วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท 1

Master Thesis 1

1.1    นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์/วิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ  1.2    นักศึกษาสามารถทำวิจัยในหัวข้อที่สนใจ ภายใต้ดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ 1.3    นักศึกษาสามารถเขียนและเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  1.4    นักศึกษามีวินัยและความรับผิดชอบในการทำงานด้วยตนเองและทำงานร่วมกับผู้อื่น มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการทำวิจัย และการผลิตผลงานทางวิชาการ  
เพื่อกำหนดผลเรียนรู้ของรายวิชาวิทยานิพนธ์ให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
นักศึกษาทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์โดยละเอียด เขียนและเสนอโครงร่างวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ และสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ โดยเน้นการนำองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าไปแก้ปัญหาที่ได้เกิดขึ้นจริงในภาคอุตสาหกรรมการผลิต พลังงาน เกษตรกรรม การบริการ การประยุกต์ใช้งานด้านการแพทย์ และอื่นๆ
อย่างน้อย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ตามตารางวันที่กำหนดและแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า และการให้คำปรึกษาและแนะนำทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ไม่จำกัดเวลา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้ 1.1.1    เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต  1.1..2    มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3    มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4    สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.5     มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบในการเข้าชั้นเรียนและส่งงานตรงเวลา นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีการสอดแทรกความรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมในการเรียนการสอนทุกรายวิชา โดยเน้นการสร้างสำนึกในจรรยาบรรณของนักวิจัยทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์โดยไม่กระทำการทุจริตในการสอบ รวมถึงการอ้างอิงข้อมูลในกรณีนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้
1.3.1    ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม 1.3.2    ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.3    ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 1.3.4    ประเมินจากรายงาน ผลงานวิจัยที่นักศึกษานำเสนอ  
2.1.1    มีองค์ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรมไฟฟ้าในกลุ่มวิจัย เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2    มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า และนำไปประยุกต์ในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการหรือการปฏิบัติในวิชาชีพ 2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  2.1.4    สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางวิศวกรรมด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.1.5    สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 2.1.6    สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการทางด้านวิศวกรรม ไฟฟ้ารวมทั้งการนำไปประยุกต์ได้  
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการต่างๆ และเสนอบทความในวารสารทางวิชาการทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
2.3.1    การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค 2.3.2    ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 2.3.3    ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ 2.3.4    ประเมินจากการนำเสนองาน และงานวิจัย 2.3.5    การสอบป้องกันวิทยานิพนธ์  
3.1.1      มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและเป็นระบบ
3.1.2      สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.1.3      สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.4      สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนทางด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.5      มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนาแนวคิดริเริ่มหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.6    สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1      กรณีศึกษาทางการประยุกต์ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
3.2.2      การอภิปรายกลุ่ม หรือการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.2.3    ส่งเสริมให้นักศึกษาได้เสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการต่างๆ และเสนอบทความในวารสารทางวิชาการทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษาที่เกิดจากการใช้กระบวนการแก้ไขปัญหา การศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ การวิเคราะห์วิจารณ์ เช่น รายงานการนำเสนอในชั้นเรียน รายงานผลการอภิปรายกลุ่ม การสัมมนา และการวิเคราะห์วิจารณ์ผลงานทางวิทยานิพนธ์รวมถึงการประเมินผลจากการสอบ
4.1.1      สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคม และสามารถแสดงความคิดเห็นทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์
4.1.2      สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.3      สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4      รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมายทั้งงาน บุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5    มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือผู้มีประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการแสดงบทบาทของการเป็นผู้นำและผู้ตาม โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ ดังนี้
4.2.1      สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2      มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย                           
4.2.3      สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4.2.4      มีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.5      ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.2.6    ส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมการนำเสนอผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการต่างๆ
4.3.1      ประเมินพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
4.3.2      ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึก พฤติกรรมเป็นรายบุคคล
4.3.3      ประเมินจากผลงานการอภิปรายและเสวนา
4.3.4      สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
4.3.5    ใช้กลไกการประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน
5.1.1      มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2      มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์และสถิติ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษา ค้นคว้าปัญหา รวมถึงสรุปปัญหาและเสนอแนะแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3      สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยในการติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์ด้านวิศวกรรมไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4      มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5    สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1      จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากลายสถานการณ์ที่สามารถประยุกต์ใช้ในห้องปฏิบัติการ
5.2.2    ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูล และนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1      ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎีการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้องทางวิศวกรรมศาสตร์
5.3.2      ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
5.3.3    สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
6.1.1      มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2    มีทักษะในการออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางฝีมือและประสบการณ์การทำงาน และฝึกทักษะการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ความรู้เชิงลึกหรือหลักการทางวิศวกรรม
6.2.1    สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2      สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3      สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมไฟฟ้ากับหน่วยงานภายในและภายนอก
6.2.4      จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
6.2.5    สนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์
6.3.1      มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2      มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
6.3.3      มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.4    มีการประเมินวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.4-1-5, 2.1, 2.3, 2.6, 3.1-3.3, 5.3 - ค้นคว้าเอกสารและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจนสามารถหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ได้ ตลอดภาคการศึกษา 60%
2 1.2, 2.1-2.2, 2.4-2.6, 3.1-3.2, 4.3, 5.4 - เขียนและเรียบเรียงโครงร่างวิทยานิพนธ์เสนอคณะกรรมการพิจารณา ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.2, 2.2, 3.3, 4.1-4.3, 5.4, 6.1-6.2 - สอบเค้าโครงผ่านและส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์ต่อคณบดีเพื่อขออนุมัติ ตลอดภาคการศึกษา 30%
- คู่มือการจัดทำวิทยานิพนธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
- ระเบียบและประกาศของมหาวิทยาลัย และของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำวิทยานิพนธ์
 นักศึกษาประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ ตามกรอบการประเมินการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ สมศ ผ่านระบบการประเมินออนไลน์ของมหาวิทยาลัย เมื่อสิ้นสุดการเรียนรายวิชา
การประเมินการสอนเป็นไปตามระบบของมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรรับผิดชอบการนำผลประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา และการประเมินตนเองของอาจารย์มาพิจารณาและให้ข้อมูลแก่อาจารย์ผู้สอน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา
กลไกการปรับปรุงการสอน กำกับดูแลโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งมีหน้าที่ในการนำผลการประเมินการสอนโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาพิจารณา สรุปข้อมูลให้อาจารย์ผู้สอนรับทราบ และนำผลไปพิจารณาในการปรับปรุงแก้ไขการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาถัดไป
กลไกการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน คณะมีการจัดการอบรมพัฒนาอาจารย์ด้านการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองและนำความรู้มาปรับปรุงการสอนได้ตลอดเวลา
การทบทวนผลสัมฤทธิ๋ทางการเรียน โดยเทียบเคียงกับเกณฑ์หรือมาตรฐานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่กำหนดสำหรับรายวิชา
การพิจารณาระดับคะแนนที่อาจารย์ทำการประเมินผลและตัดเกรดให้เป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานของสาขาวิชา คณะและมหาวิทยาลัย ดำเนินการในระดับกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการประจำคณะ
การให้โอกาสนักศึกษาในการตรวจสอบระดับคะแนน หากเห็นว่าผลการประเมินอาจมีความผิดพลาด รวมไปถึงการให้นักศึกษาสามารถอุทธรณ์ผลการเรียนหากเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือมีข้อผิดพลาดในการประเมิน
การนำผลการประเมินการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์มาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงในรายวิชา โดยอาจมีการปรับปรุงกระบวนการให้คำปรึกษาให้สอดคล้องกับนักศึกษารายบุคคล การปรับปรุงกิจกรรมการให้คำปรึกษา และการปรับปรุงเกณฑ์และวิธีการประเมนผลการเรียนของนักศึกษาตามความเหมาะสมทุกรอบระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดการให้คำปรึกษาแต่ละคน และหรือในแต่ละภาคการศึกษา