การสำรวจ 2

Surveying 2

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีหลักการทำวงรอบปิด วงรอบเปิด การปรับแก้วงรอบ การทำแผนที่ภูมิประเทศ การคำนวณพื้นที่และปริมาตรงานดิน
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติการภาคสนามในการทำวงรอบปิด วงรอบเปิด การปรับแก้วงรอบ การทำแผนที่ภูมิประเทศ การคำนวณหาพื้นที่และปริมาตรงานดิน การหาพิกัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบมือถือ
3. มีเจตคติที่ดีต่องานสำรวจต่อการเรียนการสอนในวิชาชีพครูและการประกอบวิชาชีพก่อสร้าง
เพื่อพัฒนารายวิชาให้เหมาะสมต่อระดับการเรียนรู้ของนักศึกษา และวิชาการสำรวจในปัจจุบัน โดยครอบคลุมเนื้อหาในคำอธิบายรายวิชา
หลักการและทฤษฎีการทำวงรอบ การทำวงรอบปิดและวงรอบเปิด การปรับแก้วงรอบ การทำแผนที่ภูมิประเทศ การคำนวณพื้นที่และปริมาตรงานดิน การหาค่าพิกัดด้วยเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมแบบมือถือ
2
เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทยตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตาม ลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมิน  ผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบ ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ลงชื่อเข้าเรียนทุกครั้ง ตรวจสอบการแต่งกายของนักศึกษา แจ้งกติกา ข้อตกลง มารยาทในการเรียนการสอนในชั่วโมงแรก มอบหมายแบบฝึกหัด รายงาน  กำหนดวันส่ง การนำเสนอผลงาน ติดตามผล แบ่งงานเป็นกลุ่ม ปลูกฝังถึงผลกระทบทางวิศวกรรม แทรกการสอนด้วย จรรยาบรรณวิศวกร
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา ประเมินการแต่งกายของนักศึกษา
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ใช้การสอนที่เน้นทฤษฎี และการลงมือปฏิบัติภาคสนาม การจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานภาคสนาม  การค้นคว้าทำรายงานเสริมแบบกลุ่ม และการนำเสนอ
การใช้แบบทดสอบ การปฏิบัติงานภาคสนามได้อย่างถูกต้องและคุณภาพของรายงานผลการปฏิบัติงานภาคสนาม คุณภาพของผลการรายงานการค้นคว้าแบบกลุ่ม
มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง  เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
การสอนภาคทฤษฎี จากนั้นทำการบูรณาการความรู้จากภาคทฤษฎีสู่การลงมือปฏิบัติงานภาคสนาม โดยการประยุกต์องค์ความรู้สู่การปฏิบัติงานจริง และการฝึกแก้ปัญหาต่างๆในขณะปฏิบัติภาคสนาม
การใช้แบบสังเกตุการปฏิบัติงานรายบุคคลและรายกลุ่ม ความถูกต้องของผลการปฏิบัติงาน คุณภาพ ความถูกต้อง สมบูรณ์ ของผลงาน
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วน รวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบ ในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำ และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ สามารถจัดกิจกรรมกลุ่มเกี่ยวกับทักษะวิชาชีพ ทักษะการดำรงชีวิตภาคสนามได้อย่างดี มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ส่งเสริมให้นักศึกษาทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกลุ่มปฏิบัติงานในภาคสนาม
การเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มปฏิบัติงานภาคสนามของนักศึกษา การรายงานผลการปฏิบัติงานภาคสนาม และรายงานการค้นตว้าแบบกลุ่ม
ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ ข้อมูลสารสนเทศ  สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชาได้เป็นอย่างดี มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์และการประยุกต์ใช้ข้อมูล ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถใช้โปรแกรมประยุกต์ในการคำนวณวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อผสมผสานเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาวิศวกรรมสำรวจได้
ให้สืบค้นข้อมูลการค้นคว้ารายงานแบบกลุ่มจากข้อมูลสารสนเทศไอที ใช้โปรแกรมและเครื่องมือสื่อสารดาวเทียมมาใช้ในงานวิศวกรรมสำรวจที่เกี่ยวข้อง
ความสามารถด้านการสื่อสารกับดาวเทียม และการแปลความหมายได้อย่างถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว
1 สามารถปฏิบัติงานสำรวจภาคสนามได้อย่างถูกต้อง 2 มีความชำนาญในการปฏิบัติงานสำรวจภาคสนามมากขึ้น
3. แก้ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานได้
1 ลงมือปฏิบัติงานภาคสนามแบบกลุ่มหลังจากเรียนรู้ภาคทฤษฎี 2 แบ่งหน้าที่ทำงานกลุ่มตามความถนัดและนำผลที่ได้มาแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในกลุ่ม
1 จากการสังเกตขณะทำการทดลองแบบกลุ่มและการทำงานรายบุคคล 2 เวลาการปฏิบัติงาน ความถูกต้อง รวดเร็ว
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCV012 การสำรวจ 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 9 25%
2 สอบปลายภาค 17 25%
3 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย พฤติกรรมการแสดงออก เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคเรียน 10%
4 งานที่มอบหมายรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ตลอดภาคเรียน 10%
5 การปฏิบัติงานภาคสนาม การเขียนรายงาน ตลอดภาคเรียน 30%
1. วิชัย เยี่ยงวีรชน. การสำรวจทางวิศวกรรม 1. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
2. เอกสารเรียบเรียง
3. แบบก่อสร้างถนน
 
วิชัย เยี่ยงวีรชน. การสำรวจทางวิศวกรรม 1. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
ดำเนิน คงพาลา. สำรวจ1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), 2543
ธวัชชัย เจริญลาภ. การสำรวจงานก่อสร้าง1. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: ศูนย์หนังสือ เมืองไทย, 2558
ธวัชชัย เจริญลาภ. การสำรวจงานก่อสร้าง2. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: ศูนย์หนังสือ เมืองไทย, 2560
ปราณี สุนทรศิริ. การรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
ยรรยง ทรัพย์สุขอำนวย. วิศวกรรมสำรวจ1. พิมพ์ครั้งที่ 17. สมุทรปราการ: คาไน้ ทรัพย์สุขอำนวย, 2558
ยรรยง ทรัพย์สุขอำนวย. วิศวกรรมสำรวจ2. พิมพ์ครั้งที่ 4. สมุทรปราการ: คาไน้ ทรัพย์สุขอำนวย, 2556
 
วิชัย เยี่ยงวีรชน. การสำรวจทางวิศวกรรม 1. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
นพดล ตั้งคุณธรรม. (2561). การปรับแก้วงรอบ (ออนไลน์). สืบค้นจาก : SDM company YouTube [13 มิถุนายน 2562]
วัชรินทร์ วิทยกุล. (2526). CE 212 สำรวจ II การสำรวจเส้นทาง (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://kukr.lib.ku.ac.th/db/index.php?/BKN/search_detail/result/190326 [13 มิถุนายน 2562]
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านแบบประเมิน หลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอนของภาคการศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
1   การสังเกตการณ์สอนของผู้บริหารหลักสูตร
2   ผลการเรียนของนักศึกษา
3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1   จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผลการประเมินจากผู้เรียน
2   การจัดทำสื่อการสอนต่างๆ
มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายรายวิชาตามมติจากคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งในแต่ละภาคการศึกษาตามข้อกำหนด
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2   ให้นักศึกษาได้มีการเรียนการสอนแบบฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง(ฝึกงาน)ในภาคฤดูร้อน และมีการนิเทศการฝึกงานการประยุกต์ความรู้การทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างนปัจจุบัน