต มีวินัย มีความรับผิดชอบ และเคารพกฎระเบียบ ตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
          1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
          1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
          1.1.3 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
          กําหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฟ้งให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของสถาบันฯ นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทํางานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทําการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการยกย่องนักศึกษาที่ทําดี เสียสละ ทําประโยชนแก่ส่วนรวม
          1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
          1.3.2 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ไต้รับมอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ตามมาตรฐานความเต่อไปนี้
          2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สําคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษา
          2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งสามารถประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
          2.1.3 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง
บรรยายเป็นแบบคําสั่งภาษาคอมพิวเตอร์อธิบายการทํางานของอัลกอริทึม ให้นักศึกษาทําแบบแกหัดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเพื่อการเขียนโปรแกรมแกใช้โปรแกรมแปลภาษา
          2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นวัดหลักการและทฤษฎี
          2.3.2 การทําแบบแกหัด
เน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจํานักศึกษาตองมีคุณสมบัติต่างๆ เกิดทักษะทางปัญญา ดังนี้
          3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
          3.1.2 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
          3.2.1 ยกตัวอย่าง ถาม-ตอบ ประยุกต์ใช้อัลกอริทึมเทคนิคในการเขียนโปรแกรม
          3.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาทําแล้วนําเสนอผลงาน อภิปรายกลุ่ม
          3.2.3 การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมการเขียนโปรแกรม
          3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์แนวคิดในการออกแบบอัลกอริทึม ประยุกต์ใช้คําสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ และประยุกต์ใช้อัลกอริทึมเพื่อการเขียนโปรแกรม
          3.3.2 ประเมินจากการนําเสนอผลงานที่มอบหมาย
          3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดในการเขียนโปรแกรม
นักศึกกษาด้องสามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ตามคุณสมบัติดังนี้
          4.1.1 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายงานรายกลุ่มและ/หรือรายบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมและประยุกต์ใช้อัลกอริทึม แล้วให้มีการนําเสนอผลงาน
          4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการทํางาน และความรับผิดชอบ
          4.3.2 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
          5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จําเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทํางานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
          5.1.2 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารไค้อย่างเหมาะสม
          5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากเว็บไซต์ โดยสืบค้นอัลกอริทึมมาประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรม แล้วนําเสนอโดยเป็นแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
          5.2.2 เรียนผ่านสื่อระบบ E- Learning หรือคนคว้าศึกษาข้อมูลในอินเตอรเพิ่มเติม ส่งแบบฝึกหัด และสนทนซักถามในระบบ รวมถึงการใช้อีเมล์ในการติดต่อสื่อสารกับอาจารย์
          5.3.1 การนําเสนอผลการศึกษาค้นคว้า
          5.3.2 การส่งแบบฝึกหัดครบถ้วน ตรงตามกำหนด
เน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ดังข้อต่อไปนี
           6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในค้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม
สังเกตขั้นตอนปฏิบัติงานและความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยี สารสนเทศ 6. ทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCC304 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 3.1, 3.1, 3.4 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 17 20%,20%
2 2.2, 4.6, 5.4 2.7, 3.4, 4.6, 5.1, 6.1 3.4, 4.6, 5.4 ทําแบบฝึกรายบุคคล ฝึกปฏิบัติ รายบุคคล นําเสนองานที่มอบหมาย รายกลุ่ม ตลอดภาค การศึกษา 10%,20%,20%
3 1.2 การเข้าชั้นเรียน มีส่วนร่วมในการเรียน อภิปราย เสนอความ คิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
[1] Jeri R. Hanly and Elliot B. Koffrnan, Problem Solvmg and Program Design in c. 5th ed. USA: Pearson Addison-Wesley, 2007.
[2] Joyce Farrell, Programming Logic and Design Comprehensive, Thomson Course TechnologyPTR.
[3] สานนที' เจริญฉาย. การเขียนโปรแกรมและอัลกอริทึมกรณีตัวอย่างภาษาซี.พิมพ์ครั้งที่ 6: กรุงเทพฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 2546.
[4] อรพิน ประวัติบริสุทธิ์, คู่มือเรียนภาษาซีฉบับปรับปรุงใหม่,โปรวิชั่น, 2554.
 
จัดกิจกรรมในการรวบรวมแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ด้วยวิธีการดังนี้
           1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
           1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
           1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทําเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนด้วยวิธีการดังนี้
          2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน หรือหัวหน้าหลักสูตร
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจําหลักสูตร
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรูของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม