สหกิจศึกษาทางวิศวกรรมไฟฟ้า

Co-operative Education in Electrical Engineering

สหกิจศึกษาจะทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์จริงในการทำงาน  และสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงาน  ฝึกให้นักศึกษาทำงานเป็นทีม  และเป็นการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา
      ๑) เพื่อให้นักศึกษาได้เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีให้เกิดผลในทางปฏิบัติในการทำงาน       ๒) เพื่อให้นักศึกษาได้นำความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงาน       ๓) เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ในสภาพแวดล้อมทำงานจริง       ๔) เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงาน และการแก้ไขปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น       ๕) เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมจริง       ๖) เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมในองค์กร
ฝึกงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมไฟฟ้า และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตามลักษณะสาขางานเฉพาะที่เรียนมา
๑ ชั่วโมง
๑) มีภาวะความเป็นผู้นำ ๒) ตระหนักในคุณธรรม จริยธรรม เสียสละต่อองค์กร ๓) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กร ๔) มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
      ๑) ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนฝึกประสบการณ์ภาคสนาม       ๒) กำหนดตารางเวลาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม กำหนดขอบเขตของงาน และกำหนดวิธีการประเมินผลงาน       ๓) มอบหมายงาน กำหนดระยะเวลาปฏิบัติงาน ตรวจติดตาม และควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎ ข้อบังคับของสถานประกอบการเช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร พร้อมมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
      ๑) ประเมินโดยพนักงานที่ปรึกษาที่ควบคุมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างฝึกภาคสนาม       ๒) ประเมินโดยอาจารย์ที่ปรึกษา จากการพูดซักถามนักศึกษา และซักถามจากพนักงานที่ปรึกษาที่ควบคุมนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม พร้อมดูสมุดบันทึกการฝึกปฏิบัติการภาคสนาม
      ๑)  สามารถวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และทักษะพื้นฐานทางวิศวกรรม รวมถึงเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการแก้ปัญหา       ๒)  มีความรู้ ความเข้าใจทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติ ในเรื่องที่ศึกษา       ๓)  เข้าใจและพัฒนาความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความชำนาญ อย่างต่อเนื่อง
      ๑) สถานประกอบการจัดพนักงานที่ปรึกษาเพื่อ แนะนำ และถ่ายทอดความรู้ให้กับนักศึกษาที่ออก ปฏิบัติการภาคสนาม       ๒) ใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ เพื่อการปฏิบัติงานจริงในองค์กร ภายใต้การดูแลของพนักงานที่ปรึกษา
       ๑) ประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา        ๒) ประเมินผลจากความสมบูรณ์ของผลงาน ที่ได้รับมอบหมาย
      ๑)  คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดอย่างมีระบบ       ๒) สามารถ รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุป ประเด็นปัญหาได้       ๓) สามารถ ค้นหาแหล่งความรู้ และเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
      ๑) มอบหมายโจทย์ปัญหาให้นักศึกษาช่วยออกความคิดเห็น คิดวิเคราะห์ และสามารถสรุปแนวทางการแก้ปัญหา       ๒) มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงานผลการปฏิบัติภาคสนาม       ๓) ประชุมร่วมกันระหว่าง พนักงานที่ปรึกษา อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษา อย่างสม่ำเสมอ
ประเมินผลจากแนวความคิดในการแก้ไขปัญหา การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ของนักศึกษาเมื่อนักศึกษานำเสนอผลงาน
      ๑) มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม       ๒) รู้จักบทบาท หน้าที่ มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย รวมถึงมีจิตสำนึกรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
      ๑) ประชุมร่วมกัน เพื่อมอบหมายงาน ติดตามงานและประเมินผล       ๒) มอบหมายงานให้ปฏิบัติเป็นทีม
       ๑) ประเมินจากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน และจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา        ๒) ประเมินจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์นักศึกษา และการสังเกตพฤติกรรม
      ๑) มีทักษะการใช้เทคโนโลยี เครื่องคำนวณ และเครื่องมือทางวิศวกรรม ในงานที่เกี่ยวข้องได้       ๒) มีการสื่อสาร ด้วยวจนะภาษา อวจนะภาษา และเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      ๑)  มอบหมายงานที่ต้องมีประมวลผลโดยใช้เทคโนโลยี เครื่องคำนวณ การใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมในการแก้ไขปัญหา หรือนำเสนอผลงาน       ๒) มอบหมายงานที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ ทักษะการคำนวณ หรือใช้สถิติ เพื่อนำเสนอข้อมูล
       ๑) ประเมินจาก เอกสาร และการนำเสนอผลงานของนักศึกษา โดยใช้ทักษะการสื่อสารทางเทคโนโลยี และทักษะการคำนวณ        ๒) ประเมินจากผลการแก้ปัญหาโดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ การปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ๕๐
2 การนิเทศงานสหกิจศึกษา การนิเทศงานสหกิจศึกษา ๒๐
3 รายงานผลการปฏิบัติงาน รายงานผลการปฏิบัติงาน ๑๗ ๑๕
4 การนำเสนอผลงานของนักศึกษา การนำเสนอผลงานของนักศึกษา ๑๗ ๑๕
๑) เข้าร่วมปฐมนิเทศนักศึกก่อนฝึกประสบการณ์ภาคสนาม พร้อมแจกคู่มือฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ๒) รับฟังปัญหาและช่วยแก้ปัญหาให้กับนักศึกษาหลายช่องทาง ได้แก่ ทางโทรศัพท์ ทางอีเมล์ ทาง face book เป็นต้น
      ๑) มีพนักงานที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำ       ๒) มีสวัสดิการเบี้ยเลี้ยงในการทำงาน (ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถานประกอบการ)       ๓) มีสวัสดิการค่าอาหาร (ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถานประกอบการ)       ๔) มีสวัสดิการที่พัก (ขึ้นอยู่กับนโยบายของสถานประกอบการ)       ๕) มีสวัสดิภาพในการฝึกประสบการณ์
      ๑) นักศึกษา        ให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม       ๒) พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ        พนักงานที่ปรึกษา บันทึกงานที่มอบหมาย ผลสัมฤทธิ์ของผลงานและตอบแบบสอบถามและแบบประเมินผลการฝึกสหกิจศึกษา                   ๓) อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม        อาจารย์ที่ปรึกษา บันทึกการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา รวมถึงบันทึกผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาหลังจากได้รับคำแนะนำและตอบแบบสอบถาม       ๔) บัณฑิตใหม่       ติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ผ่านโครงการฝึกสหกิจศึกษา  ที่จบในสาขานั้นๆ โดยการสำรวจแบบสอบถาม
ประเมินผลนักศึกษาในระหว่างและเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษา โดยพิจารณาจากบันทึกผลการนิเทศ รายงานผลการฝึกฯของพนักงานที่ปรึกษา และการนำเสนอ
หากผลประเมินของพนักงานที่ปรึกษาเป็นไปในทางที่แตกต่างจากการประเมินของอาจารย์ที่ปรึกษา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการประชุมร่วมกันเพื่อหาข้อสรุป
อาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม นำข้อเสนอแนะจาก นักศึกษา พนักงานที่ปรึกษา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อทำการวางแผนปรับปรุงต่อไป