จิตรกรรม 3

Painting 3

1. รู้จักวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆในการเขียนภาพจิตรกรรม
2. เข้าใจขั้นตอน วิธีการวาดภาพเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันและเทคนิคอื่นๆในรูปแบบ ต่างๆทั้งแบบเหมือนจริงและแบบสร้างสรรค์
3. มีทักษะในการเขียนภาพจิตรกรรมแบบเหมือนจริงและแบบสร้างสรรค์ที่มีความสอดคล้องระหว่างรูปแบบและแนวความคิดในการแสดงออกในการสร้างสรรค์
4. เลือกเทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมได้อย่างเหมาะสมกับแนวความคิดเฉพาะตนมีความเป็นอัตลักษณ์ รู้และเข้าใจในการจัดวางรูปทรงให้สอดคล้องกับ เนื้อหาเรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึก และสามารถสื่อผ่านรูปแบบต่างๆในลักษณะการสร้างสรรค์ได้
5. สามารถวิเคราะห์ทัศนธาตุต่างๆในงานตนเองและเห็นคุณค่าในงานจิตรกรรม
ศึกษาค้นคว้าฝึกปฏิบัติการวาดภาพจิตรกรรม ด้วยการใช้เทคนิคสีน้ำมันหรือเทคนิคอื่นๆ ที่มีความหลากหลาย โดยมีความรู้และสามารถสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่มีความงามด้านองค์ประกอบศิลป์ แสดงออกผ่านทัศธาตุ เพื่อฝึกฝนให้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนภาพเหมือนจริง กึ่งเหมือนจริง หรือนามธรรมก็ได้ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแสดงออกด้านแนวความคิดเฉพาะตน ค้นหารูปแบบและเทคนิควิธีการที่เหมาะสมต่อการนำเสนอเนื้อหานั้นๆ ทั้งนี้นักศึกษาต้องสามารถวิเคราะห์ผลงานตนเองเพื่อพัฒนาผลงานตามหลักการความงามและการสื่อความหมายอันมีคุณค่าทางทัศนศิลป์ได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมัน หรือเทคนิคอื่นๆ เพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบและเนื้อหาที่ได้ค้นคว้าจากสื่อต่างๆ และถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ ที่มีลักษณะการแสดงออกเฉพาะตัว
 
Study and practice, theory and practice of oil painting techniques and other related media, in order to use style and content surveyed from various media in a coherent way, and to express it in a creative and technique personal style.
1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
(1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(2) มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
(3) มีจิตอาสา จิตสานึกสาธารณะ(ไม่มีการประเมิน)
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนในรายวิชาจิตรกรรม  รวมทั้งมีการสอนสอดแทรกเพิ่มเติ่มในเรื่องส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม มีการสอนให้ความรู้เรื่องจรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชาจิตรกรรมนี้สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงานศิลปะ มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 

2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 

3. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 

4. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
(1) รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
(2) มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรม ศาสตร์อย่างเป็นระบบ
(3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและ วัฒนธรรม(ไม่มีการประเมิน)
(4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ ด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่น บรรยายประกอบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้เห็นถึงเทคนิค วิธีการ , ผลงานตัวอย่าง , ผลงานศิลปินที่มีชื่อเสียง สาธิตให้ได้เห็น และเข้าใจในเท็คนิควิธีการต่างๆปฏิบัติงานจริง เพื่อศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฎิบัติเกี่ยวกับงานจิตรกรรมเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะร่วมสมัย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาจิตรกรรมตลอดจนเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิด รูปแบบ เทคนิค ทางจิตรกรรม นอกจากนี้ให้นักศึกษาฝึกฝนสร้างสรรค์ศิลปะที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตน 
ประเมินจากการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ประเมินจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาและประเมินจากผลงานที่ปฎิบัติ ประเมินจากการนำเสนอผลงานจิตรกรรมที่มอบหมาย  
(1) สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
(2) สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่าง สร้างสรรค์
(3) สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพได้
(4) มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
- นำเสนอให้ความรู้เกี่ยวกับผลงานจิตรกรรมในลักษณะเหมือนจริงและผลงานสร้างสรรค์เชิงวิเคราะห์ให้เห็นถึงเทคนิควิธีการ รูปแบบและแนวคิดของศิลปินที่มีชื่อเสียงผ่านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
- อธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์ผลงานจิตรกรรม ทักษะฝีมือ(Skill) องค์ประกอบ(Composition) ของความงามความลงตัวทางทัศนธาตุทางศิลปะ(Visual Element)
- อธิบายเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแนวความคิด สัญลักษณ์และการสื่อความหมายผ่านภาษาภาพของงานจิตรกรรม
- ประเมินผลความก้าวหน้าจากการศึกษาค้นคว้า เปรียบเทียบกับผลงานปฏิบัติในแต่ละครั้ง  - ประเมินผลความรู้ ความเข้าใจจากการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค
(1) มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
(2) มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพใน ความคิดเห็นที่แตกต่าง(ไม่มีการประเมิน)
- แสดงให้เห็นถึงผลของความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานร่วมกัน  - แสดงให้เห็นถึงผลของความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนในการปฏิบัติงานร่วมกัน
-ประเมินผลจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกันในชั้นเรียน
-ประเมินผลจากความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียน
(1) สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
(2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการ สร้างสรรค์ผลงานหรือการนาเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่ เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม(ไม่มีการประเมิน)
- นำเสนอตัวอย่างการสืบค้นข้อมูลด้าน ความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการเขียนภาพจิตรกรรมแนวใหม่ๆ รวมทั้งตัวอย่างผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากเวปไซด์ เพจและหนังสือศิลปะออนไลน์
- นำเสนอตัวอย่างเทคนิควิธีการนำเสนอผลงานตนเองผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะ
- ประเมินผลจากความรู้ความเข้าใจการหาข้อมูล การสืบค้นข้อมูลต่างๆเพื่อมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
- ประเมินผลจากความสามารถในการอธิบายผลงานศิลปะของตนเองผ่านระบบออนไลน์ได้
(1) มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
(2) มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
(3) มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
- บรรยายผ่านระบบออนไลน์ Microsoft team อธิบายหลักการทางทฤษฎีเพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีการทางจิตรกรรม พร้อมแสดงผลงานตัวอย่างของศิลปินในประวัติศาสตร์ศิลป์และศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบต่างๆรวมถึงแนวความคิดและลักษณะเฉพาะตนในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม
- สาธิตเทคนิคผ่านคลิปวีดีโอ นำเสนอผ่าน Microsoft team และกลุ่ม Face book ในการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม และเข้าใจในเทคนิควิธีการในการสร้างสรรค์ผลงาน
- นักศึกษาปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมตามแผนการเรียนและหัวข้อที่กำหนด
- ตรวจประเมินด้วยการวิจารณ์ผลงานร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ และประเมินผลงานจริงรายบุคคล
- ประเมินจากการปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม โดยผลงานต้องมีทักษะฝีมือ(Skill) องค์ประกอบ(Composition) ของความงามความลงตัวทางทัศนธาตุทางศิลปะ(Visual Element)
- ประเมินผลงานเกี่ยวกับความงามและการสร้างสรรค์ที่มีลักษณะเฉพาะตน
- ประเมินจากการสอบกลางภาค และปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1..2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 1.3 มีจิตอาสา จิตสานึกสาธารณะ 2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 2.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและ วัฒนธรรม 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพ ด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา 3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 3..2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่าง สร้างสรรค์ 3.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และวิชาชีพได้ 3.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน 4..1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 4..3 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพใน ความคิดเห็นที่แตกต่าง 5..1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ .5..2 ) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการ สร้างสรรค์ผลงานหรือการนาเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ .5..3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่ เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 6.1 .มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6..2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6..3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BFAVA125 จิตรกรรม 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม - ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม - มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 1-17 10
2 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ - ประเมินจากความรู้ความเข้าใจเชิงทฤษฎี การอธิบายแนวความคิด การบรรยายเนื้อหาเรื่องราว แสดงความคิดเห็นทัศนะทางความงามและการสร้างสรรค์ - ประเมินจากการสอบกลางภาค และปลายภาค 1-17 10
3 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา - ประเมินผลจากความรู้ความเข้าใจในการวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ทางจิตรกรรมได้ - ประเมินผลจากความสามารถอธิบายวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เทคนิค รูปแบบและเนื้อหาแนวความคิดของผลงานจิตรกรรมของตนเองได้ 4-17 10
4 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ -ประเมินผลจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกันในชั้นเรียน -ประเมินผลจากความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียน 1-17 5
5 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ - นำเสนอตัวอย่างการสืบค้นข้อมูลด้าน ความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการเขียนภาพจิตรกรรมแนวใหม่ๆ รวมทั้งตัวอย่างผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากเวปไซด์ เพจและหนังสือศิลปะออนไลน์ - นำเสนอตัวอย่างเทคนิควิธีการนำเสนอผลงานตนเองผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะ 2-17 5
6 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย - ประเมินจากการปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม โดยผลงานต้องมีทักษะฝีมือ(Skill) องค์ประกอบ(Composition) ของความงามความลงตัวทางทัศนธาตุทางศิลปะ(Visual Element) - ประเมินผลงานเกี่ยวกับความงามและการสร้างสรรค์ที่มีลักษณะเฉพาะตน - ประเมินจากการสอบกลางภาค และปลายภาค 1-17 60
 - กำจร สุนพงษ์ศรี. ศิลปะสมัยใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
 - กำจร สุนพงษ์ศรี. สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 
- จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. โลกศิลปะศตวรรษที่20. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2552 
- ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ : Composition of art. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2557 
- อิทธิพล ตั้งโฉลก. แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อัมรินทร์ ปริ้นติ้ง, 2550
หนังสือศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่9,พิมพ์ครั้งที่2 .กรุงเทพ:อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง,2540 

ศาสตราจารย์ กำจร สุนพงษ์ศรี. หนังสือศิลปะสมัยใหม่ .สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2554 

ชลูด นิ่มเสมอ.องค์ประกอบของศิลปะ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,2534
 - https://www.google.com/culturalinstitute/beta/
 - https://en.wikipedia.org/wiki/Composition_(visual_arts  - https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_art 
 - http://www.rama9art.org/     www.fineart-magazine.com  www.American painting  www. Art Now 
- สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเมื่อเสร็จสิ้นในเนื้อหานั้น 

-นักศึกษาประเมินการสอนในคอมพิวเตอร์ 

-ประเมินการสอนโดยผู้บริหารของภาค หรือสาขาวิชา
จัดประชุมคณะอาจารย์ ระดมความคิดเห็นเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
-สรุปผลการประเมินการสอนจากนักศึกษา 

-ประชุมคณะอาจารย์แจ้งผลการประเมิน แสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการสอน 

-จัดประชุม สัมมนาคณะอาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคใหม่เกี่ยวกับการสอน  แก้ไข
-มีคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา 

-มีคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบ และผลสอบ 

-ให้นักศึกษาตรวจสอบคะแนน ผลคะแนนจากฝ่ายทะเบียนได้    
-นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนานำมาสรุปผล และพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป