การบูรณาการการเขียนโปรแกรมและเว็บเทคโนโลยี

Integrative Programming and Web Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้
    1.1 รู้หน้าที่ ความสำคัญของเว็บเฟรมเวิร์ค
    1.2 เข้าใจการทำงานของเทคโนโลยีฐานข้อมูล เพื่อใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลกับระบบ
    1.3 เพื่อพัฒนาการเขียนโปรแกรมประยุกต์บนเว็บสำหรับการสร้างระบบที่สามารถจัดการข้อมูลได้       
    1.4 เข้าใจการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์สำหรับการเชื่อมต่อกับโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ เพื่อให้เกิดความหลากหลาย
ฝึกวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์กับระบบงานใดระบบงานหนึ่ง ด้วยกลยุทธ์และเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การออกแบบระบบเครือข่ายภายในองค์กร การบริหารจัดการเครือข่ายภายในองค์กร การจัดการข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนระบบ การประมวลผลแบบออนไลน์ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ฝึกวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์กับระบบงานใดระบบงานหนึ่ง ด้วยกลยุทธ์และเทคโนโลยีในปัจจุบันที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ การออกแบบระบบเครือข่ายภายในองค์กร การบริหารจัดการเครือข่ายภายในองค์กร การจัดการข้อมูลรายการเปลี่ยนแปลง กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนระบบ การประมวลผลแบบออนไลน์ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
    3.1 วันจันทร์ อังคาร พุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์
    3.2 อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านสื่อออนไลน์ Facebook ในกลุ่มห้อง
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.5 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม 1.1.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา  1.2.2 อภิปรายกลุ่ม/ทำงานเดี่ยว/กลุ่ม หรือ ส่วนตัวส่งเป็นชิ้นงาน 1.2.3 นำเสนองานที่สามารถเชื่อมต่อกับการพัฒนาโปรแกรมได้เพื่อเป็นชิ้นงาน
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากการใช้งานจริง
1.3.4 ประเมินผลงานการพัฒนาและให้สมาชิกสอบถามและแนะนำ 
       การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อเชื่อมต่อกับ firebase database โดยใช้ Web farm framework เป็นระบบปฏิบัติการการทำงานของระบบ รู้จักหน้าบ้าน-หลังบ้านการพัฒนาระบบ
บรรยาย อภิปราย ฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม การนำเสนอใบงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานที่มอบหมายหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ โดยเป็นโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมและทฤษฏีเนื้อหา
2.3.2 ประเมินจากการเขียนโปรแกรมตามที่มอบหมาย และนำเสนอผลการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากกรณีศึกษาที่นักศึกษาค้นคว้าและสร้างเอง หรือมีโจทย์จาก Problem – based Learning จากชีวิตประจำวัน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ ขั้นตอน มีการวิเคราะห์แนวคิดอย่างมีขั้นตอน  
3.1.1 คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
3.1.2 สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมงานที่ได้ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากการที่นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง และนำเสนอผลงานของตนเอง
3.2.2 อภิปรายลักษณะงานโปรแกรม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคโนโลยีอย่างที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติและการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยออกในรูปแบบผลงานนักศึกษาที่ได้ปฏิบัติจริง
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการเขียนโปรแกรม แนวคิดแก้ปัญหาทางการเขียนโปรแกรม วิเคราะห์โจทย์  
3.3.2 วัดผลจากการประเมินงานการเขียนโปรแกรม การนำเสนอผลงานของนักศึกษา
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติงาน
            4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
          4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
          4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
          4.1.4 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
          4.1.5 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อม
ทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
          4.1.6 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
คุณสมบัติต่างๆ นี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การทำใบงาน และวิเคราะห์โจทย์นำมาใช้งาน ทั้งตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
4.2.3   การนำเสนอผลงาน
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานของนักศึกษา
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
5.1.1 มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5.1.2 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.1.4 สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสร้างแนวคิดมาเป็นรูปแบบผลงาน  และทำรายงานรูปเล่มรวบรวมผลงานโดยเน้นการสร้างชิ้นงานให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งาน
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีสำหรับการนำคอมพิวเตอร์ไปนำเสนอที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน ผลงาน  และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีนำเสนอตามผลงานในลักษณะงานของนักศึกษา
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย  วิธีการตอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทาง ปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5.ทักษะการ วิเคราะห์เชิง ตัวเลข การ สื่อสาร และ การใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCT602 การบูรณาการการเขียนโปรแกรมและเว็บเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2, 2.1, 2.3, 3.1 ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบปฏิบัติย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.2, 2.1-2.3 4.4, 5.1-5.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอผลงาน รายงานผล การทำงานกลุ่ม/เดี่ยวและผลงาน สรุปผลการทำงาน การส่งงานตามที่มอบหมายตรงเวลา ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1,1.2, 3.1 4.4 5.1 , 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย/นำเสนอ เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เพื่อสื่อสารเนื้อหาให้ผู้เรียนศึกษาก่อนล่วงหน้า 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา เพื่อนำผลมาปรับปรุงการเรียนการสอน 1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน (หากมี)
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา ที่มีการสอบเก็บคะแนนแต่ละครั้งนำมาประเมิน
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ ให้งานตามที่มอบหมายและสังเกตพฤติกรรม
  หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน เพื่อปรับปรุงและแก้ไขกรณีในห้องเรียนและการเรียนการสอน
   ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ผู้สอน 
4.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
   จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ