ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

English for Communication

เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในการสื่อสาร  โดยใช้คำศัพท์  สำนวน  และโครงสร้างในสถานการณ์ต่างๆ  ให้เหมาะสมตามมารยาทสากล
1. เพื่อปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักและเข้าใจตนเอง สร้างเสริมสมรรถภาพทางกายและบุคลิกภาพ มีวินัย กล้าแสดงออก มีจิตสาธารณะและสามารถทำงานเป็นหมู่คณะ
2. เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะด้านภาษา สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้องและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีทักษะทางปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างเป็นระบบ
4. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง รู้เท่าทันเหตุการณ์และสามารถนำความรู้ ไปใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
5. เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความซาบซึ้งในคุณค่าของศิลปะ วัฒนธรรม ความเป็นไทย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสามารถดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง       
         ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษ ในการฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อสื่อสารในบริบทที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทั่วไป โดยใช้โครงสร้างภาษา คำศัพท์ และสำนวนได้เหมาะสมตามมารยาทสังคม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1.1.1 .  [O]  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
               1.1.2.   [  ]   มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
               1.1.3.   [·]  มีวินัย  ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
               1.1.4    [O]   เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
         พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม   เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ
           - ให้ความรู้และปลูกฝังให้น.ศ.มีระเบียบวินัยโดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
           - กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
           - เน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
          - ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
           - การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
           - การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
           - การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
            2.1.1  [·]  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาสา
            2.1.2  [  ]  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
            2.1.3  [  ]  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง           
             พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ภาษา การสื่อสาร และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ส่วนในหลักการปฏิบัติเน้นการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์
       -   ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน การประยุกต์ใช้ความรู้โดยร่วมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด ศึกษาความรู้จากสื่อเทคโนโลยีต่างๆเช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากสื่อมัลติมีเดียในบทเรียนออนไลน์ Quartet Scholar
   - การทดสอบย่อย
              - ทดสอบกลางภาคและปลายภาค
              - การร่วมกิจกรรมกลุ่มและการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
              - การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมและงานมอบหมายอื่นๆ              
           3.1.1  [   ]  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
            3.1.2  [·] มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
            พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียนและจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนมาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ เช่น ทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์และบริบททางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
ให้นักศึกษาฝึกแก้ไขปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์การสื่อสาร ตามเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่กำหนด ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนะวิธีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตามบริบทของวัฒนธรรมเฉพาะที่กำหนดในกรณีศึกษา จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
            - บทบาทสมมุติหรือสถานการณ์จำลอง
            - การทำกิจกรรมในชั้นเรียนตลอดจนการแก้ไขปัญหาในบริบทต่างๆ
            - การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
            - การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
     4.1.1  [· ]  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
           4.1.2  [   ]  มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตาม
           4.1.3  [   ]  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
           4.1.4  [   ]  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
           พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน      สังคม
     - ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติและการวางตนให้เหมาะสมกับกาลเทศะของแต่ละวัฒนธรรม
     - จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษามีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถเข้าร่วมกลุ่ม
       ได้อย่างสร้างสรรค์
            - ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน ตลอดจนงานมอบหมายโดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการ
               ค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มวัฒนธรรมที่มีแตกต่างกัน
- การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
     - แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
     - การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
             5.1.1  [O] เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม    
              5.1.2  [O]  สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
              5.1.3  [·] ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรม
           พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะ ตามบริบทของวัฒนธรรมสากล
- นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเช่น การใช้ e-mail
            - นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียน
                ผ่านทางบทเรียนออนไลน์หรือเว็บไซต์ต่างๆ
            - นักศึกษาใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนองาน
- ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร
            -  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าข้อมูล
            -  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองาน
            - การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2-5 สอบกลางภาค ปลายภาค 5 , 17 50
2 1-5 ทดสอบย่อย กิจกรรม งานมอบหมายและการนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 40
3 1,3,5 สังเกตพฤติกรรม จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10
     Four Corners  1b  by Jack C. Richards and David Bohlke
     การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
     - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
     - ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
2.  กลยุทธ์การประเมินการสอน
     การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
     - สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
     - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
     - ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
     - ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
 
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
     - ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
     - สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
     - สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
     - ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
     -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ
     -  ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
      - ปรับปรุงเนื้อหาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี