การฝึกงานทางวิศกรรมไฟฟ้า

Electrical Engineering Practice

ปฏิบัติการฝึกงาน โดยนำความรู้จากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างมีระบบ โดยมีวิศวกรที่ปรึกษาหรือผู้ชำนาญการของสถานประกอบการจริงทำหน้าที่ควบคุมดูแล และนักศึกษาจะต้องมีโครงงานและหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง ทั้งนี้นักศึกษษจะต้องสามารถสรุปโครงการและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถานประกอบการนั้นๆ อย่างเป็นรูปธรรมและมีการจัดทำรายงานการปฏิบัติงานมีการประเมินผลงานร่วมกันจากสถานประกอบการและคณาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้มีประสบการณ์จริงก่อนสำเร็จการศึกษา
จุดมุ่งหมายของประสบการณ์ภาคสนาม เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน นักศึกษาสามารถ - เชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการประยุกต์ให้เกิดผลทางปฏิบัติ - เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนาความรู้ด้านวิศวกรรมมาใช้ในการทำงาน - เรียนรู้และฝึกประสบการณ์การพัฒนาระบบทางวิศวกรรมจากสภาพแวดล้อมจริง - เข้าใจชีวิตการทางานและวัฒนธรรมองค์กร - ปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทางานร่วมกันได้
ปฏิบัติการฝึกงานโดยนําความรู้จากสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าไปประยุกต์ใช้ในสถาน ประกอบการทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าอย่างมีระบบ โดยมีวิศวกรที่ปรึกษาหรือ ผู้ชํานาญการของสถานประกอบการจริงทําหน้าที่ควบคุมดูแล และนักศึกษาจะต้องมี โครงงานและหน้าที่รับผิดชอบที่แน่นอนไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง ทั้งนี้นักศึกษาจะต้อง สามารถสรุปโครงการและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสถาน ประกอบการนั้นๆ อย่างเป็นรูปธรรมและมีการจัดทํารายงานการปฏิบัติงาน มีการ ประเมิณผลงานร่วมกันจากทางสถานประกอบการและคณาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้ มีประสบการณ์จริงก่อนสําเร็จการศึกษา  
0
(1) เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรเสียสละ และซื่อ สัตย์สุจริต (2) มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบตอตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆขององค์กรและสังคม (3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมูคณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ตามลาดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (4) สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและ สิ่งแวดล้อม (5) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติก่อนการปฏิบัติสหกิจศึกษา กำหนดตารางเวลาปฏิบัติสหกิจศึกษา บันทึกเวลาปฏิบัติสหกิจศึกษา กำหนดขอบเขตของงาน กำหนดวิธีการประเมินผลงาน มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการเช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรม จริยธรรม
(2) ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการปฏิบัติสหกิจศึกษา จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างปฏิบัติสหกิจศึกษา โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง
ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้องพร้อมรายงานผลการปฏิบัติสหกิจศึกษาประกอบ
 
(1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (2) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม (3) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (4) สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมเช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นต้น (5) สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
 
(1) สถานประกอบการที่ปฎิบัติสหกิจ จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเครื่องมือ อุปกรณ์ทีจำเป็นในการปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง (2) ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงาน พี่เลี้ยง (3) จัดประชุม แบ่งงาน ติดตามงาน เป็นระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความเหมาะสม
 
ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ พนักงานพีเลี้ยงอาจารย์นิเทศ ประเมินผลจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการส่งงาน และความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดแบบฟอร์มบันทึกการส่งงาน
1) มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี (2) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ (3) สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาดานวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจในการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (4) มีจินตนาการและความยืดหยุ้นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนา นวัตกรรมหรือต้อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ (5) สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
การมอบหมายโจทย์ปัญหา ให้ฝึกการค้นหาความต้องการ และวิเคราะห์ผลความต้องการ จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ความต้องการ และนำเสนอ
(3) ประชุมและนำเสนอผลลัพธ์จากโจทย์ปัญหารวมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา และ นักศึกษาฝึกงาน สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
- ประเมินผลจากผลงานที่ไดรับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่เกี่ยวข้องและ ควรนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน
(1) สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
การทำงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์ภาคสนามในช่วงระยะเวลาต่อเนื่องจนครบจำนวนชั่วโมงที่ระบุตามหลักสูตร และ/หรือตามเวลาการทำงานของสถานประกอบการที่นักศึกษาฝึกงาน โดยนักศึกษาต้องมีการเตรียมตัวก่อนการทำงานดังนี้
เรียนรู้ ทำความเข้าใจในภารกิจ เป้าหมาย วัฒนธรรม กฎ ระเบียบ ขั้นตอนในการทำงานของสถานประกอบการ เรียนรู้ และฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่นในสถานประกอบการที่ฝึกงาน นำความรู้ทางทฤษฎีทางเทคโนโลยีสารสนเทศและวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง มาเป็นพื้นฐานในการประยุกต์เพื่อการทำงาน
การฝึกแก้ไขปัญหาในโจทย์ที่ได้รับมอบหมายโดยใช้อุปกรณ์ เครื่องมือที่มีอยู่ในสถานประกอบการ
รายงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย กำหนดส่ง แผนการแก้ไขโจทย์ปัญหา สัปดาห์ที่ 4 ของการฝึกงาน ผลการวิเคราะห์ปัญหา ระหว่างการฝึกงาน ตามระยะเวลาที่มอบหมายงาน ผลการออกแบบ และพัฒนาระบบเพื่อแก้ไขปัญหา ระหว่างการฝึกงาน ตามระยะเวลาที่มอบหมายงาน ผลประเมินการใช้งานระบบ ระหว่างการฝึกงาน ตามระยะเวลาที่มอบหมายงาน รายงานการฝึกงาน หลังการสิ้นสุดการฝึกงาน 1 สัปดาห์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ที่ปรึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม - อาจารย์ที่ปรึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม สรุปผลการประเมิน และรายงานผล - การนิเทศน์นักศึกษาด้วยการสัมภาษณ์หัวหน้างานและนักศึกษา ด้วยระบบออนไลน์ เช่น LINE, Facdbook, Microsoft Team เนื่องจากเกิดโรคระบาด KOVID-19