การประกันคุณภาพทางการศึกษา

Educational Quality Assurance

เพื่อให้นักศึกษา
1. รู้ความหมายและความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา
2. เข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก
3. เข้าใจมาตรฐานการอาชีวศึกษาและระบบการประกันคุณภาพด้านอาชีวศึกษา
4. เข้าใจหลักการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง
5. เข้าใจการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา
6. มีทัศนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพครู
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน เข้าใจในเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก
มาตรฐานการอาชีวศึกษาและการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ด้านอาชีวศึกษาที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนด้านวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก อุดมการณ์และหลักการในการจัดการอาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา มาตรฐานการอาชีวศึกษา หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการเป็นรายบุคคลตาม ความเหมาะสม
 
1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม (· ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1,1.2,1.3)
ส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม

(·ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (· ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม (·ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)

เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
สอนสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของ

มหาวิทยาลัย

ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ

 
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1,2.2 และ 2.3)
นักศึกษาจะต้องมีความรู้ใน
2.1.1 ความหมายและความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
2.1.2 การประกันคุณภาพการศึกษาภายในและภายนอก(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
2.1.3 มาตรฐานการอาชีวศึกษาและระบบการประกันคุณภาพด้านอาชีวศึกษา (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
2.1.4 หลักการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
2.1.5 การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
2.1.6 บูรณาการระบบประกันคุณภาพการศึกษษกับการจัดการเรียนรู้(· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3)
2.1.7 ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของระบบประกันคุณภาพ (· ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
2.2.1 บรรยาย
2.2.2 ค้นคว้ารายงานการประเมินตนเองของวิทยาลัยเทคนิค
2.2.3 การทำงานกลุ่มและนำเสนอโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
2.2.4 อภิปรายผลจากการศึกษาตัวอย่างรายงานการประเมินตนเองของวิทยาลัยเทคนิคศึกษา
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ ด้วยวิธีดังนี้

การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ประเมินจากงานที่นักศึกษาจัดทำ ประเมินจากการที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.1.1 มีทักษะการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาชีพในเรื่อง ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
ก. การค้นคว้ารายงานการประเมินตนเองของวิทยาลัยเทคนิค
ข. การเขียนรายงานการประเมินตนเองตัวบ่งชี้ด้านการเรียน การสอน
ค. การตรวจรายงานการประเมินตนเอง
 
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ในประเด็น การจัดทำแผนพัฒนาการเรียนรู้กับมาตรฐานการอาชีวศึกษาและตัวบ่งชี้ ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
3.1.1 มีทักษะการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาชีพในเรื่อง ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
ก. การค้นคว้ารายงานการประเมินตนเองของวิทยาลัยเทคนิค
ข. การเขียนรายงานการประเมินตนเองตัวบ่งชี้ด้านการเรียน การสอน
ค. การตรวจรายงานการประเมินตนเอง
 
3.3.1 ประเมินจากผลการทำงานและการรายงานหน้าชั้นเรียน
3.3.2 วัดผลจากการสอบภาคทฤษฎี
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการอภิปราย
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 มอบหมายงานให้ค้นคว้าทำรายงานเป็นกลุ่มและส่งภายในกำหนดเวลา
4.2.2 มอบหมายให้รายงานหน้าชั้นและมีการอภิปราย ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วม
ชั้นเรียน
4.3.1 พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
4.3.2 การส่งงานภายในกำหนด
4.3.3 พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.4 มีการแสดงออกของหลักการในการสรุปประเด็นที่เด่นชัด
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
( · ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
( · ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
5.2.1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
5.2.2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
5.2.3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
5.2.4 การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนเพื่อสะท้อนถึงการใช้สารสนเทศและภาษาในการสื่อสาร
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
5.3.1 พิจารณาจากเนื้อหาในสื่อที่นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
5.3.2 พิจารณาจากการเนื้อหาในเล่มรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
5.3.3 พิจารณาจากการใช้สื่อในการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
5.3.4 พิจารณาจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
5.3.5 พิจารณาจากการเข้าใช้ระบบเทคโนโลยีการศึกษาที่กำหนด
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้
อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
6.2.1 กำหนดรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาสะท้อนความรู้ที่ค้นคว้าและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
6.2.2 กำหนดให้นักศึกษาทำรายงานการประเมินตนเอง
6.3.1 ประเมินพฤติกรรมการการทำรายงานการประเมินตนเอง
6.3.2 การประเมินจากการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ( · ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDCC813 การประกันคุณภาพทางการศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 •2.1-2.3, •3.1, •3.2 •5.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 5% 25% 5% 25%
2 •1.1-1.3, •2.1-2.3, •3.1, •3.2 •4.2-4.4 •5.2, 1.4 4.1,4.3 5.1, 5.3 6.2 การทำงานกลุ่ม ค้นคว้าและการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย - รายงานการประเมินตนเองของวิทยาลัยเทคนิค - การเขียนรายงานการประเมินตัวเองตามตัวบ่งชี้ที่กำหนด - การตรวจรายงานการประเมินตนเอง ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 •1.1-1.3, •2.1-2.3, •3.1, •3.2 •4.2-4.4 •5.2, 1.4 4.1,4.3 5.1, 5.3 6.2 การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 •1.3 การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
5 •1.1-1.3, - ผลงานการทำรายงานการประเมินตนเอง ตลอดภาคการศึกษา
ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน


1. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก
1. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564
3. กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ
4. มาตรฐานการอาชีวศึกษา
5. คู่มือการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาอาชีวศึกษา
6. คู่มือการประกันคุณภาพภายนอกรอบสามของสถานศึกษาอาชีวศึกษา
 
ข้อมูลจากสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่าน...เว็บบอร์ด...ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของ...ผู้ร่วมทีมสอน......หรือการสังเกตการณ์จากคณะผู้ประเมิน..... ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ซึ่งได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุง
การสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์

ตามข้อ 4

เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ