เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐานทางการเกษตร

Fundamental Agricultural Biotechnology

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐานทางเกษตร การพัฒนาด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ประโยชน์และความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรต่อชีวิตประจำวัน ตลอดจนการนำเทคโนโลยีชีวภาพไปประยุกต์ใช้กับงานทางด้านการเกษตร เช่น สิ่งมีชีวิตแปลงพันธุ์ และความปลอดภัยทางชีวภาพ และนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเกษตร เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของประชากร
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ และประวัติความเป็นมา 2.2 เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ และการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร 2.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถยกตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร ตลอดจนนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับวิทยาศาสตร์แขนงอื่นได้
ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย หลักการ แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ เทคนิคและกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญ การประยุกต์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรข้อกำหนดและแนวทางในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในสิ่งมีชีวิตและความปลอดภัยทางชีวภาพ สถานภาพปัจจุบันและผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อการเกษตร Study of meaning, principle, basic important concept of biotechnology, Biotechnological technique and processes, Application of biotechnology on agriculture, criterion and trend of biotechnology in life, biological safety, present condition and consequence of biotechnological agriculture
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะ รายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา      นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรก เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบวิชาชีพในสาขาอื่น ๆ ดังนี้      1.1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตว์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ      1.1.2. มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฏกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบานของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชารวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ เป็นต้น
1.3.1 ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วม      กิจกรรทที่กำหนด      1.3.2 ประเมินจากความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ      1.3.3 ประเมินจากความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ        1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย      1.3.5 ประเมินจากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน     1.3.6 ประเมินจากพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น 
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
  นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางการเกษตรเพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องคลอบคลุมสิ่งต่อไปนี้      2.1.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพ (พืชศาสตร์/สัตวศาสตร์/ประมง) ที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบทั้งหลักการ ทฤษฎี การประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง      2.1.2  มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณืจริงโดยมีการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ      2.3.1 การทดสอบย่อย      2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน      2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดจำ      2.3.4 ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ      2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน      2.3.6 ประเมินจากรายวิชาฝึกงานหรือสหกิจศึกษา
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาแล้วดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการอสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้      3.1.1 สามารคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม      3.1.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนาวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่      3.1.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
  3.2.1 บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาทางการเกษตร เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ ประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย      3.2.2 การอภิปลายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มา      3.2.3 ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น      3.3.1 ประเมินจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน      3.3.2 การสัมภาษณ์หรือการสอบปากเปล่า      3.3.3 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
นักศึกษาต้อออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ความสามารถที่จะปรับตัสให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมดังต่อไปนี้      4.1.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม      4.1.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วยใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
   ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้      4.2.1 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้      4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย      4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้      4.2.4 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป      4.2.5 มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับผังความคิดเห็นของผู้อื่น      4.2.6 สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียบและแนวทางปฎิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
     ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานการติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้ด้านการเกษตรศาสตร์ ดังนี้      5.1.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูดอ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน      5.1.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองสถานการณ์เสมือนจริงหรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาหรือในการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
  5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล      5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ ประมวลผลและแปลความหมาย      5.3.3 การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1 ทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ (พืชศาสตร์/สัตวศาสตร์/ประมง) สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธุ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG004 เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐานทางการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2, 3.2, 4.2, 5.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 และ 16 30% และ 30%
2 1.1, 2.2, 3.2, 4.2, 5.2 การทดสอบย่อยในชั้นเรียน ค้นคว้าแล้วนำเสอน ทำงานกลุ่ม/เดี่ยว การอภิปลายกลุ่ม รายงาน ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1, 2.2, 3.2, 4.2, 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 วรพันธ์ บุญชัย. 2558. เทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้น. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. กรุงเทพฯ. 1.2 สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. 2545. พันธุวิศวกรรมเบื้อนต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์ Google class room ที่เปิดเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
ภาควิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการ ประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา และให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ. กำหนดทุกภาคการศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ