การจัดการงานก่อสร้าง

Construction Management

      เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการพื้นฐานการบริหาร และหลักการจัดการงาน ก่อสร้างในด้านการจัดการองค์การ  การจัดเตรียมสถานที่ก่อสร้าง  ขั้นตอนและวิธีการดำเนินการก่อสร้าง  เข้าใจและสามารถประยุกต์การวางแผน การก่อสร้างด้วยระบบต่างๆ  และตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องในระบบของการก่อสร้างและองค์การก่อสร้าง 
      เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา และเป็นไปตามมาตรฐานของรายวิชาในหลักสูตรที่กำกับดูแลโดยสภาวิชาชีพ สภาสถาปนิก กลุ่มวิชาสนับสนุน  
     ศึกษาองค์กรและการจัดการ การจัดเตรียมทรัพยากร การวางแผน การกำหนดเวลาโดยผัง ผังโครงข่ายงาน การดำเนินการก่อสร้าง การประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องในการก่อสร้าง
      อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ จำนวน 3 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)  
(2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
(3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
(4) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
อาจารย์จะมีการสอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การปฏิบัติตนในฐานะนักศึกษา คือ การเข้าเรียนตรงตามเวลา การมีความรับผิดชอบ ปฏิบัติงานตามที่อาจารย์มอบหมาย มีการส่งงานตามที่อาจารย์ผู้สอน และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญกำหนด เปิดโอกาสให้นักศึกษาเกิดการแสดงออกโดยใช้สิทธิของการแสดงความคิดเห็น และการเรียนรู้กฎของการ รักษาความปลอดภัยในสถานที่ก่อสร้าง 
- ประเมินผลจากการเข้าห้องเรียนออนไลน์
- ประเมินผลจากการส่งงานแบบฝึกหัดประจำสัปดาห์ที่ตรงต่อเวลา  
- ประเมินผลจากการจดบันทึกสรุปความรู้จากการบรรยายในแต่ละสัปดาห์ 
(1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
(2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
(3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- การบรรยาย หลักการ วิธีการ การยกตัวอย่างกรณีศึกษา แนะนำการศึกษาเพิ่มเติมด้วย ตนเอง การซักถาม-ตอบ ด้วยระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์
- นักศึกษาดำเนินการค้นคว้าเพิ่มเติมเพื่อจัดทำรายงาน หรือการบรรยายสรุปความรู้จากการศึกษา
- ประเมินผลจากสอบวัดความรู้
- ประเมินผลจากการตอบข้อซักถามในชั้นเรียนออนไลน์ และการอภิปรายตอบข้อซักถามภายในชั้นเรียนออนไลน์  
- ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียนออนไลน์ 
(1) มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
(2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การทำแบบฝึกหัดเพื่อทดลองการจัดองค์การก่อสร้าง การจัดขั้นตอนและวิธีการดำเนินการก่อสร้าง การฝึกปฏิบัติการวางแผนการก่อสร้างด้วยระบบต่างๆ เช่น BAR CHART หรือ PERT หรือ CPM 
ประเมินผลจากผลงานจากแบบฝึกหัดที่นิสิตได้รับจากอาจารย์ 
(1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
(2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
(4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
มอบหมายนักศึกษาจัดทำรายงานด้วยลักษณะเพียงคนเดียวและแบบกลุ่มในลักษณะของการทำงานเป็นทีม โดยการศึกษาข้อมูลจัดทำเป็นรายงานและการนำเสนอรายงานของกลุ่มในชั้นเรียนออนไลน์
ประเมินจากการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมของนักศึกษาและของกลุ่ม
(1) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
(2) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการปัญหาอย่างเหมาะสม
(3) สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การยกตัวอย่างกรณีศึกษาของการจัดองค์การก่อสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้าง ยกตัวอย่างการวางแผนการก่อสร้างในแต่ละประเภทโครงการและอาจารย์จึงมอบหมายให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและนำมารายงานนำเสนอหน้าในชั้นเรียนออนไลน์อย่างเป็นระบบ
- ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ เข้าใจง่ายและแสดงถึงความรู้เพิ่มเติมที่นักศึกษาได้รับเพิ่มเติมจากการค้นคว้าด้วยตนเอง  
- ประเมินจากผลงานการนำเสนอในชั้นเรียนออนไลน์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลแลความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42014516 การจัดการงานก่อสร้าง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.3, 2.5,3.4, 1. เก็บคะแนนจากแบบฝึกหัดประจำสัปดาห์ (2.1, 2.3, 2.5,3.4) 2..เก็บคะแนนจากการสอบวัดความรู้ (2.1, 2.3) ตลอดภาคการศึกษา 50% (1= 20%) (2=30%)
2 4.4,5.4,5.5,6.1 ,7.2, 8.1,8.3 1.การนำเสนอรายงานการศึกษาค้นคว้าในห้องเรียนออนไลน์ (4.4,5.4,5.5,6.1,7.2) 2.งานสรุปข้อมูลประจำสัปดาห(์เลคเชอร)์ (8.1,8.3) ตลอดภาคการศึกษา 40% (1= 30%) (2=10%)
3 1.2,1.4 การเข้าห้องเรียนออนไลน์และการส่งงานตรงเวลา (1.2) ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. กวี  หวังนิเวศน์กุล  การบริหารการก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : 2554
2. วิสูตร  จิระดำเกิง. การบริหารการก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : 2554
3. วิสูตร  จิระดำเกิง. การจัดการงานก่อสร้างก่อสร้าง. กรุงเทพฯ : 2541
4. วิสูตร  จิระดำเกิง. การวางแผนงานและแผนกำหนดเวลางานก่อสร้าง กรุงเทพฯ : 2549
5. วรรณวิทย์  แต้มทอง.  การเพิ่มผลิตภาพในการก่อสร้าง  ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.กรุงเทพฯ : วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตอุเทนถวาย, 2530. 
2.1 การวางแผนงานและแผนกำหนดเวลางานก่อสร้าง ISBN  974-88334-2-9-2 ผู้แต่ง วิสูตร  จิระดำเกิง. พิมพค์รั้งที่ 2 : พฤศจิกายน 2541    

2.2 การบริหารการก่อสร้าง. ผู้แต่ง วิสูตร  จิระดำเกิง. พิมพค์รั้งที่ 2 :กรกฎาคม 2554 
มีการประเมินอาจารย์ผู้สอนรายวิชาโดยนักศึกษา ผ่านเวปไซต์ของมหาวิทยาลัย 
2.1. มีการประเมินคุณภาพของผลงานและผลการปฏิบัติงานตามระยะเวลาประจำวันและประจำสัปดาห์    
2.2. การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ 
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนกับเครือข่ายสถาบันที่สอนในสาขาวิชาทางด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์ ตลอดจนอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
4.1 ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษาหรือการตรวจคุณภาพ และมาตรฐานผลของผลงานของนักศึกษาทั้งก่อนที่เข้าเรียนและหลัง การออกผลการเรียนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา        
4.2 มีการประชุมโดยคณะกรรมการซึ่งเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาเพื่อตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบวิธีการเรียนการสอน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม และคุณภาพผลงานของนักศึกษา
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้    
5.1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4    
5.2. มีผู้เชี่ยวชาญเป็นอาจารย์ผู้สอนหรือวิทยากรพิเศษร่วมสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการเรียนมากขึ้น