โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี
Software Package for Accounting
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการแฟ้มข้อมูลทางบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวและความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี 3. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี 4. เพื่อให้นักศึกษาฝึกการทำงานร่วมกันในกลุ่มสมาชิก
1 . เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะด้านการบันทึกบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์และการจัดทำเอกสารทางบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปโดยใช้คอมพิวเตอร์ 2 . เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติลักษณะโดยทั่วไปและการใช้งานของโปรแกรมสำเร็จรูปทุกประเภทต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับงานทางด้านบัญชีโดยเฉพาะโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านบัญชีกรณีตัวอย่างการบันทึกรายการค้าของประเภทธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการจัดเก็บการรายงานข้อมูลทางการเงิน รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศระบบฐานข้อมูลเบื้องต้น หลักการพื้นฐานของระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำระบบการบริหารจัดกการทรัพยากรภายในองค์กรมาใช้ การประยุกต์ใช้งานด้านบัญชีกับระบบการบริหารทรัพยากรองค์กรและศึกษาตัวอย่างจากธุรกิจ
1 ชั่วโมง
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ ตระหนักถึงจรรยาบรรณของนักบัญชีที่ดี ที่มีต่อหน้าที่ในการจัดทำบัญชีโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ ตระหนักถึงจรรยาบรรณของนักบัญชีที่ดี ที่มีต่อหน้าที่ในการจัดทำบัญชีโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
สอนหัวข้อจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และข้อกำหนดตามพรบ.การบัญชีพ.ศ.2543 เกี่ยวกับหน้าที่ในการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชี กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ งานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการอภิปรายของนักศึกษา ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนก่อนการสอนทุกสัปดาห์ การประเมินผลการสอบกลางภาค โดยทดสอบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การติดตามการส่งรายงานเป็นช่วงเวลาที่กำหนดให้ และการตรวจเครื่องแต่งกายของนักศึกษา
แนวคิดและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำบัญชี โปรแกรมพื้นฐานทั่วไป เช่น MS Office เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี เช่น Express for Windows มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี ได้แก่ การใช้งานคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) การส่งงานโดยใช้ cloud Computing เป็นต้น มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ สามารถเข้าใจ และดำเนินการตามกระบวนการจัดทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขั้นต้นไปจนถึงการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอกได้
1) บรรยาย ยกตัวอย่าง และถาม – ตอบในชั้นเรียน 2) กรณีศึกษา 3) รายงานกลุ่ม 4) ให้นักศึกษาส่งงานด้วยรูปแบบต่างๆ ได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) และ การส่งงานโดยใช้ cloud Computing
1) การตอบคำถามในชั้นเรียน 2) ผลงานจากการทำกรณีศึกษา การรายงาน(งานกลุ่ม) 3) การทดสอบย่อย การสอบปลายภาค 4) คุณภาพของงานที่มอบหมาย
1) สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่างๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง - สามารถสืบค้นข้อมูลทั้งจากอินเตอร์เน็ตและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการใช้ในการวิเคราะห์ และการทำรายงานกลุ่มได้ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ รายงานทางการเงินของกิจการได้ เป็นต้น 2) สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ - สามารถจัดทำรายงานโดยใช้โปรแกรมอย่างเหมาะสม 3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน - สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผล เกี่ยวกับข้อมูลของกิจการ และนำเสนอได้
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม – ตอบในชั้นเรียน 2) การอภิปรายเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย 3) การนำเสนอรายงาน (งานกลุ่ม)
1) การสอบปลายภาค 2) ผลงานจากการจัดทำรายงานและนำเสนองานกลุ่ม
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ - สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ 2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี - สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมกลุ่ม (การทำรายงานกลุ่ม) ได้โดยราบรื่น 3) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน - สามารถช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาในการจัดทำรายงานได้ด้วยความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ
มอบหมายงานกลุ่ม ตามประเภทธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
1) นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่มตนเอง 2) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ - สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลรายงาน และเทคนิคการนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม
ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเลือกสถานประกอบการจริงมาเป็นต้นแบบในการวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี ให้แต่ละกลุ่มเลือกโปรแกรมสำเร็จทางการบัญชีมาใช้ให้เหมาะสมกับกิจการต้นแบบพร้อมระบุถึงรายละเอียดของโปรแกรมและปัจจัยในการเลือกโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี (ห้ามใช้โปรแกรม Express) ให้แต่ละกลุ่มสมมติและออกแบบฐานข้อมูล แฟ้มข้อมูลหลักที่จำเป็น และรายการค้าขึ้นมาโดยให้สอดคล้องกับลักษณะการดำเนินงานของกิจการต้นแบบพร้อมบันทึกข้อมูลและรายการค้าลงในโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่เลือกใช้ จัดทำคู่มือการปฏิบัติงานรวมทั้งคลิปวิีดีสอนการใช้งาน โดยนำเสนอผ่าน ช่องทางออนไลน์
ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน ผ่านระบบ ออนไลน์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | 1.คุณธรรมจริยธรรม | 2.ความรู้ | 3.ทักษะทางปัญญา | 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | 5.ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีรานสนเทศ | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1. | 2. | 4. | 3. | 1. | 2. | 3. | 4. | 1. | 2. | 3. | 1. | 2. | 3. | 4. | 1. | 2. | 3. |
1 | BACAC144 | โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 2,3,5 | ทดสอบกลางภาคเรียน ,ทดสอบย่อย,ทดสอบปลายภาคเรียน | 9,12,18 | 60% |
2 | 2,3,4,5 | งานที่มอบหมายระหว่างเรียนและ งานแบ่งกลุ่มให้ทำ | ทุกสัปดาห์ 17 | 30% |
3 | 1,2,3,4,5 | การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง | ทุกสัปดาห์ | 10% |
เอกสารประกบอการสอน อาจารย์ยุพรัตน์ จันทร์แก้ว
หนังสือโปรแกรมสำเร็จรูป Excel
หนังสือโปรแกรมสำเร็จรูป Express อ.อุเทน เลานำทา
การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง
การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา