ไข่และผลิตภัณฑ์

Egg and Egg Products

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. เข้าใจสภาพการผลิตไข่สัตว์ปีกในประเทศไทยและต่างประเทศ
2. เข้าใจระบบสืบพันธุ์สัตว์ปีก โครงสร้างไข่สัตว์ปีกและโภชนะของไข่สัตว์ปีก
3. เข้าใจการประเมินคุณภาพของไข่และมาตรฐานของไข่ไก่
4. เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของไข่ไก่ระหว่างการเก็บรักษาและวิธีการเก็บรักษาไข่
5. สามารถแปรรูปไข่สัตว์ปีกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ
6. มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบ และซื่อตรงต่อจรรยาบรรณในวิชาชีพ
1.เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจข้อมูลของการผลิตไข่ในประเทศและต่างประเทศให้สอดคล้องกับภาวการณ์การผลิตไข่
2.เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้วิธีการเก็บรักษาไข่สัตว์ปีก 
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้จักเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้พัฒนาและแปรรูปไข่ทำให้สินค้าเกษตรมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับปริมาณการผลิตและการตลาดไข่สัตว์ปีกภายในประเทศและต่างประเทศ โครงสร้างและส่วนประกอบทางโภชนะของไข่สัตว์ปีก การประเมินคุณภาพของไข่สัตว์ปีก มาตรฐานไข่สัตว์ปีก การเปลี่ยนแปลงของไข่ระหว่างเก็บรักษา วิธีการเก็บรักษา และผลิตภัณฑ์จากไข่สัตว์ปีก
จัดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง โดยใช้วิธีนักศึกษานัดหมายอาจารย์ล่วงหน้า
และสามารถติดต่อทาง e-mail: piyamaz@hotmail.com เวลา 18.00 - 20.00 น. ทุกวัน
 
1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
¡1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห้องเรียนตรงต่อเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ส่งงานตามเวลาที่นัดหมาย
2. บรรยายและยกตัวอย่างประกอบในเนื้อหา โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
3. มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย ส่งงานตามเวลาที่นัดหมาย
4. มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
 
1.ประเมินการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตามกำหนด และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
2. ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ตรงต่อเวลา มีวินัยและความสามัคคีในการทำกิจกรรม
3. ประเมินผลรายงาน หรืองานที่นำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทางวิชาการถูกต้อง
 
Ÿ2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
 ¡2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
1. บรรยายประกอบการอภิปรายในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติการเผลิตไข่พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักศึกษาพบเห็น มีสื่อการสอนต่างๆ เช่น ภาพประกอบทั้งภาพนิ่ง เป็นต้น
2. มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. มอบหมายให้อ่านวารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งเขียนรายงานสรุปในเรื่องที่อ่าน และส่งเป็นการบ้าน
.1. การทดสอบย่อยระหว่างเรียนในชั้นเรียน
2. การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
3. ประเมินผลจากรายงาน และการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
4. ประเมินผลการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
5. สอบภาคปฏิบัติเพื่อประเมินทักษะของนักศึกษา1
¡3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
1. กำหนดหัวข้อและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ให้นักศึกษาไปศึกษา คิด วิเคราะห์ ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และนำมาอภิปรายร่วมกัน พร้อมส่งรายงานสรุปผล
1. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม กระบวนการคิด ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา และการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
2. ประเมินจากความถูกต้องของข้อมูลที่ได้ค้นคว้ามาและความสมบูรณ์ของรายงาน
¡4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
¡4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
1. สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน มีการแบ่งกลุ่ม การสร้างความเป็นผู้นำของกลุ่ม การทำงานร่วมกัน และยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมกลุ่ม
2.การจัดกิจกรรมเสริมเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ
1. การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และประเมินผลงานจากรายงานการทำกิจกรรมของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
¡5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายให้นักศึกษาไปค้นคว้าบทความทั้งภาษาไปทย และภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับไข่และผลิตภัณฑ์ นำบทความที่ได้มาเรียบเรียงใหม่และมานำเสนอในชั้นเรียน
1. ประเมินจากรายงาน ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานและการนำเสนอในชั้นเรียนที่ได้รับมอบหมาย
2. สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผล ไหวพริบในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. ประเมินจากความสำเร็จของงานที่มอบหมาย
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 2.1 2.2 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 5.1 5.2
1 BSCAG226 ไข่และผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 6,8 10%
2 1.2, 2.1,2.2, 3.1, 4.1, 4.2, 5.1 การค้นคว้า นำเสนอผลงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน สรุปและวิเคราะห์ผลงานกลุ่ม การส่งงานตามมอบหมาย การสอบภาคปฏิบัติ ทุกสัปดาห์ 40%
3 1.2, 2.1 สอบกลางภาค 9 15%
4 1.2, 2.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 15 และ 16 10%
5 1.2, 4.1, 4.2, 5.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของรายวิชา การมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ความตั้งใจและความสนใจในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
6 1.2, 2.1 สอบปลายภาค 18 15%
พิชัย ไชยเสนา การฟักไข่สัตว์ปีก 2548. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง 165 น.
สุวรรณ เกษตรสุวรรณ.2524.พิมพ์ครั้งที่ 2 นกกระทา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
สุวรรณ เกษตรสุวรรณ.2529. ไข่และเนื้อไก่ . พิมพ์ครั้งที่ 2 โรงพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, กรุงเทพมหานคร. 382 หน้า.
สุวรรณ เกษตรสุวรรณและคณะ. 2526. การเลี้ยงไก่. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
วรวิทย์ วณิชาภิชาติ. 2531. ไข่และการฟักไข่. โรงพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพ. 240 น.
Sturkie,P.D. 1976. Avain Physiology. Springer-Verlag. NewYork Inc. 400p.
Sturkie,P.D. 2000. Avain Physiology. Springer-Verlag. NewYork Inc. 600p.
[On line] Aviable: http//www.dld.go.th/service/layer/history.html
[On line] Aviable: http//www.acfs.go.th/standard/searchSTD.php
[On line] Aviable: http//www.acfs.go.th/datakm/standard/standard_list_std.html

อำนวยสิทธิ์. 2539. ใครนำไก่ต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยเป็นคนแรก?.

สัตวเศรษฐกิจ 12 (274) : 45–50.
พรรณระพี อำนวยสิทธิ์. 2546. นกกระทายังอยู่ในวงศ์ย่อย Perdicidae ของวงศ์ Phasianidae หรือ?. สัตวบาล 13 (63) : 32 – 39.
พรรณระพี อำนวยสิทธิ์. 2550. ไก่ตัวผู้ออกไข่ได้จริงหรือ?. 2550. วารสารสัตวบาล 17 (78) : 19 – 24.
พรรณระพี อำนวยสิทธิ์. 2550. มุมหนึ่งของบิดาการเกษตรแผนใหม่ของไทย..หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร.2550. สัตวบาล 13 (80) : 3–9.
พรรณระพี อำนวยสิทธิ์. 2550. แด่เธอ...หม่อมศรีพรหมา…เจ้านางแห่งเมืองน่าน สตรีผู้เคียงข้าง ม.จ.สิทธิพร กฤดากร. 2550. สัตวบาล 13 (81)
1.1 ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา โดยใช้แบบประเมินอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
 
2.1 ประเมินการจัดการเรียนการสอนจากการทดสอบย่อยและตอบคำถามของนักศึกษา ระหว่างการสอนแต่ละหน่วยการเรียน
3.1 ทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสอทธิภาพของรายวิชา
3.2 จัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคการศึกษา
3.3 ให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการผลิตสัตว์ปีกเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.4 ประชุมอาจารย์ประจำวิชา เพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
4.1 ผลการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม
4.2 การแจ้งคะแนนสอบให้นักศึกษาทราบเป็นระยะ
4.3 การออกข้อสอบร่วม
4.4 ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนรายงานและการนำเสนอรายงาน
4.5 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.6 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
-ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
-อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา