ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

Thai for Communication

ศึกษารูปแบบและวิธีการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนากระบวนการคิดอย่างมีระบบร่วมกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ โดยมีศิลปะในการฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะในการพูดและการเขียนทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ สามารถบูรณาการการใช้ภาษาไทยกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนตระหนักถึงการใช้ภาษาไทยในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ       
1.1  เพื่อให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้รูปแบบและวิธีการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนากระบวนการคิดกับการใช้ภาษาร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
1.3  เพื่อให้ผู้เรียนมีศิลปะในการฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ 
1.4  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางภาษาไทยและมีทักษะในการใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง
1.5  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการเขียนและการพูด รวมทั้งสามารถเขียนทางวิชาการและการพูดนำเสนอได้อย่างมีคุณภาพ
ศึกษารูปแบบและวิธีการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนากระบวนการคิดอย่างมีระบบร่วมกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ โดยมีศิลปะในการฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะในการพูดและการเขียนทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ สามารถบูรณาการการใช้ภาษาไทยกับเทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนตระหนักถึงการใช้ภาษาไทยในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ       
     จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์ เพื่อขอคำปรึกษา และแนะนำสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง และแจ้งให้นักศึกษาทราบ     ในชั่วโมงแรกของการสอน
˜1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
˜1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
š1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
˜1.4 เคารพสิทธิในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1) ให้วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม โดยใช้ทักษะทางภาษา
2) อภิปรายกลุ่ม
3) ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
4) กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลา และเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ และตรงเวลา
2) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3) ไม่มีการทุจริตในการสอบ
4) ประเมินผลการนำเสนอผลงานและรายงานที่มอบหมาย
5 การส่งงานตรงตามเวลา
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
š2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
š2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) บรรยายร่วมกับอภิปราย การทำงานกลุ่ม กรณีศึกษา การใช้สื่อมิเดียการวิเคราะห์งาน และมอบหมายงานที่เกี่ยวข้อง
2) ให้ทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบ
3) นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติม จัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1) สอบย่อยระหว่างเรียนด้วยแบบทดสอบ
2) ประเมินจากประสิทธิผลของทักษะการสื่อสาร การใช้วิจารณญาณ การใช้ภาษาไทย การศึกษาค้นคว้า การทำรายงาน และงานที่มอบหมาย
3) ทดสอบกลางภาค และปลายภาค
4) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
˜3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
˜3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1) บรรยายและอภิปราย การใช้สื่อมิเดียต่างๆ การใช้กรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน
2) การมอบหมายให้นักศึกษาแสดงทักษะทางภาษาไทย การทำรายงานชิ้นงาน และนำเสนอผลการศึกษา
1) เก็บคะแนนย่อย โดยเน้นการใช้ทักษะทางภาษาไทยโดยการปฏิบัติจริง
2) สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม    ในการอภิปรายในชั้นเรียน
˜4.1  มีมนุษยสัมพันธ์ และมารยาทสังคมที่ดี
˜4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำ และผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜4.3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
˜4.4  สามารถใช้ความรู้        ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคม     ในประเด็นที่เหมาะสม
1) มอบหมายงานกลุ่มในการ ศึกษาค้นคว้า
2) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
1) ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานกลุ่ม
2) รายงานการศึกษาและชิ้นงานค้นคว้าด้วยตนเอง
3) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
š5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
˜5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
š5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก  website สื่อการสอน            e-learning  และทำรายงาน  โดยเน้นการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2) นำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1) การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อมีเดียและเทคโนโลยี
2) การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และวิธีการอภิปราย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล