สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์

Statistics for Science

1.เพื่อรู้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสถิติ
2.เพื่อเข้าใจวิธีการหาความน่าจะเป็น
3.เพื่อเข้าใจวิธีการหาของตัวแปรสุ่ม
4.เพื่อเข้าใจการแจกแจงของตัวแปรสุ่ม
5.เพื่อเข้าใจการสุ่มตัวอย่างและการแจกแจงค่าตัวอย่าง
ุ6.เพื่อเข้าใจหลักการประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐาน
7. เพื่อเข้าใจหลักการวิเคราะห์ความแปรปรวน
8. เพื่อเข้าใจหลักการทดสอบไคกำลังสอง
9. เพื่อเข้าใจหลักการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอย
10.เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัยต่าง ๆ
11.ประยุกต์ใช้ในวิชาชีพและชีวิตประจำวัน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และสามารถใช้เหตุผลในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นระบบชัดเจน รัดกุมและมั่นใจในการแก้ปัญหา ตลอดจนคิดคำนวณได้อย่างถูกต้อง
          ศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเกี่ยวทางสถิติ ความน่าจะเป็น ตัวแปรสุ่ม การแจกแจงของตัวแปรสุ่ม การสุ่มตัวอย่างและการแจกแจงของค่าตัวอย่าง กระประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานของค่าพารามิเตอร์กลุ่มเดี่ยวและสองกลุ่ม การประมาณค่าและการทดสอบสมมติฐานประชากรกลุ่มเดียวและสองกลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบไคกำลังสอง และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการวิเคราะห์การถดถอย
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยการประกาศในชั้นเรียนก่อนเลิกทำการสอน และติดประกาศหน้าห้องพัก และสอนเสริม รวมทั้งให้คำปรึกษาในกรณีที่นักศึกษามีข้อสงสัยเร่งด่วน ผ่านทางสังคมออนไลน์ เช่น Line, FB
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. สอดแทรกและส่งเสริมด้าน คุณธรรม จริยธรรมระหว่างการเรียนการสอน
2. ปลูกฝังให้มีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา
3. ใช้กิจกรรมในการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
1. การแสดงออกและการมีส่วนร่วม
2. การส่งรายงานตรงเวลา
3. ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3. สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ  ที่เกี่ยวข้อง
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างการคำนวณในแต่ละวิธีในเนื้อหาที่เรียน พร้อมทั้งสูตรในการคำนวณ
1. ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบข้อเขียน
2. วิเคราะห์ และแก้ปัญหาโจทย์โดยพิจารณาจากการซักถามในห้องเรียน
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. มอบหมายให้ทำโจทย์ปัญหา
2. เสนอแนวคิดที่ใช้ในการแก้โจทย์ปัญหา
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาทางสถิติ
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
พิจารณาจากการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือการค้นคว้าหาข้อมูล
พฤติกรรมการแสดงออกในระหว่างดำเนินกิจกรรม
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม       
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงาน โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2. นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม    
ประเมินจากผลงานของนักศึกษาในระหว่างดำเนินกิจกรรม
1. การนำเสนอผลงาน
2. รายงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 22071204 สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 3.2 สอบย่อย 3,6,12,15 30%
2 2.1,3.2 สอบกลางภาค 9 25%
3 2.1,3.2 สอบปลายภาค 17 25%
4 1.1, 1.3 , 1.4 ,2.2, 2.3, 3.2, 4.1,4.2, 4.4, 5.1,5.3 การบ้าน/งานกลุ่ม/นำเสนองาน 3,5,8,12,15,16 20%
เอกสารประกอบการสอน
เอกสารประกอบการสอน
1. รองศาตราจารย์ชัชวาล  เรืองประพันธ์.สถิติพื้นฐาน.โครงการผลิตตำรา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.2544
2. สายชล สินสมบูรณ์ทอง.สถิติเบื้องต้น (ELEMENTARY STATISTICS).สถาบันเทคโนโลยีพระคุณเจ้าทหารลาดกระบัง.2553
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การถาม ตอบระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

ผลการสอบ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
 1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
  2. ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ