ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาธารณะและบริการ

Public and Services Industrial Product Design

       รู้และเข้าใจการค้นคว้าข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างกรอบแนวคิดในการออกแบบ  ขนาดสัดส่วนมนุษย์ให้สัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงาน  คุณสมบัติวัสดุและกรรมวิธีการผลิต ระบบกลไกที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เพื่อการบริการ มีทักษะการร่างแบบ การเขียนภาพประกอบเพื่อการนำเสนองาน การเขียนแบบเพื่อการผลิตและการทำหุ่นจำลอง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ มีความเข้าใจ ปฏิบัติได้ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการนำความรู้ ความเข้าใจ นำไปปฏิบัติด้านการออกแบบสาธารณะภัณฑ์และผลิตภัณฑ์บริการ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบอุตสาหกรรม  ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านวัสดุและกรรมวิธีกาผลิต รวมถึงเทคโนโลยี นวัตกรรมและสภาพแวดล้อมที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ฝึกปฏิบัติ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาธารณะและบริการ ค้นคว้าข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างกรอบแนวคิดในการออกแบบ ขนาดสัดส่วนมนุษย์ วัสดุและกรรมวิธีการผลิต ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะภัณฑ์และผลิตภัณฑ์บริการ ตามกระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาทางออนไลน์
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

1.1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
1.1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสาธารณะภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์บริการ

1.2.2 อภิปรายกลุ่ม
กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลรายงานที่มอบหมาย
รู้และเข้าใจการค้นคว้าข้อมูลประกอบการออกแบบ  ขนาดสัดส่วนมนุษย์ให้สัมพันธ์กับพฤติกรรมการทำงาน  คุณสมบัติและกรรมวิธีการผลิตวัสดุธรรมชาติ และวัสดุสังเคราะห์ ระบบกลไกที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์เพื่อการบริการ
          2.1.1   รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.1.2   มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
     2.1.3   มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
     2.1.4   มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา   
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การทำรายงาน และมอบหมายโครงงาน Project – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากการทำรายงาน การค้นคว้าข้อมูล  หรือโครงงาน Project – based Learning
พัฒนาความสามารถในการ คิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการออกแบบสาธารณะภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์บริการ
          3.1.1   สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน
     3.1.2   สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์    
          3.1.3   สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
          3.1.4   มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน        
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2   อภิปรายกลุ่ม
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการเสนอโครงการออกแบบสาธารณะภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์บริการ
3.3.1   สอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและ
มนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
4.1.2   มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3   สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   การนำเสนอรายงาน
4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2  ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
          5.1.1   สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
          5.1.2   สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3   มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปรายรวมถึงการทำงานเป็นทีม
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ             
     6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
          6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1 ศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างแนวคิดในการออกแบบ
     6.2.2 การอภิปรายกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
     6.2.3 ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานสองมิติและสามมิติรวมทั้งนำเสนอผลงาน
     6.3.1 ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากผลงานปฏิบัติของนักศึกษาที่มอบหมาย
     6.3.2 แนวคิดในการออกแบบผลงาน
     6.3.3 กระบวนการทำงานตามขั้นตอนของการสร้างสรรค์ผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAAID128 ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสาธารณะและบริการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1 3.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 15% 15%
2 2.3.2, 3.3.2, 3.3.3, 4.3.1, 4.3.2, 5.3.1, 5.3.2 6.3.1, 6.3.2, 6.3.3 การอภิปราย งานปฏิบัติ โครงงาน (Project-Based Learning) ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา ปลายภาคการศึกษา 5% 30% 25%
3 1.3.1, 1.3.2,1.3.3 การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. ดลต์  รัตนทัศนีย์. ขบวนการออกแบบทางศิลปอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหาร
               ลาดกระบัง, 2528.
2. ตระกูลพันธ์  พัชรเมธา. การทำหุ่นจำลอง. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา, 2548
3. ตระกูลพันธ์  พัชรเมธา. การนำเสนองานออกแบบอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2548.
4. ธีระชัย  สุขสด. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม . กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, 2544.
5. นวลน้อย  บุญวงษ์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในการทำรายงาน
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน 
การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์