วัสดุวิศวกรรม

Engineering Materials

เพื่อเข้าใจขั้นตอน พื้นฐานการผลิตวัสดุในงานวิศวกรรม การกำหนดมาตรฐาน สมบัติทางกลและสมบัติทางกายภาพของวัสดุ ขีดจำกัดในการนำไปใช้งานของวัสดุชนิดโลหะกลุ่มเหล็ก โลหะนอกกลุ่มเหล็ก โพลีเมอร์เซรามิกส์ วัสดุคอมโพสิต แอลฟัลท์ ไม้ คอนกรีต และวัสดุงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
          1. เพื่อศึกษาเกี่ยวกับขั้นตอน พื้นฐานการผลิตวัสดุในงานวิศวกรรม
          2. เพื่อศึกษาการกำหนดมาตรฐาน สมบัติทางกลและสมบัติทางกายภาพของวัสดุ
          3. เพื่อศึกษาขีดจำกัดในการนำไปใช้งานของวัสดุชนิดโลหะกลุ่มเหล็กโลหะนอกกลุ่มเหล็ก
          4. เพื่อศึกษาขีดจำกัดการนำไปใช้โพลีเมอร์เซรามิกส์ วัสดุคอมโพสิต แอลฟัลท์
          5. เพื่อศึกษาขีดจำกัดการนำไปใช้ไม้ คอนกรีต และวัสดุในงานอุตสาหกรรมในปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติ กระบวนการผลิตและการประยุกต์ใช้วัสดุวิศวกรรม เช่น โลหะ โพลิเมอร์ พลาสติก ยางมะตอย ไม้ คอนกรีต เซรามิค และวัสดุเชิงประกอบ แผนภาพสมดุลเฟสและการแปลความหมาย การทดสอบสมบัติต่างๆ ของวัสดุวิศวกรรมและการแปลความหมายสมบัติทางกลและการเสียหายของวัสดุ
1
แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดย การวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
ประเมินผลตลอดภาคเรียน ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มี ความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ  ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจ องค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.3 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2
1 TEDCC825 วัสดุวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 4.4 การเข้าชั้นเรียนและพฤติกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 4.2, 4.3, 4.4 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 2.1, 3.2, 5.1, 5.2 ทดสอบย่อย 2-7, 9-16 10%
4 2.1, 3.2, 5.1, 5.2 สอบกลางภาค 8 20%
5 2.1, 3.2, 5.1, 5.2 สอบปลายภาค 17 20%
          -  รศ.แม้น อมรสิทธิ์ และผศ.ดร.สมชัย อัครทิวา, วัสดุวิศวกรรม (2544)
          -  ผศ.ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ, วัสดุวิศวกรรม (2552)
-  Paper จากฐานข้อมูลต่างๆ
-  เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
-  การประเมินการสอนของอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษา
-  ผลการเรียนและผลการทำงานกลุ่มของนักศึกษา
          -  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
          -  พิจารณาจากผลการเรียนของนักศึกษา
          -  พิจารณาจากการประเมินของนักศึกษา
          -  พิจารณาจากความเห็นของอาจารย์ประจำหลักสูตร
          -  ประชุมอนุมัติเกรดนักศึกษา
          -  ทวนจากคะแนน และงานที่มอบหมาย
          -  นำผลการประเมินการสอนและการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ มาพิจารณาปรับปรุงการเรียนการสอน