การประลองวิศวกรรมการทดสอบวัสดุ

Engineering Material Testing Laboratory

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการทดสอบวัสดุ
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถด้านคุณสมบัติของวัสดุ
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีความสามารถในการนำเอาความรู้ในการการทดสอบวัสดุไปใช้ได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ การทดสอบแรงดึง การทดสอบแรงอัด การทดสอบการเฉือน การทดสอบการดัด การทดสอบการกระแทก การทดสอบการบิด การทดสอบความแข็งแบบริเนล การทดสอบความแข็งแบบร็อกเวล และการทดสอบแบบไม่ทำลาย
ปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบคุณสมบัติทางกลแบบทำลาย การทดสอบแรงดึง แรงบิด ความแข็ง การล้า การแอ่น แรงกด แรงเฉือน แรงกระแทก แรงดัดของวัสดุ ปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบคุณสมบัติทางกลแบบไม่ทำลาย การทดสอบทางกายภาพด้วยสายตา อัลตราโซขนิก การแทรกซึม การเอ็กซเรย์ ผงแม่เหล็ก การทดสอบด้วยกระแสไหลวน
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม มีภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
           1.1.5    เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้าน ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ให้ความสำคัญและเน้นย้ำให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม ให้ความสำคัญในเรื่องการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย

              5 สอดแทรกนักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม
1.3.1   ประเมินจากปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
              1.3.2   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
              1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
              1.3.4   ประเมินจากการแต่งกายเข้าห้องเรียนของนักศึกษา
              1.3.5   ประเมินจากการส่งงานของกลุ่มแต่ละกลุ่ม
               2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านเกี่ยวกับการทดสอบคุณสมบัติทางกลแบบทำลาย และการทดสอบคุณสมบัติทางกลแบบไม่ทำลาย
               2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาปฏิบัติเกี่ยวกับการทดสอบคุณสมบัติทางกลแบบทำลายและการทดสอบคุณสมบัติทางกลแบบไม่ทำลาย
               2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
               2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เกี่ยวกับการทดสอบคุณสมบัติทางกลแบบทำลายและการทดสอบคุณสมบัติทางกลแบบไม่ทำลาย เป็นต้น
               2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
2.2.1   เน้นให้นักศึกษาปฏิบัติการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์โดยการนำหลักทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
2.2.2   ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นให้รู้จักการประยุกต์ใช้กับงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ การทดสอบคุณสมบัติทางกล
2.2.3   มอบหมายให้ทำรายงานโดยเน้นการบูรณาการทางทฤษฏี และปฏิบัติ รวมถึงการนำศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้
2.2.4   มอบหมายให้ทำรายงานเรื่องวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาโดยการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์
 2.2.5  เน้นให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง และนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
              2.3.1 การทดสอบย่อย
              2.3.2 ประเมินจากการสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
              2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
              2.3.4 ประเมินผลจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
   2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
              3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
              3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
              3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมทดสอบวัสดุได้อย่างมีระบบรวมถึงการ 
                      ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
       3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่าง เหมาะสม
  3.2.1   ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติงานจริง
  3.2.2   ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา
  3.2.3   มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
  3.2.4   ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าและคิดนวัตกรรมแบบใหม่ๆ
3.3.1 ประเมินจากการปฏิบัติงานจริงและผลงาน
3.3.2 ประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา
3.3.3 ประเมินจากรายงานการนำข้อมูลมาใช้ในการคิดวิเคราะห์และตัดสินใจ
      3.3.4 ประเมินจากผลงานการศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
4.1.1 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
              4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและ    งานกลุ่ม
4.1.3 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1  เน้นให้เห็นความสำคัญแนวทางการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กร
4.2.2  ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ตนเองและที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3  ปลูกฝังจิตสำนึกในการช่วยกันสอดส่องดูแลพื้นที่ปฏิบัติงานหรือการดำเนินกิจกรรมที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายในการทำงาน และสภาพแวดล้อม
4.3.1   ประเมินจากพฤติกรรมในการร่วมกันทำงานที่ได้รับมอบหมายหรือกิจกรรมร่วมกัน
4.3.2   ประเมินจากผลงาน
4.3.3   ประเมินปริมาณจุดเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายในการปฏิบัติงานหรือพื้นที่ทำงาน
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
              5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
              5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการ 
                     แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
              5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมี
                     ประสิทธิภาพ
              5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
              5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขา
                      วิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1  มอบหมายงานโดยการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองและใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอผลงาน
5.2.2  เน้นการใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.2.3  ส่งเสริมให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
5.2.4  ส่งเสริมให้รู้จักการพูด การเขียน ในการสื่อสาร
5.2.5  เน้นการเรียนการสอนให้รู้จักการใช้เครื่องคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมมาใช้ในวิชาชีพ
5.3.1   สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ
5.3.2   ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
5.3.3   ประเมินจากการใช้การสื่อสารที่เหมาะสม
5.3.4   ประเมินจากความสามารถในการอธิบายนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.3.5   ประเมินจากความสามารถในการอธิบายการใช้เครื่องมือทางวิศวกรรมได้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1-2.3 2.1-2.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค รายงาน ใบงาน 1-10 การบ้าน การส่งงานตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน 9 18 ตลอดภาคการศึกษา 30% 30% 30% 10%
    มานพ ตันตระบัณฑิตย์, “งานทดสอบวัสดุอุตสาหการ”,  พิมพ์ครั้งที่ 1-5 ,กรุงเทพฯ
            สุรสิทธิ์ แก้วพระอินทร์, “โลหะวิทยาเบื้องต้น”, ซีเอ็ดยูเคขั่น จำกัด มหาชน, กรุงเทพฯ ,2553
ไม่มี
             เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาการประลองวิศวกรรมการทดสอบวัสดุ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ