โครงงานวิทยานิพนธ์

Thesis Topics

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงงานวิทยานิพนธ์ วิธีการศึกษาข้อมูลการรวบรวมข้อมูล การอ้างอิง และการเขียนรายงานและสามารถจัดทำเอกสารเพื่อใช้เป็นภาคนิพนธ์ในงานวิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม
1.2 เข้าใจกระบวนการ/วิธีการสร้างสรรค์และพัฒนาผลงานการออกแบบที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กัน โดยการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีทักษะการนำเสนอผลงานการออกแบบด้วยการสื่อสารผ่านรูปแบบของภาษาที่หลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหาสาระ
1.3 มีความรับผิดชอบ และมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เรียนรู้ที่จะจัดสรรเวลาในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
1.4 เห็นคุณค่าและความสำคัญของวิชา เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบและอาชีพต่อไป
1.5 มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง ต่อการเรียน ต่ออาจารย์ และต่อสังคมที่อาศัยอยู่
นำข้อมูลจากประเมินผลการสอนโดยนักศึกษา และการผลการสอนใน มคอ. 5 ของการเรียนการสอนครั้งที่ผ่านมา ทำการปรับปรุงซึ่งประกอบไปด้วย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติกระบวนการทำวิทยานิพรธ์ รูปแบบการจัดทำภาคนิพนธ์ การรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิทยานิพนธ์และเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 4 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
1. พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเองในการรวบรวมองค์ความรู้วิเคราะห์และสรุปผลโดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง
3. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ตระหนักในคุณค่าของโครงการที่ทำการศึกษา
4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. ปลูกฝังให้เข้าใจกระบวนการรวบรวมข้อมูล วิธีการขึ้นหัวข้อโครงการ วิธีการเขียน ก่อนลงมือปฏิบัติ
2. ยกตัวอย่างกรณีศึกษา
3. ปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อตนเอง คือ มีความซื่อตรง เชื่อมั่น และเคารพตนเอง เห็นตัวเองมีคุณค่า พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ไม่เปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นในทางที่ไม่ดี
4. ปลูกฝังให้นักศึกษาเรียนรู้ที่จะพัฒนางานออกแบบของตนเอง ไม่คัดลอกงานขอผู้อื่นมาเป็นงานของตัวเอง เป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร มีจิตใจสาธารณะ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. มีการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์โดยคณะกรรมการกลุ่ม
3. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4. ประเมินผลการจัดทำและนำเสนอรายงานที่มอบหมายและการสอบวัดประเมินผล
1. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจมีความรู้ ทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์
1. บรรยาย อภิปรายในชั้นเรียนและการถามตอบ
2. สอบหัวข้อและข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์โดยผ่ายกรรมการกลุ่มย่อย เน้นเรื่อง subjects ที่นักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาสนใจเป็นหลัก
3. ทำเอกสารวิทยานิพนธ์เป็นรายบุคคล
4. สอบประเมินผล (กลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน)
1. การถาม/ตอบของนักศึกษาในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
2. ประเมินจากการสอบหัวข้อและข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์
3. วัดพฤติกรรมการเข้าเรียน การพัฒนาผลงาน
4. ประเมินจากการนำเสนอผลงานที่ผู้เรียนเลือกศึกษา
5. ประเมินจากผลการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
1. มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ
1. ให้นักศึกษานำเสนอหัวข้อที่ตนเองสนใจ แต่กำหนดให้อยู่ในกรอบของรายวิชา
2. ใช้วิธีการเรียนการสอนที่หลากหลาย ยืดหยุ่นเพื่อพัฒนาและยกระดับความสามารถของนักศึกษา
3. ใช้วิธีสอนโดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อดึงศักยภาพที่มีของนักศึกษาแต่ละคนให้เป็นที่ประจักษ์
4. ใช้ระบบการสอนที่ไม่ตีกรอบความคิด เพื่อให้นักศึกษาฝึกวิธีการแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวเอง
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการนำเสนอผลงานการปฏิบัติของนักศึกษา
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2. มีภาวะความเป็นผู้และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สอดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ระหว่างการเรียนการสอน
2. นักศึกษานำเสนอผลงานโดยการอภิปรายต่อคณะกรรมกรวิทยานิพนธ์
3. นักศึกษาปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ
1. ประเมิน ด้วยการทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลาย
2. ประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขต
3. ประเมินผลจากพฤติกรรมในชั้นเรียนและการทำกิจกรรมกลุ่ม
4. การตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่าง
3. สามารถประยุกต์เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารและแสดงแบบได้อย่างที่เหมาะสม
1. ให้ข่าวสารข้อมูลต่างๆแก่นักศึกษา อย่างต่อเนื่อง
2. สนับสนุนให้หาข้อมูลจากหลายทาง
1. ประเมินจากทักษะการเลือกและการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม - มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม - มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ - มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อสังคม - เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิศรีของความเป็นมนุษย์ ตลอดภาคการศึกษา - มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 6% - มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 8% - มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อสังคม 8% - เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิศรีของความเป็นมนุษย์
2 ความรู้ - มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา -สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดภาคการศึกษา - มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 8% - สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 6% -สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื
3 ทักษะทางปัญญา - มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ตลอดภาคการศึกษา - มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 6% - มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 8%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี - มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดภาคการศึกษา - มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 6% - มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม - สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม - สามารใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ตลอดภาคการศึกษา - สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 8% - สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 8% - สามารใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย
6 ทักษะพิสัย - มีกระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลและเป็นระบบ ถูก ต้องและสอดคล้องกับลักษณะของโครงการที่เลือกทำ - เน้นพัฒนาผลงานการออกแบบหรือการสร้างสรรค์ผลงานที่เกิดมาจากกระบวนการการออกแบบของตนเอง - มีความสามารถในการสื่อสาร นำเสนองาน ประสานงาน แก้ไขปัญหาอย่างเป็นเหตุเป็นผล และการทำงานร่วมกับผู้อื่น - มีความซื่อสัตย์ จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพสถาปัตยกรรม - มีความเชื่อมั่นในตนเอง เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น เป็นผู้เปิดกว้างทางการศึกษา - มีศักยภาพในการค้นหาความรู้ และการนำมาประยุกต์ใช้กับผลงานของตนเองได้อย่างเหมาะสมต่อเนื่องกับเงื่อนไขโครงการ - มีความตั้งใจใฝ่หาความรู้ และต้องการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง - มีความกล้าที่จะคิด ลองผิดถูก ทดลองสมมุติฐาน ตั้งโจทย์ พร้อมที่จะเรียนรู้ระหว่างการเรียน โดยเอาความรู้และประสบการณ์เป็นที่ตั้ง ไม่ใช่มุ่งหวังเพียงแต่การทำเกรด หรือเพื่อให้ได้คะแนนสูงๆ - มีิจิตสำนึกต่อการใช้ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมในการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ตลอดภาคการศึกษา 10 %
- Groat, L, and Wang, D. (2002). Architectural Research Methods, John Wiley & Son, Inc.
- อภิโชค เลขะกุล, (2560). การวิจัยเพื่อการศึกษาและออกแบบสภาพแวดล้อม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. การสนทนาระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาทุกครั้งที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนองาน ในสัปดาห์ที่ 4, 5, 7- 9, 11-14, 16
2. ผลคะแนนจากการสอบปลายภาค
3. ผลงานในรูปแบบของรายงาน (Book), การนำเสนองาน (Presentation), และ แบบแสดงผลงาน (Plate)
2. แบบประเมินความพึงพอใจผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
1. ผลการเรียนของนักศึกษา
2. การประชุมการสอนโดยอาจารย์ทุกท่านที่สอนในรายวิชาก่อนการสอนในสัปดาห์แรก
3. การประชุมการสอนโดยอาจารย์ทุกท่านที่สอนในรายวิชา หลังการสอบกลางภาคเรียน
4. การประชุมการสอนโดยอาจารย์ทุกท่านที่สอนในรายวิชาเพื่อสรุปผลการสอน หลังการสอบปลายภาคเรียน
1. ข้อมูลจากการประเมินความพึงพอใจผู้สอนของนักศึกษา
2. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการสอนจากการประชุม กลางภาคเรียน
3. ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการสอนจากการประชุม ปลายภาคเรียน
1. อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
2. อาจารย์ประกาศผลการเรียนครึ่งเทอมให้นักศึกษาทราบ
3. นักศึกษาสามารถขอดูคะแนนย่อยต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบตนเองหากเกิดข้อสงสัย
1. ดำเนินการทบทวนทุกปีการศึกษาในกรณีที่พบปัญหา และทุก 5 ปีตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
ของสกอ.
2. อาจสลับอาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. เชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้
4. นำเสนอสรุปผลการสอนและการประเมินโดยนักศึกษาแก่ที่ประชุมหลักสูตรเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาในปีการศึกษาถัดไป