ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสำนักงาน

English for Office Communication

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานสำนักงาน การตลาด และการสื่อสารภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ด้านภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในองค์กร เป็นการเตรียมความพร้อมในการทำงานเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แก้ไข
การใช้ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานสำนักงาน การตลาด และการสื่อสารภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) 
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย 1.2.1 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ 1.2.2 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน 
1.3.1 การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค 1.3.2 การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด 1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
 

2.1.1 ด้านทฤษฎี เข้าใจลักษณะของภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กร 2.1.2 ด้านปฏิบัติ สามารถใช้ภาษาในการสื่อสารภายในและระหว่างหน่วยงาน ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน 2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ 2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาในการสื่อสารทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค 2.3.2 การฝึกปฏิบัติทั้งในและนอกชั้นเรียน 2.3.3 ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการสื่อสารภายในและระหว่างองค์กร พร้อมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากลอย่างเหมาะสม
3.2.1 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการสื่อสารภายในและระหว่างองค์กรผ่านช่องทางต่าง ๆ 3.2.3 ให้นักศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของภาษาที่ใช้ในการสื่อสารในและระหว่างองค์กร
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ 3.3.2 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม 3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดีในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ทั้งระหว่างบุคคลในวัฒนธรรมเดียวกันและต่างวัฒนธรรม
4.2.1 สอดแทรกเนื้อหาในรายวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมและมารยาทสากลในการสื่อสาร 4.2.2 ฝึกปฏิบัติการเลือกใช้ภาษาในการสื่อสารให้เหมาะสมกับบริบท
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมในระหว่างการฝึกปฏิบัติการสื่อสารภาษา 4.3.2 การทดสอบการเลือกใช้ภาษาในสถานการณ์ที่กำหนด
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร รวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาในการสื่อสารผ่านช่องทางต่าง ๆ
5.3.1 การทดสอบความรู้ในการสอบกลางภาคและปลายภาค 5.3.2 ผลการฝึกปฏิบัติระหว่างเรียน 5.3.3 ประเมินจากการนำเสนอผลงานการศึกษาในบทเรียนต่างๆ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่างๆ 
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์