โรงต้นกำลังไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าย่อย

Power Plant and Substation

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเส้นโค้งโหลด แบบต่างๆ ข้อดี ข้อเสีย และลักษณะเฉพาะของโรงไฟฟ้าดีเซล โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนรูปแบบต่างๆ และ มีความรู้เกี่ยวกับชนิดของสถานีไฟฟ้าย่อย อุปกรณ์สถานีไฟฟ้าย่อย การจัดวางอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าย่อย  การป้องกันฟ้าผ่า  และระบบการต่อลงดิน
เพื่อเรียนรู้ถึงพื้นฐานและปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการสร้างโรงไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจของการจ่ายโหลดอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ และให้เข้าใจถึงเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานของโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าดีเซล โรงไฟฟ้าแก็สเทอร์ไบน์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ คำนวณ และออกแบบโรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าดีเซล โรงไฟฟ้าแก็สเทอร์ไบน์ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพื่อเรียนรู้ถึงอุปกรณ์ประเภทต่างๆที่ใช้ในสถานีไฟฟ้าย่อย รวมทั้งรูปแบบของสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อให้ทราบพื้นฐานของการวางแผนและออกแบบสถานีไฟฟ้าย่อย เพื่อให้นักศึกษาทราบหลักการป้องกันฟ้าผ่าสถานีไฟฟ้าย่อยตามมาตรฐาน

IEEE Std. 80-2013
ศึกษาเกี่ยวกับเส้นโค้งโหลด โรงไฟฟ้าดีเซล โรงไฟฟ้าพลังไอน้ำ โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม โรงไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แหล่งพลังงานหมุนเวียน ชนิดของสถานีไฟฟ้าย่อย อุปกรณ์สถานีไฟฟ้าย่อย การจัดวางอุปกรณ์สถานีไฟฟ้าย่อย  การป้องกันฟ้าผ่า  ระบบการต่อลงดิน
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ education.rmutl.ac.th และ microsoft team 
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ
พัฒนาผู้เรียนให้มีจริยธรรม มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา มีจรรยาบรรณวิศวกร และเรียนรู้กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อการเป็นวิศวกรที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อตนและสังคม โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม

1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น
1.3.1 พฤติกรรมเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
           2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
          2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
          2.1.3  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
      3.1.1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
            3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
            3.1.3  มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
            3.1.4  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านพลังงานและผลกระทบของโรงไฟฟ้า และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
           4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
          4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
          4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
          4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
      4.2.1 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม  
      4.2.2 ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการจัดอภิปรายและเสวนางานที่มอบหมายที่ให้ค้นคว้า              
      4.2.3 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น  เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
      4.2.4 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำ รายงานและนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะในการนาเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning
และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนาเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ุ6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGEE117 โรงต้นกำลังไฟฟ้าและสถานีไฟฟ้าย่อย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 70
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
    1.   นภัทร  วัจนเทพินทร์. การผลิตไฟฟ้าโรงไฟฟ้าและพลังงานทดแทน, พิมพ์ครั้งที่ 1, สกายส์บุ๊กส์, ปทุมธานี, 2550.
    2.   วัฒนา ถาวร.โรงต้นกำลัง,พิมพ์ครั้งที่ 16,  สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพฯ, 2553.
    3.   สมเกียรติ บุญณสะ.วิศวกรรมโรงจักต้นกำลัง,พิมพ์ครั้งที่ 4 พิทักษ์อักษร,กรุงเทพ,2550
    4.   พรชัย องค์วงศ์สกุล.(2546,กันยายน – ตุลาคม).ความรู้เบื้องต้นระบบป้องกันฟ้าผ่าสถานีไฟฟ้าแรงสูงไฟฟ้า(ตอนที่ 1).วารสารไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ,10(5): 79-83.
    5.   พรชัย องค์วงศ์สกุล.(2546,พฤศจิกายน – ธันวาคม).ความรู้เบื้องต้นระบบป้องกันฟ้าผ่าสถานีไฟฟ้าแรงสูงไฟฟ้า ตอนที่ 2.วารสารไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ,10(6): 86-90.
    6.   A.k.raja,Armit Prakash .Power Plant Engineering, new age international limited    publishers
    7.   John D.McDonald .Electric Power Substation Engineering, 2nd edition ,Crc Press 2006
    8.   P.k. Nag. Power Plant Engineering. 3 rd edition,Tata McGraw Hill,2005
    9.   IEEE Std.80-2013, Guide for Safety in AC Substation Grounding. IEEE-SA Standards Board. December 2013   
    10.  ประกาศิต ศรีทะแก้ว “เอกสารประกอบการสอนโรงต้นกำลังและสถานีไฟฟ้าย่อย”,คณะวิศวกรรมศาสตร์,มทร.ล้านนา เชียงราย ,2555
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 ศึกษาดูงานโรงไฟฟ้า
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
 
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ