การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

Object-Oriented Programming

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ เข้าใจถึงหลักการของแนวความคิดเชิงวัตถุ คลาส เมธรอด คุณสมบัติการห่อหุ้ม การสืบทอดคุณสมบัติของวัตถุ ความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุ อินเตอร์เฟส โพลิมอร์ฟิซึม เข้าใจหลักการการนำคลาส กลับมาใช้ใหม่ เข้าใจกลไกในการติดต่อระหว่างผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์กับซอฟต์แวร์ ทดลองสร้างโปรแกรมเชิงวัตถุด้วยภาษาเชิงวัตถุ
เพื่อให้เนื้อหาในการเรียนการสอน ครอบคลุมเทคโนโลยี และเทคนิคการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการสร้างโปรแกรมบนแพลตฟอร์ม หรือสภาพแวดล้อมของระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันได้ในเชิงวัตถุ
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการและแนวความคิดของการโปรแกรมเชิงวัตถุ การกำหนดวัตถุ การใช้วัตถุ การซ่อนวัตถุ การกำหนดประเภทองวัตถุ การสืบทอดประเภทของวัตถุ โครงข่ายของวัตถุ โครงสร้างของโปรแกรมเชิงวัตถุ การติดต่อกับผู้ใช้ การทำหลายงานพร้อมกัน การติดต่อระหว่างงาน ศึกษาและทดลองสร้างโปรแกรมเชิงวัตถุโดยใช้ภาษาการโปรแกรมเชิงวัตถุใหม่ๆ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษา เป็นกลุ่มหรือเฉพาะราย ตามความต้องการ ผ่าน เครื่องมือการสื่อสารออนไลน์ 
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม

1.1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   เช่น การใช้ Wed-board โดยมีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต หรือจากมิจฉาชีพ การป้องกันตนเอง

1.2.2 นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มผึกให้รู้หน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ฝึกการเป็นผู้นำ และผู้ตาม ไม่กระทำกรทุจริตในการสอบหรือ ลอกงานของผู้อื่น
อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี เสียสละ ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และสังคม
3.1.1 ประเมินด้วยการสังเกตุพฤติกรรม
3.1.2 ประเมินด้วยการสังเกตุพฤติกรรมวความรับผิดชอบต่องานกลุ่ม ที่มอบหมาย
 
นักศึกษาต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เกี่ยวกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ และช่วยพัฒนาสังคมและประเทศชาติทั้งทางตรงและทางอ้อม ตามมาตรฐานความรู้ต่อไปนี้
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาที่ศึกษาอยู่
2.1.2 สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุง/และ/หรือประเมินระบบ และ/หรือ องค์ประกอบในส่วนต่างๆ ของซอฟต์แวร์ และหรือ ฮาร์ดแวร์ ให้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
2.1.3 มีทักษะในการค้นคว้า ติดตาม สร้างผลงานทางวิชาการทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งในด้านซอฟต์แวร์และ/หรือ ฮาร์ดแวร์ อีกทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับหรือคิดค้นไปประยุกต์ใช้ในวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริง
บรรยาย  การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้วิเคราห์และออกแบบโปรแกรมที่ใช้หลักแนวคิดเชิงวัตถุ ให้ทดลองสร้างโปรแกรมเชิงวัตถุเพื่อแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ ตามที่ได้ออกแบบไว้ อันเป็นการศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นตัวกำหนด (Problem – based Learning) และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   มอบหมายงานในการพัฒนาโปรแกรมโดยใช้แนวคิดเชิงวัตถุสำหรับ  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
3.1.1 พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
3.1.2 สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะ กับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำหัวข้อหรืองานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
3.2.2   ยกตัวอย่าง ถาม-ตอบ
3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  และอภิปราย
3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติการเขียนโปรแกรม
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์หรือต้องใช้แนวคิดในการออกแบบโปรแกรม การประยุกต์ใช้คำสั่งของภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ และการประยุกต์ใช้อัลกอริทึมเพื่อแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ ในสภาพแวดล้อมของระบบคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกันได้
3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงานที่มอบหมาย
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรมตามแนวคิดเชิงวัตถุ
4.3.1   ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2   ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย    
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.4  พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
-ไม่มี-
-ไม่มี-
-ไม่มี-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 2.6 2.7 2.8 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 3.1 3.2 3.3 3.4 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 5.1 5.2 5.3 5.4 6.1 6.2
1 ENGCE174 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4-2.6,3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.6,1.7,2.1, 2.4-2.6, 3.2,4.1-4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. D.S. Malik and P.S. Nair, Thomson course technology, Inc.(2003) Java Programming: From Problem Analysis To Program Design
2. ดร.วีระศักดิ์ ซึงถาวร,บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)(2543), Java Programming Volume I
3. ผศ.ดร. อัษฎาพร ทรัพย์สมบูรณ์, สำนักพิมพ์ เคทีพี (2554), การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ
4. กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และ พนิดา พานิชกุล, สำนักพิมพ์ เคทีพี (2548), คัมภีร์ การพัฒนาระบบเชิงวัตถุด้วย UML และ Java
5. ผศ. ธวัชชัย งามสันติวงศ์, ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2545), การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ แนวคิดเชิงวัตถุโดยจาวาและ UML
ไม่มี
https://www.facebook.com/groups/317492651597960/
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ