สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์

Electronic Publishing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ มีพื้นฐานการใช้โปรแกรมสำหรับสร้างและออกแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการออกแบบจัดวางได้อย่างถูกต้อง รวมไปถึงการจัดเก็บและถ่ายโอนข้อมูลไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสม
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถนำมาใช้วิเคราะห์เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการสร้างและการใช้โปรแกรมในการออกแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อพัฒนาความรู้ในรายวิชาให้สอดรับกับเทคโนโลยีในการผลิตสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ประเภท บทบาทหน้าที่ของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการใช้โปรแกรมสำหรับสร้างสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ให้เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท
- อาจารย์ผู้สอนให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความเหมาะสม ผ่านทาง Social Network เช่น Zoom, Microsoft Teams เป็นต้น
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 สอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในการสอนให้แก่นักศึกษา
1.2.2 ปลูกฝังจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
1.2.3 เน้นเรื่องระเบียบวินัย การเข้าชั้นเรียน แต่งกายและการปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
1.2.4 ให้ความสำคัญด้านการตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.5 จัดแบ่งกลุ่มปฏิบัติงานเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการแสดงออกทางความคิด ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม ตลอดจนการทำงานร่วมกับผู้อื่น
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตามกำหนดเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยในการเข้าร่วมกิจกรรม
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ รวมทั้งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่กำหนด
1.3.4 ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎระเบียบของข้อบังคับต่าง ๆ อาทิเช่น การเข้าสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 บรรยายเนื้อหาในภาคทฤษฎีร่วมกับสื่อนำเสนอ PowerPoint และเอกสารประกอบการอธิบาย
2.2.2 ภาคปฏิบัติสอนการใช้โปรแกรมสร้างและออกแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์โดยคอมพิวเตอร์
2.2.3 กำหนดกิจกรรมในชั้นเรียนโดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ และทำงานตามหัวข้องานที่กำหนดให้
2.2.4 มอบหมายงานให้นักศึกษาโดยแบ่งกลุ่มนักศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์นอกชั้นเรียน รวมทั้งนำเสนอข้อมูลที่ได้หน้าชั้นเรียน
2.2.5 มอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละคนจัดทำโครงงานการออกแบบ E-book และนำเสนอข้อมูลที่ได้
2.3.1 ประเมินจากการสอบกลางภาค และการสอบปลาย ด้วยข้อสอบที่เน้นความเข้าใจเนื้อหาด้านหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการทดสอบภาคปฏิบัติ 2 ครั้ง โดยเน้นความเข้าใจในส่วนของภาคปฏิบัติด้าน การใช้งานโปรแกรมออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
2.3.3 ประเมินจากผลการปฎิบัติงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์ และงานกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
2.3.4 ประเมินจากการค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.5 ประเมินผลจากโครงงานการออกแบบ E-book ที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาเพื่อนำมาประยุกต์ในการทำโครงงานการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นระบบ
3.2.2 ให้นักศึกษาจัดแบ่งกลุ่มศึกษา ค้นคว้าจัดทำรายงาน และร่วมกันอภิปรายผล เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.3.1 ประเมินผลจากการปฏิบัติโครงงานกรณีศึกษาที่ผ่านการคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ
3.3.2 ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์
3.3.3 ประเมินผลจากรายงาน และการนำเสนองานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา ตัวอย่างผลงาน
4.2.2 มอบหมายรายงานกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3 การนำเสนอผลงานหลังจากฝึกปฏิบัติให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ได้ศึกษา
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษา ในการนำเสนอรายงานกลุ่ม
4.3.2 ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือด้วยตนเอง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.2.2 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายผล และวิธีอภิปราย
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BTEPP141 สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.1, 5.1 สอบภาคปฏิบัติ ครั้งที่ 1 (สอบกลางภาค), สอบภาคปฏิบัติ ครั้งที่ 2 (ก่อนสอบปลายภาค), สอบทฤษฎีปลายภาค, ทดสอบย่อย 9, 15, 18 10%, 10%, 15%, 5%
2 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1, 6.1 ผลการทำงาน การค้นคว้าข้อมูล การนำเสนอ และการส่งงานตามที่มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ มีความสมบูรณ์ ครบถ้วนถูกต้องตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 35%
3 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1, 6.1 การจัดทำและนำเสนอโครงงาน E-book 10-14, 16 15%
4 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1 ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเรียน และทำกิจกรรมผ่านชั้นเรียนออนไลน์ ตลอดภาคการศึกษา 10%
กชพร นวสำเภาเงิน. คู่มือใช้งาน InDesign CC. กรุงเทพฯ : สวัสดี ไอที, 2559.
กรรณิการ์ จินดารัตน์. คู่มือการสร้างหนังสือ E-BOOK. กรุงเทพฯ : โซลูชั่นคอนเนอร์, 2551.
จินตวีร์ คล้ายสังข์. Desktop Publishing สู่ e-book เพื่อส่งเสริมการใฝ่รู้ของผู้เรียนยุคดิจิทัล.
        กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.
จุฑามาศ มโนสิทธิกุล. Magazine design with Adobe Indesign CS5: สร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์
        แบบฉบับมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : เน็ตดีไซน์ พับลิชชิ่ง, 2554.
ทัศยาภรณ์ เกื้อนุ่น และนวอร แจ่มขำ. คู่มือสร้าง eBook ด้วย iBooks Author.
        กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2556.
พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร และมนัสสินี ล่ำสันเทียะ. สร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์แบบมืออาชีพด้วย InDesign
        CS6 + CC ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : รีไวว่า, 2558.
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. E-book หนังสือพูดได้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, 2551.
ภาสกร เรืองรอง. การพัฒนาอีบุ๊คบนคอมพิวเตอร์แบบพกพา & e-Book บน Tablet PC.
        กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พรทิชา, 2557.
สมเกียรติ โสแก้ว. Magazine Design with Adobe InDesign CC สร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์
        แบบมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : เน็ตดีไซน์ พับลิชชิ่ง, 2557.
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมออกแบบ E-book
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็น จากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียนผ่านโปรแกรม Zoom หรือ Micresolf Teams
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่าน Social Network ที่ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ดังนี้
2.1 การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน และรายละเอียดของรายวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 วางแผนงานเพื่อปรับรูปแบบในการปฏิบัติงานของนักศึกษาเพื่อให้เกิดทักษะจากโจทย์งานจริง