การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม

Life and Social Skills

1. เพื่อเสริมสร้างแนวความคิด เจตคติที่ถูกต้องในการดำรงชีวิตของตนเอง
2. เห็นคุณค่าในตนเองและบริหารจัดการตนเอง ตลอดจนอยู่ร่วมกันในสังคม และทำงานกับผู้อื่น ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อนำเอาหลักเกณฑ์ เทคนิควิธี ไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบสัมมาอาชีพ
4. เพื่อพัฒนาพฤติกรรมและลักษณะนิสัยในการทำงานของนักศึกษา ให้สามารถเป็นผู้นำเป็นผู้ตามที่ดี
5. เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้มีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพตลอดจนมี ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงด้านเนื้อหาให้มีความทันสมัยอยู่ตลอด เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา  โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams และ RMUTL Education 
ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญา คุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ และหลักธรรมในการดำรงชีวิต การพัฒนาความคิด เจตคติ บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรมไทย การมีจิตสำนึกต่อส่วนรวม ศึกษาวิธีการจัดการกับภาวะอารมณ์และสร้างสัมพันธภาพ การทำงาน เป็นทีม การสร้างผลิตผลในการทำงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ
- อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทางช่องทางออนไลน์ เพื่อให้คำปรึกษา
และแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ โดยเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

พัฒนาผู้เรียนรู้จักและเข้าใจการพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ ตลอดจนการพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และด้านสติปัญญา การเข้าใจธรรมชาติของสังคมและมนุษย์ รวมไปถึงพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองและผู้อื่น การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของตนดังนี้

มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างรอบคอบและมีสติ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านสื่อ เช่น การสอนออนไลน์ สื่อบทเรียนสำเร็จรูป คลิปกรณีตัวอย่าง เกี่ยวกับปรัชญา หลักธรรม แนวความคิด เจตคติ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมของมนุษย์ การทำงานเป็นทีม คุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ อภิปรายกลุ่มเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ อภิปรายกลุ่มเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ในวัยต่างๆ แบ่งกลุ่มเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูล ข่าว พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม พฤติกรรมด้านบวก พฤติกรรมด้านลบ และนำมาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์วิจารณ์ร่วมกันในชั้นเรียน ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip, วีดิทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.1 การเข้าชั้นเรียนออนไลน์
1.3.2 ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3 มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.4 ประเมินผลจากการวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น ข่าว/คลิปกรณีศึกษา
 
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4 มีความรู้เบื้องต้นในทางสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์
2.1.5 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
2.1.6 ตระหนักและเห็นความสำคัญของคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพตลอดจนมีระเบียบ วินัยในชีวิตและสังคม
2.1.7 สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
ศึกษาด้วยตนเองใน RMUTL Education และเข้าชั้นเรียนออนไลน์ Microsoft Taems การวิเคราะห์ วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น จากการศึกษาคลิปกรณีศึกษา และส่งงานตามเวลาที่กำหนด โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
 
2.3.1 กิจกรรมชั้นเรียนออนไลน์
2.3.2 ผลงานการวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น
3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การสอนวิชาการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมช่วยให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้  รู้จักคิดวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ  มีเหตุผล  ฟังแนวคิดของคนอื่น ๆ ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น  รู้จักบทบาท  และหน้าที่ของตนเอง  เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น  และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1 ศึกษาด้วยตนเองใน RMUTL Education และเข้าชั้นเรียนออนไลน์ Microsoft Taems
3.2.2 วิเคราะห์ วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น จากการศึกษาคลิปกรณีศึกษา และส่งงานตามเวลาที่กำหนด
3.2.3 สอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
3.3.1 สังเกตความสนใจ การเข้าร่วมการศึกษาด้วยตนเองใน RMUTL Education และเข้าชั้นเรียนออนไลน์ Microsoft Taems
3.3.2 ผลงานวิเคราะห์ วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น จากการศึกษาคลิปกรณีศึกษา และส่งงาน ตามเวลาที่กำหนด
3.3.3 สอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
3.3.4 การนำเสนองาน การวิเคราะห์ สังเคราะห์ งานที่ได้รับมอบหมาย เนื้อหาครบถ้วน
3.3.5 สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น
4.1.2 มีความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่นได้ และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารนำความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- พัฒนาทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อสังคม
- พัฒนาทักษะจิตสาธารณะทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
- พัฒนาทักษะคุณธรรม จริยธรรม จรรยาวิชาชีพ ระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
4.2.1 ศึกษาด้วยตนเองใน RMUTL Education และเข้าชั้นเรียนออนไลน์ Microsoft Teams
4.2.2 วิเคราะห์ วิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น จากการศึกษาคลิปกรณีศึกษา และส่งงานตามเวลาที่กำหนด
4.2.3 ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วน โดยใช้ power point ของผู้สอนสรุปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams
4.3.1 ให้นักศึกษาช่วยกันประเมินตามแบบประเมินการนำเสนอ
4.3.2 ผู้สอนประเมินผู้เรียนจากความสนใจการเข้าร่วมชั้นเรียนผ่านโปรแกรม Microsoft Taems
4.3.3 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
4.3.4 การคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นจากกรณีศึกษา Clip คลิปกรณีศึกษา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 พัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูล
5.1.2 พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่าง ๆ โดยเฉพาะการใช้สื่อ
จาก Internet ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนด้านการเพิ่มพูนความรู้
5.2.1 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาเพิ่มเติมจาก Website หรือสื่ออื่น ๆ เช่น คลิปวีดิทัศน์
5.2.2 การนำเสนองานทุกครั้งให้ใช้ Computer / Power point และ/หรือ Clip
5.3.1 ประเมินจากการนำเสนอผลงานจากการมอบหมายของผู้สอน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - 1.1,1.3,2.1,2.3 - 3.1,3.3,4.1,4.3 - 1.1 - 2.3 - 3.1 - 5.3 - การทดสอบย่อยครั้งที่ 1 - การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 7 10%
2 - 2.3 , 4.1 - 3.3 - วิเคราะห์กรณีศึกษา/ค้นคว้า/การนำเสนอ - แบ่งกลุ่มอภิปราย โดยใช้ Power point ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 - 1.1 - 5.3 - 3.3 - การเข้าชั้นเรียน , จิตพิสัย - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
หนังสือการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (Life and Social Skill)
เรียบเรียงโดย ทรงสิริ วิชิรานนท์ , โรจน์รวี พจน์พัฒนพล , สุทธิพร บุญส่ง , สุวิมล จุลวานิช และอนุรีย์ แก้วแววน้อย
 
ทรงสิริ วิชิรานนท์,โรจน์รวี พจน์พัฒนพล,สุทธิพร บุญส่ง,สุวิมล จุลวานิช และอนุรีย์ แก้วแววน้อย. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2550.
  2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
- หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
กาญจน์ หงส์ณี. มารยาทและการสมาคม. กรุงเทพฯ:เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์, 2549
ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง และคณะ. สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
วิภาพร มาพบสุข. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต เทคนิคกรุงเทพฯ, 2540. สุพัตรา สุภาพ. สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2543. อนุรี แก้วแววน้อย และคณะ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2548.   3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
- เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมและเว็บไซด์อื่น ๆ
ปัทมา ผาดจันทึก. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม(Online). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
แหล่งที่มา: http://courseware.rmutl.ac.th/courses/44/unit000.htm


ธรรมะไทย
แหล่งที่มา: http://www.dhammathai.org/indexthai.php
บ้านจอมยุทธ
แหล่งที่มา: http://www.baanjomyut.com/library/art.html
จริยธรรม.คอม
แหล่งที่มา: http://www.jariyatam.com/moral-cultivation
2. เอกสาร และข้อมูลสำคัญ
- หนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม
กาญจน์ หงส์ณี. มารยาทและการสมาคม. กรุงเทพฯ:เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์, 2549
ประเสริฐ แย้มกลิ่นฟุ้ง และคณะ. สังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.
วิภาพร มาพบสุข. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต เทคนิคกรุงเทพฯ, 2540. สุพัตรา สุภาพ. สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, 2543. อนุรี แก้วแววน้อย และคณะ. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ:ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2548.  
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
- เว็บไซด์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมและเว็บไซด์อื่น ๆ
ปัทมา ผาดจันทึก. การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม(Online). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
แหล่งที่มา: http://courseware.rmutl.ac.th/courses/44/unit000.htm


ธรรมะไทย
แหล่งที่มา: http://www.dhammathai.org/indexthai.php
บ้านจอมยุทธ
แหล่งที่มา: http://www.baanjomyut.com/library/art.html
จริยธรรม.คอม
แหล่งที่มา: http://www.jariyatam.com/moral-cultivation