โภชนศาสตร์สัตว์

Animal Nutrition

1.)  เข้าใจการศึกษาและพัฒนาการทางด้านโภชนะศาสตร์ : แนวความคิดทางโภชนะศาสตร์ โภชนะศาสตร์ (บทบาททีมีต่อสังคมและการเกษตรยุคใหม่) การประเมินคุณค่าของอาหาร ทางเดินอาหาร (การย่อยและการดูดซึมโภชนะศาสตร์) และการศึกษาการใช้ประโยชน์ได้ของอาหารและโภชนะ
2.)  เข้าใจเมตะบอลิซึมของโภชนะ : น้ำ คาร์โบไฮเดรต ลิปิดส์ โปรตีนและกรดอะมิโน เมตะบอลิซึมของพลังงาน แร่ธาตุ วิตามินที่ละลายได้ในไขมันและวิตมินที่ละลายได้ในน้ำ
3.)  เข้าใจความต้องการโภชนะและโภชนะศาสตร์สัตว์ประยุกต์ : ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหาร ความต้องการโภชนะและความสามารถในการให้ผลผลิตการคำนวณและสร้างสูตรอาหารสัตว์ โภชนะศาสตร์ของโคเนื้อ โภชนะศาสตร์ของโคนม โภชนะศาสตร์ของสุกร โภชนะศาสตร์ของสัตว์ปีก และปัญหาเกี่ยวกับโภชนะศาสตร์สัตว์ในเขตร้อนชื้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญา ประสบการณ์ ในการนำความรู้ ความเข้าใจในด้านการผลิตและสามารถคำนวณสูตรอาหารและหาคุณค่าทางโภชนะที่สัตว์ควรได้รับ
ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านโภชนศาสตร์สัตว์ โภชนะต่าง ๆ ในอาหารสัตว์ การวิเคราะห์คุณภาพอาหารสัตว์ ระบบการย่อยอาหาร การดูดซึมและเมตาบอลิซึมของโภชนะชนิดต่าง ๆ ความต้องการโภชนะชนิดต่าง ๆ ของสัตว์เลี้ยง การคำนวณและสร้างสูตรอาหารสัตว์ ประสิทธิภาพการใช้อาหารสัตว์ ปัญหาเกี่ยวกับโภชนศาสตร์ในเขตร้อน
1. อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการเข้าชั้นเรียน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 
2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีคุณธรรม ระเบียบวินัย และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต สำนึกในจรรยาของนักวิชาการเกษตรที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคม และเสริมสร้างเอกลักษณ์ของไทย
ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม  ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ 
ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการมีวินัย ขยัน อดทน และการตรงต่อเวลา
อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง  ให้ความสำคัญต่อ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา การเคารพและให้เกียรติแก่อาจารย์อาวุโส เป็นต้น
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในโอกาสที่สาขาวิชาฯ/คณะจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม  
- การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน
- ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา
- นักศึกษาประเมินตนเอง
มีความรู้และความเข้าใจทางด้านโภชนศาสตร์ของสัตว์ 
 
ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม  การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง และการค้นคว้าจากสื่อต่างๆในห้องสมุดและทางอินเตอร์เน็ต
 
- การสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
- ทำรายงานรายบุคคล
- สามารถคิดวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็นต่อปัญหาทั้งในและนอกชั้นเรียน 
- สามารถใช้ความรู้ทางด้านโภชนะศาสตร์สัตว์มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 
-  การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL
-  ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้   
- มอบหมายงานกลุ่มจัดทำรายงาน
- ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
- รายงานกลุ่ม 
- การสอบย่อย การสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
- มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
- จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาอื่นและบุคคลภายนอก 
- มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด 
- กำหนดความรับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนในการทำงานกลุ่ม อย่างชัดเจน
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน 
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา 
- ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ 
- ให้นักศึกษาประเมินนักศึกษาอื่นๆในรายวิชา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
- สามารถใช้ Power point ในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย 
- สามารถคัดเลือกแหล่งข้อมูล 
- สามารถค้นคว้าหาข้อมูล/ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางอินเตอร์เน็ต 
- สามารถใช้ภาษาไทยในการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดได้อย่างเหมาะสม
- ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ  ประกอบการสอนในชั้นเรียน 
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล 
- การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูล 
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 
- การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน
- ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
- ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 BSCAG208 โภชนศาสตร์สัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4 การเข้าเรียนและความสนใจในชั้นเรียน 1-16 10%
2 1.1, 2.1, 3.1, 3.2, 5.1 สอบกลางภาค 8 35%
3 1.1, 2.1, 3.1, 3.2, 5.1 สอบปลายภาค 17 35%
4 1.1, 1.2, 2.1, 3.1, 3.2, 4.1, 5.1, 5.2 การประเมินผลงานที่มอบหมายทั้งงานส่วนบุคคล งานกลุ่ม การส่งงาน และการนำเสนองาน 1-16 10%
5 1.3, 2.1, 3.1, 3.2, 4.1, 5.2 การมีส่วนร่วม การอภิปรายและเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-16 10%
บุญเสริม ชีวะอิสระกุล และบุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2542. พื้นฐานทางสัตวศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ธนบรรณการ พิมพ์. เชียงใหม่. 343 หน้า.
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2542. โภชนศาสตร์สัตว์. พิมพ์ครั้งที่ 6. ธนบรรณการพิมพ์. เชียงใหม่. 170     หน้า.
บุญล้อม ชีวะอิสระกุล. 2546. ชีวเคมีทางสัตวศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 1. ธนบรรณการพิมพ์. เชียงใหม่. 202 หน้า.
สรรเสริญ ทรัพยโตษก. 2531. โภชนาการเชิงชีวเคมี. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.     กรุงเทพมหานคร. 550 หน้า
วรรณา ตั้งเจริญชัย และ วิบูลย์ศักดิ์ กาวิละ.  นมและผลิตภัณฑ์นม. 2531.  สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์
 วรพงษ์ สุริยภัทร. 2550. หลักโภชนศาสตร์. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 
     อุบลราชธานี. 192 หน้า.
 วรพงษ์ สุริยภัทร. 2539. อาหารสัตว์เบื้องต้น. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.     อุบลราชธานี. 48 หน้า..
Varman., A.H., and J.P. Sutherland.  Milk and milk product.  Chapman&Hall. 
 
วันเพ็ญ จิตรเจริญ.  หลักการวิเคราะห์และคำนวณผลิตภัณฑ์นม.  คณะเทคโนโลยีอาหาร
      สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตลำปาง.
Cunningham, J.G.  (2002). Textbook of Veterinary Physiology.  3rded. Philadelphia. Pennsylavania: An imprint of Elsevier Science. http://en.wikibooks.org/wiki/Anatomy_and_Physiology_of_Animals
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยสาขาวิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา  แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกสาขาการศึกษา  สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน/การวิจัยในชั้นเรียน  และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยสาขาการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมอาจารย์ทั้งสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา  โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขาวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป