การสั่งงานด้วยอุปกรณ์พกพาอัจฉริยะเคลื่อนที่

Smart Mobile Control

พื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงสถาปัตยกรรมฮาร์ดแวร์ คุณลักษณะและข้อจำกัดของอุปกรณ์เคลื่อนที่ 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเครื่องมือและภาษาที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการของโปรแกรมอุปกรณ์เคลื่อนที่ ส่วนติดต่อระบบโมดูลเซ็นเซอร์ต่างๆที่ทำงานร่วมกัน เพื่อสั่งงานผ่านโปรโตคอลต่างๆ ในรูปแบบไร้สาย เช่น ไวไฟ บูลทูธ เอ็นเอฟซี อาร์เอฟไอดี หรืออื่นๆ สำหรับการควบคุมฮาร์ดแวร์ให้ทำงานตามเป้าประสงค์ 
เพื่อให้นักศึกษาสามารถฝึกปฏิบัติสร้างโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ในระดับที่สูงขึ้นและให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานของรายวิชา
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของระบบปฏิบัติการที่ทำงานบนอุปกรณ์พกพา โมดูลเซ็นเซอร์ต่างๆที่ทำงานร่วมกัน การรับภาพจากกล้องที่อยู่บนตัวอุปกรณ์พกพา การเขียนโปรแกรมฝังตัวบนอุปกรณ์พกพาเพื่อสั่งงานผ่านโปรโตคอลต่างๆ ในรูปแบบไร้สาย เช่น ไวไฟ บูลทูธ เอ็นเอฟซี อาร์เอฟไอดี หรืออื่นๆ สำหรับการควบคุมฮาร์ดแวร์ให้ทำงานตามเป้าประสงค์
อาจารย์ประจํารายวิชา ประกาศเวลาให้คําปรึกษาแก่นักศึกษา อาจารย์จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา 
1.2.2 กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น 
1.2.3 สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
1.3.1 การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่ง กาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน 
1.3.3 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์ 
1.3.4 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
2.1.1 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์ 
2.1.3 รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง
2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ 
2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.2.3. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง 
2.2.4 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป 
2.2.5 ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง 
2.2.6 การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
2.3.1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 
2.3.2 ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน 
2.3.3 ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง
3.1.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 
3.1.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งหันทางธุรกิจ
3.2.1 จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน 
3.2.2 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา 
3.2.3 กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผน การทำงานเป็นทีม 
3.2.4 การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 
3.2.5 จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา 
3.3.2 ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
4.1.1 มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.2.1 จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม 
4.2.2 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
 
4.3.1 พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา 
4.3.2 พฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี
5.1.1 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง 
5.2.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา 
5.2.3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
5.3.1 การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค 
5.3.2 ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม 
5.3.3 พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร 
5.3.4 ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 
5.3.5 ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
เน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางวงจรดิจิทัล ดังข้อต่อไปนี้  
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
ฝึกปฏิบัติการทดลอง
สังเกตขั้นตอนปฏิบัติงานและความเชี่ยวชาญในการออกแบบและทดลองใบงาน การสั่งงานด้วยอุปกรณ์พกพาอัจฉริยะ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2
1 ENGCE153 การสั่งงานด้วยอุปกรณ์พกพาอัจฉริยะเคลื่อนที่
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.5,2.2,2.5, 2.6,2.7,3.1, 3.2,4.6,5.2 แบบฝึกหัดรายหน่วย 1 – 7 9 – 15 10%
2 4.6,5.2 ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรม 2 - 7 30%
3 2.2, 2.5, 2.6, 3.1, 3.2 สอบกลางภาค 8 25%
4 1.5,2.2,2.5, 2.6,2.7,3.1, 3.2,4.6,5.2 ผลงาน 13,14,15,16 10%
5 1.5,2.2,2.5, 2.6,2.7,3.1, 3.2,4.6,5.2 สอบปลายภาค 17 25%
James Steele,Nelson To. The Android Developer’s Cookbook Building Applications with the Android SDK. 2013 
Jayakumar M. Arduino and Android using MIT app inventor 2.0
พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร คู่มือเขียนแอพ Android ฉบับรวมโค้ด โปรวิชั่น, บจก., 2556 
จักรชัย โสอินทร์ และคณะ คู่มือพัฒนาโปรแกรม Android (ฉบับสื่อการสอน), 2559
https://developer.android.com/studio/index.html
https://appinventor.mit.edu
http://www.thaicreate.com/mobile/android.html
https://appinventor.mit.edu
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม  
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ