ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

Accounting Information System

1. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในแนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อใช่ในการตัดสินใจ และเทคโนโลยีทางการบัญชี
2. นักศึกษามีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ระบบสารสนเทศทางการบัญชี โดยวิเคราะห์วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐานได้แก่ วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง และระบบบัญชีแยกประเภททั่วไปและการรายงาน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
3. นักศึกษาสามารถนำเสนอระบบสารสนเทศทางการบัญชีให้กลุ่มผู้ฟังที่เกี่ยวข้องโดยมีการเลือกสื่อที่เหมาะสมในการรวบรวมข้อมูลและสื่อสาร
เพื่อให้เนื้อหารายวิชามีความทันสมัยต่อสภาวการณ์/ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่มีผลกระทบทางบัญชีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการนำความรู้ที่ได้
ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี เทคนิคและวิธีการของระบบสารสนเทศ การควบคุมภายในที่สำคัญ หลักการจัดทำเอกสารของธุรกิจ แนวคิดในการจัดทำรายงานเพื่อช่วยในการควบคุมและตัดสินใจ การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี วงจรธุรกิจขั้นพื้นฐาน วงจรรายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรเงินเดือนและค่าแรง วงจรการบริหารเงิน ประเภทของเอกสารและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในแต่ละวงจร ทางเดินเอกสารและสารสนเทศทางการบัญชีที่เกี่ยวข้อง
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และผ่านระบบ Google Classroom
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน   อย่างมีคุณธรรม
การบรรยายในประเด็นต่างๆ และสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
- การแนะนำกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ ที่นักศึกษาควรปฏิบัติ
- กำหนดนโยบายการเข้าเรียน คือ การตรงต่อเวลา
- กำหนดความรับผิดชอบ โดยการกำหนดเวลาในการจัดส่งงาน
- การพูดคุยโต้ตอบระหว่างนักศึกษาและผู้สอน
- การประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
- การสังเกตพฤติกรรมระหว่างการบรรยาย
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
- การบรรยายโดยการใช้ Microsoft Power Point บทความทางวิชาการ และวีดิโอ
- ซักถามประเด็นที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเนื้อหา
- Self-Study โดยการมอบหมายงานเดี่ยว และงานกลุ่ม และการศึกษาในระบบออนไลน์ ในเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง
 
- การพูดคุยโต้ตอบระหว่างนักศึกษาและผู้สอน
- การประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
- การทดสอบ
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
- การมอบหมายงานการวิเคราะห์บทความทางวิชาการ และกรณีศึกษา
- การมอบหมายการจัดทำรายงานการศึกษาวงจรทางธุรกิจของบริษัทมหาชน บริษัทจำกัด มูลนิธิ และธุรกิจชุมชน
- การพูดคุยโต้ตอบระหว่างนักศึกษาและผู้สอน
- การประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
การมอบหมายงานกลุ่มในการวิเคราะห์บทความ กรณ๊ศึกษา และการจัดทำรายงาน
- การพูดคุยโต้ตอบระหว่างนักศึกษาและผู้สอน
- ประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- การสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
- การมอบหมายงานกลุ่มในการวิเคราะห์บทความ กรณ๊ศึกษา และการจัดทำรายงานการศึกษาวงจรทางธุรกิจ/ ธุรกิจชุมชน
 
- การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- การสังเกตพฤติกรรมระหว่างการนำเสนอ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 3. 1. 2. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 BACAC134 ระบบสารสนเทศทางการบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1/2.2/2.3/2.4/ 3.1/3.2/4.1/5.2 1.1 การสอบกลางภาค 1.2 การสอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 และสัปดาห์ที่ 17 60%
2 1.2/1.3/2.1/2.2/ 2.3/2.4/3.2/4.1/ 5.2/5.3 งานที่มอบหมายและการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 35%
3 1.2/1.3/4.1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ตามข้อตกลงในการเรียน การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย และการส่งงานตามกำหนด ทุกสัปดาห์ 5%
ศรัณย์ ชูเกียรติ. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2557 นิตยา วงศ์ภินันท์วัฒนา. ระบบการเงินและการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 1. 2554 พลพธู ปียวรรณ และกัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 3. 2558
เว็บไซด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สภาวิชาชีพการบัญชี : www.fap.or.th กรมพัฒนาธุรกิจการค้า : www.dbd.go.th ACCA: www.accaglobal.com
วิธีการประเมินประสิทธิผลในรายวิชาโดยนักศึกษา มีดังนี้

แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนที่อาจารย์ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของอาจารย์ผู้สอนในระหว่างภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา ในรูปแบบต่าง ๆ
วิธีการประเมินการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลการสอน มีดังนี้

ผลการสอบของนักศึกษาและการวิเคราะห์ข้อสอบเพื่อตรวจสอบมาตรฐานของข้อสอบ การสังเกตการสอนของภาควิชา โดยแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินหรือจากการสังเกตการสอนจากอาจารย์ในภาควิชา การทบทวนมาตรฐานการเรียนรู้
สาขาวิชากำหนดให้การปรับปรุงการสอนในรายวิชา มีดังนี้

การจัดทำการรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และวิเคราะห์ผลจากรายงานเพื่อนำมาปรับปรุงการสอน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา การพิจารณาการมอบงาน การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
การนำผลการประเมินจาก ข้อ 1 2 และ 4 มาทบทวนและวางแผนเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาทุกปี