การบัญชีชั้นกลาง 2

Intermediate Accounting 2

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี วิธีการต่างๆ ทางบัญชีและวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน เกี่ยวกับหนี้สิน
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และวิธีต่างๆ ทางการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ ของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด และวิธีการจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงกำไรสะสมกำไรต่อหุ้น และงบกระแสเงินสด
 1.3 เพื่อให้นักศึกษา สามารถศึกษาค้นคว้า การจัดทำบัญชี ของกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ได้
 1.4 เพื่อฝึกหัดการนำแนวคิด หลักการและวิธีการบัญชี ตามมาตรฐานรายงานทางการเงินในปัจจุบัน ไปใช้ในทางปฏิบัติ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับหนี้สินและส่วนของเจ้าของได้อย่างถูกต้อง
  
2.1 เพื่อพัฒนาความสามารถนักศึกษา ในการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันเฉพาะฉบับที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชา รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
2.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและวิธีการบัญชีทางด้านหนี้สินและส่วนของเจ้าของโดยละเอียดประกอบด้วย การจำแนกประเภทหนี้สิน การรับรู้และการวัดมูลค่าหนี้สิน การตีราคา การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงินการบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของประกอบด้วย การบัญชีเกี่ยวกับการจัดตั้งกิจการและการดำเนินงาน การแบ่งกำไรขาดทุน การเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ การเลิกกิจการและการชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของในงบแสดงฐานะการเงิน รวมถึงกำไรสะสมกำไรต่อหุ้นและงบกระแสเงินสด
อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่าน Facebook ได้ตลอดเวลา อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา                       นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม  มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้   1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ     2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม     3) สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม     4) มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม  

      
1) สอดแทรกหัวข้อความซื่อสัตย์สุจริต การมีวินัย การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคมในชั้นเรียน
2) แจ้งระเบียบปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับนักศึกษาและกำหนดกติการวมกันเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การส่งงาน และการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ให้นักศึกษาปฏิบัติ
3) สอดแทรกหัวข้อคุณธรรม จริยธรรม และ ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 2.ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 3.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 4.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1.มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 3.มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 4.สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

           
1.ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต  การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา 2.การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน 3.มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ 4.การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
1) ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ 2) การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ 3) การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือ การฝึกงานในองค์กรธุรกิจ 4) การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน  
1) บรรยาย  ยกตัวอย่าง และการถาม-ตอบในชั้นเรียน
 2) การทำแบบฝึกหัดโดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา แบบระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ในแบบรายบุคคลและรายกลุ่มย่อย
3) การจัดกลุ่มสรุปความรู้ เกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน โดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
1) ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง ที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 3) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4) มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1) จัดกลุ่มย่อยวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา โดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน        
1) ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมในการเข้ากลุ่ม
 2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากการประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม
3) ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
1) มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
1) จัดกลุ่มย่อยวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลนีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1
1 BACAC121 การบัญชีชั้นกลาง 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค =9 การสอบปลายภาค=18 การทดสอบย่อย=1,4,7,10 80%
2 2,3,4,5 ชิ้นงานที่มอบหมาย การนำเสนอชิ้นงาน 17 10%
3 1,2,3,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ทุกสัปดาห์ 10%
การบัญชีขั้นกลาง 2 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นุชจรี พิเชฐกุล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญญบุรี
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับห้างหุ้นส่วนจำกัด  บริษัทจำกัด และบริษัทจำกัดมหาชน
มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ