การเขียนเชิงวิชาการ

Academic Writing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเขียนระดับความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่างๆ โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ อ้างอิง และเผยแพร่ผลงานในรูปแบบงานเขียนผ่านสื่อต่างๆ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกระบวนการเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่าง ๆ โดยใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสม และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาการเขียนระดับความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่างๆ โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเผยแพร่ผลงานในรูปแบบงานเขียนผ่านสื่อต่าง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาออนไลน์เป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่
1.1.1 ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.2 ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
         1.2.1    ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของการอ้างอิงข้อมูลวิชาการในเนื้อหาของบทเรียน
         1.2.2    ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
         1.2.3    กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1   การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.2    การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา
         2.1.1    ทางทฤษฎี เน้นความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการ กระบวนการเขียนความเรียง การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
         2.1.2    ทางปฏิบัติ เน้นการฝึกเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีการบูรณาการความรู้กับศาสตร์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
         2.1.3    การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ค้นคว้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
          2.2.1    ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
         2.2.2    ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
         2.2.3    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการทั้งในและนอกชั้นเรียน
         2.3.1   การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
         2.3.2    การฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการทั้งในและนอกชั้นเรียน
         2.3.3    ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการนำความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการ อย่างเป็นระบบ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
         3.2.1    ให้นักศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
         3.2.2    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ
         3.2.3    ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายนอกชั้นเรียน
         3.3.1   การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
         3.3.2    การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
         3.3.3    การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม โดยการช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการฝึกการแปลงานเขียนประเภทต่างๆ
         4.3.1   ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
         4.3.2    ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
         4.3.3    สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าหาข้อมูลมาใช้ในการเขียนเชิงวิชาการอย่างเหมาะสม
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล และใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเขียนเชิงวิชาการ
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-4 สอบกลางภาค 9 20%
2 หน่วยที่ 5-9 สอบปลายภาค 17 20
3 หน่วยที่ 1-9 แบบฝึกหัด / กิจกรรม / งานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 50%
4 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
Headway Academic Skills
เอกสารประกอบการสอนวิชาการแปลเบื้องต้น
Blanchard, K. and Root, C. 1994. Ready to Write: A First Composition Text. New York: Addison-Wesley Publishing Company. Blanchard, K. and Root, C. 1997. Ready to Write More: From Paragraph to Essay. New York: Addison-Wesley Publishing Company. Davis, Jason & Lies, Rhonda. 2006. Effective Writing 3. New York: Oxford University Press. Ingram, B and King, C. 2004. From Writing to Composing. Cambridge: Cambridge University Press. Jordan, R. R. 1999. Academic Writing Course: Study Skills in English. Essex: Pearson Education Limited. Oshima, A. and Hogue, A. 1999. Writing Academic English. 3rd Edition. New York: Addison-Wesley Longman. Savage, Alice & Mayer, Patricia. 2005. Effective Writing 2. New York: Oxford University Press. Zemach, D. E. and Rumisek, L. A. 2003. College Writing: From Paragraph to Essay. Oxford. Macmillan Publishers Limited. เว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ และข้อมูลที่นักศึกษาสนใจ
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์