สื่อศิลปะ 5

Media Art 5

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
          1. รู้ความเป็นมาและสามารถวิเคราะห์การสร้างผลงานสื่อศิลปะได้
          2. เข้าใจแนวคิดและรูปแบบของงานสื่อศิลปะในลักษณะต่างๆได้โดยการฝึกปฏิบัติการค้นคว้าทดลอง สร้างงานต้นแบบและนำมาขยายเป็นผลงานจริงได้อย่างเหมาะสม
          3. มีทักษะในการนำสื่อศิลปะสมัยใหม่มาสร้างสรรค์ผลงานเฉพาะตน
          4. มีความรู้และเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะและมีทัศนคติที่ดีต่อการสร้างงานสื่อศิลปะสมัยใหม่
          5. สามารถแยกแยะความแตกต่างในงานสื่อศิลปะและอธิบายหลักการในการสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะได้อย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน
          6. สามารถเผยแพร่การจัดแสดงนิทรรศการสื่อศิลปะและถ่ายทอดทักษะความรู้ที่ได้รับผ่านการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์สื่อศิลปะสู่สาธารณะชนได้
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
1. เพื่อให้การเรียนการสอนทันต่อยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลง
2. พัฒนาศักยภาพของอาจารย์และนักศึกษาให้ก้าวทันโลกเทคโนโลยีที่ก้าวไกล
3. ประยุกต์และปรับใช้ให้เหมาะสมต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
4. รู้และเท่าทันความรู้ทั้งทางด้านความเป็นมาและอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป
5. ทำให้ข้อมูลความรู้มีความเหมาะสมที่สามารถนำไปใช้ในปีการศึกษาใหม่ได้และเข้าถึงต่อความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เพื่อพัฒนารูปแบบและแนวความคิด สามารถนำสื่อศิลปะต่างๆ  มาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้ กับโครงงานที่นักศึกษากำหนดขึ้น สามารถสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าทางศิลปะและมีลักษณะเฉพาะตน
- อาจารย์ผู้สอนจะให้คําปรึกษาและแนะนําทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน จํานวน 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสื่อสารให้นักศึกษาได้ทราบกําหนดเวลาล่วงหน้า
- อาจารย์ผู้สอนสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกจากที่มีการนัดหมายแล้วยังสามารถคุยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆเพื่อให้ทันต่อช่วงวัยของนักศึกษาผ่าน Application on Mobile or On Pc (Personal Computer) เช่น Facebook, Line, Instagram, Messenger etc. ซึ่งการสื่อสารออนไลน์ผ่านสิ่งเหล่านี้ช่วยให้นักศึกษาได้รับข้อมูลทางวิชาการที่รวดเร็วขึ้นและบางครั้งช่วยให้การติดต่อประสานงานกระชับหรือย่นระยะเวลาที่ติดขัดอื่นๆได้เป็นอย่างดี โดยในกรณีนี้จึงนับว่าจำนวนชั่วโมงประมาณ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ผู้สอนสามารถให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
ข้อ 1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรม ข้อ 2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ ข้อ 3 มีวินัย ขยันอดทนตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม ข้อ 4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- กำหนดให้มีการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
                   - ให้ข้อมูลบุคคลตัวอย่างเช่น ศิษย์เก่า อาจารย์ดีเด่น หรือบุคคลที่น่ายกย่องในวงการสายศิลปะที่ทำให้นักศึกษามองเห็นประโยชน์ของการมีคุณธรรม จริยธรรมทางสังคม
                   - นำสื่อข้อมูลเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ เช่น ลิขสิทธิ์ทางปัญญา บทลงโทษต่างๆของผู้ลักลอบนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตน (ในกรณีทางศิลปะการนำข้อมูลต่างๆมาอ้างอิงหรือมาสร้างสรรค์เป็นผลงานศิลปะของตัวเองโดยอ้างถึงแรงบันดาลใจ ผู้เรียนจะต้องทราบถึงการรู้จักการให้เครดิต (Credit) หรือการทบทวนวรรณกรรม (Literature review) หรือการอ้างอิง (Reference) และการใช้บรรณานุกรม (Bibliography) ที่ถูกต้องตามหลักทางวิชาการและวิชาชีพ
                   - ให้คำสั่งหรือคำเตือน การปฏิบัติตนให้เป็นสุภาพชนคำนึงถึงเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้อื่นในการเรียนร่วมชั้นเรียนกับเพื่อนร่วมชั้น และการกระทำเมื่อต้องอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่นโดยเฉพาะในช่วงระยะเวลาของการเรียนการสอนซึ่งต้องมีการเผยแพร่ผลงานของตนเองสู่สาธารณะชน
- วัดผลจากแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมินจากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรมที่ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมชั้น
                   - ประเมินพฤติกรรมการรับรู้จากการสอนด้านคุณธรรม จริยธรรม มีนักศึกษาคนใดเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงตนเองและนำข้อมูลหรือคำสั่งและคำเตือนนำไปใช้จริงบ้าง
                   - วัดผลจากผลงานของนักศึกษาทั้งในระหว่างการทำงานและหลังจากมีผลงานสำเร็จแล้วว่ามีการลอกเลียนผลงานของผู้อื่นมากน้อยในระดับใด มีการยอมรับว่าอ้างอิงและให้เครดิตแก่เจ้าของผลงานตัวจริงหรือไม่
ข้อ 1 มีความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา

  ข้อ 2 สามารถคิดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา   ข้อ 3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning)/ CDIO : (Conceiving - Desighing -Implementing –Operating)  เช่นการทำโครงการทางศิลปะ (Project Art) ที่เชื่อมโยงข้อมูลทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วิศวกรรมหรือวิทยาศาสตร์เป็นต้น
                   - มุ่งเน้นการเรียนการสอนที่ใช้ทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเสมอ
                   - จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ
                - ถ่ายทอดความรู้ทั้งในหลักการทางวิชาการและมีความรู้การใช้ทักษะในงานสื่อศิลปะสมัยใหม่ ให้เข้าใจในหลักการสามารถคิดวิเคราะห์วางแผนการสร้างสรรค์งานได้อย่างเป็นระบบ
- ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งช่วงระยะการสร้างผลงานและการมีผลงานที่สำเร็จแล้ว เช่นการทดสอบย่อย เช่นการทำภาพร่างก่อนขยายผลงานจริง การประเมินจากการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
          - สังเกตพฤติกรรมการนำความรู้ที่ได้รับบูรณาการความรู้หรือพัฒนาผลงานศิลปะของนักศึกษาจนเข้าสู่การสร้างสรรค์ศิลปะเฉพาะตนได้มากน้อยเพียงใดโดยต้องคำนึงถึงการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีทางสื่อศิลปะให้มากที่สุด
          - วัดผลจากการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีในทางสื่อศิลปะ ผลงานของนักศึกษามีความเป็นสื่อศิลปะตรงตามจุดประสงค์และคำอธิบายรายวิชาได้ซึ่งความรู้ที่นำมาใช้จะต้องสอดคล้องกับเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆที่สำคัญต่อนักศึกษาจนสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลงานศิลปะเฉพาะตน
ข้อ 1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ข้อ 2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
- ใช้ผลงานที่ผ่านมาของนักศึกษาเก่าเป็นตัวอย่างในการทำงานและการถ่ายทอดข้อมูลตัวอย่างผลงานศิลปินที่เกี่ยวข้องต่อการสร้างผลงานทางสื่อศิลปะ วิเคราะห์กรณีศึกษาในกระบวนการสร้างสรรค์งานสื่อศิลปะสมัยใหม่
                   - การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูลเพื่อนำมาตีความถ่ายทอดเป็นผลงานเฉพาะตน
                   - ให้คำสั่งหรือโจทย์ โดยให้อภิปรายเดี่ยว ร่วมแสดงความคิดเห็น สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผนในการสร้างผลงาน และเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะสมัยใหม่
           - การมอบงานให้นักศึกษาทำโครงการทางศิลปะ (Project Art) ที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา การนำเสนอผลงานตั้งแต่การทำภาพร่าง การทำเอกสารนำเสนอหัวข้อและการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ
- ประเมินและวัดผลตามสภาพจริงจากผลงานที่สำเร็จแล้วของนักศึกษา  
- สังเกตและวัดผลจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งในระหว่างการทำงานและการนำเสนอผลงานที่สมบูรณ์  และการนำเสนองานพร้อมการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและวิพากษ์ผลงานอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ผลงานนักศึกษาที่สมบูรณ์แล้วนักศึกษาต้องสามารถวิเคราะห์จากการตีความทางศิลปะด้วยตนเองได้และมีความสอดคล้องกับผลงานที่สำเร็จแล้ว
- การนำเสนอผลงานต้องมีขั้นตอนและหลักการทางศิลปะมาอ้างอิงและนักศึกษาจะต้องสามารถอธิบายที่มา ความเป็นมา การปรับเปลี่ยนหรือการปรับปรุงพัฒนาผลงานของตนเองได้ทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบเพื่อวัดผลว่านักศึกษาสร้างผลงานด้วยตนเองจริง
ข้อ 1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี

  ข้อ 2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ข้อ 3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม   ข้อ 4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- สร้างกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี การมีมารยาททางสังคมที่ดีเป็นอย่างไร บทบาทที่ดีของการเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนโดยคำนึงถึงการเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และวิธีการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่นอย่างมีมารยาทเป็นเหตุเป็นผล
- มอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันให้นักศึกษาทำหน้าที่เป็นผู้นำและผู้ตาม รู้จักระบบระเบียบการประสานงานกับบุคคลภายนอก  โดยการนำผลงานไปจัดนิทรรศการศิลปะ โดยมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน
- ถ่ายทอดวิชาความรู้ในด้านการนำวิชาที่ศึกษามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เช่น การเข้าร่วมงานประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนและใช้ผลงานสื่อศิลปะมาเข้าร่วมกับชุมชน หรือการสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะในเชิงพัฒนาความรู้เยาวชน เป็นต้น
- ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองานของตนเอง การยอมรับข้อดีข้อเสียในผลงานและนำไปปรับปรุงตามข้อแนะนำของผู้สอนได้
               - สังเกตการกระทำในชั้นเรียนที่มีต่อเพื่อนร่วมชั้นและประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่นการช่วยเพื่อนร่วมชั้นจัดแสดงนิทรรศการศิลปะ การแบ่งพื้นที่การจัดแสดงงานในแต่ละโครงการศิลปะ (Project Art)
               - การประเมินจากผลงานที่สมบูรณ์เพื่อนำเสนองานนั้นมีประเด็นใดที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือทางสังคมและมีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด หรือสอดคล้องกับข้อคิดที่ชวนให้ตระหนักรู้ทางความคิดในประเด็นที่เหมาะสมหรือไม่
ข้อ 1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ข้อ 2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
ข้อ 3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ให้คำสั่งหรือโจทย์การเรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผลความรู้ทางเทคโนโลยี  โดยการใช้ตัวเลขหรือเครื่องมือสื่อสารอื่นๆเพื่อการจัดการข้อมูลอย่างเหมาะสม
                   - ให้ศึกษานอกเวลาค้นคว้ารายงาน สืบค้นแหล่งข้อมูลจากหนังสือและอินเตอร์เน็ต สื่อออนไลน์ที่น่าเชื่อถือต่างๆเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการวิเคราะห์การสร้างสรรค์ผลงานสื่อศิลปะ
                   - ให้โจทย์หรือคำถามที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง โดยมุ่งเน้นให้มีการนำภาษาอังกฤษมาประกอบร่วมกับการใช้ภาษาไทย ในการนำเสนอผลงานสื่อศิลปะของตนเอง
- ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมาอย่างเป็นระบบ การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม  
         - ประเมินและวัดผลจากเอกสารนำเสนอในชั้นเรียนและการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ร่วมกับผลงานสร้างสรรค์สื่อศิลปะของตนเองซึ่งมุ่งเน้นให้มีการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ข้อ 1 มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ข้อ 2 มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด ข้อ 3 สามารถสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม ข้อ 4 สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน ข้อ 5 มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
                   - ให้ข้อมูลและถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้วัสดุอุปกรณ์ทางสื่อศิลปะให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย โดยเฉพาะอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ของมีคมอันตรายที่ตามมาต่างๆ รวมถึงเมื่อเกิดอุบัติเหตุต้องมีการจัดการหรือการปฏิบัติตัวเบื้องต้นอย่างไรให้เหมาะสม
                   - ให้คำสั่งหรือโจทย์การทำงานก่อนการขยายผลงานจริงคือการทำภาพร่างหรือการทำโมเดล (Model Art) ซึ่งในสื่อศิลปะจะมีการใช้โปรแกรมช่วยเหลือการสร้างภาพร่างและการทำโมเดลต่างๆเช่นโปรแกรมดังต่อไปนี้ Sketchup, Adobe Photoshop, Adobe Iiilustrate etc. อย่างไรก็ตามขั้นตอนของการทำภาพร่างสื่อศิลปะจะมุ่งเน้นการวาดภาพด้วยมือและจึงพัฒนาสู่การทำภาพทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ ก่อนการขยายเป็นผลงานจริง
                   - ให้นำเสนอเทคนิคเฉพาะทางที่นักศึกษาแต่ละคนถนัดเพื่อนำมาสร้างเป็นผลงานจริง และผลงานสร้างสรรค์ต้องมีความเป็นสื่อศิลปะและมีความเฉพาะตัวอย่างโดดเด่น
                   - สอนให้นักศึกษารู้จักวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อผลงานต้องมีการปรับเปลียนหรือปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่หรือวัสดุที่ใช้เนื่องจากผลงานสื่อศิลปะ มักจะเกี่ยวข้องกับการใช้บริบทของพื้นที่
                   - ให้นักศึกษานำเสนอผลงานที่มุ่งเน้นการใช้ทักษะทางสื่อศิลปะสร้างสรรค์ในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว หากต้องมีการอ้างอิงผลงานศิลปินตัวอย่างนั้นนักศึกษาต้องสามารถวิเคราะห์และตีความได้ว่านำส่วนใดมาอ้างอิงและพัฒนามาจนเป็นผลงานของตนเองได้อย่างไร
                     - สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการใช้วัสดุอุปกรณ์ทางสื่อศิลปะให้มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย โดยเฉพาะอุปกรณ์ในการทำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไฟฟ้า การใช้อุปกรณ์ของมีคมอันตรายที่ตามมาต่างๆ รวมถึงเมื่อเกิดอุบัติเหตุนักศึกษามีการจัดการหรือการปฏิบัติตัวเบื้องต้นอย่างไรให้เหมาะสมตามคำแนะนำหรือไม่
                   - ประเมินและวัดผลจากผลงานภาพร่างก่อนการขยายผลงานจริงที่เป็นไปตามขั้นตอนของการทำภาพร่างสื่อศิลปะที่มุ่งเน้นการวาดภาพด้วยมือและพัฒนาสู่การทำภาพทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ ก่อนการขยายเป็นผลงานจริง
                   - ประเมินผลจากการนำเทคนิคเฉพาะทางที่นักศึกษาแต่ละคนถนัดเพื่อนำมาสร้างเป็นผลงานจริงมาใช้เป็นผลงานสร้างสรรค์โดยมีความเป็นสื่อศิลปะและมีความเฉพาะตัวอย่างโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ได้มากน้อยเพียงใด
                   - สังเกตพฤติกรรมวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าของนักศึกษาเมื่อผลงานต้องมีการปรับเปลียนหรือปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่หรือวัสดุที่ใช้
                   - วัดผลและประเมินผลจากการที่นักศึกษานำเสนอผลงานที่มุ่งเน้นการใช้ทักษะทางสื่อศิลปะสร้างสรรค์ในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เมื่ออ้างอิงผลงานศิลปินตัวอย่างสามารถตอบคำถามผู้สอนและสามารถวิเคราะห์และตีความได้ว่านำส่วนใดมาอ้างอิงและพัฒนามาจนเป็นผลงานของตนเองได้อย่างถูกต้อง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ข้อ 1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรม ข้อ 2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ ข้อ 3 มีวินัย ขยันอดทนตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม ข้อ 4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ข้อ 1 มีความรู้ทั้งด้านทฤษฎีและหักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา ข้อ 2 สามารถคิดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา ข้อ 3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ข้อ 1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ข้อ 2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ ข้อ 1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ข้อ 2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ 3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม ข้อ 4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม ข้อ 1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม ข้อ 2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม ข้อ 3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ 1 มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย ข้อ 2 มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด ข้อ 3 สามารถสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม ข้อ 4 สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน ข้อ 5 มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
1 41015406 สื่อศิลปะ 5
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คะแนนผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม - วัดผลจากแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา ประเมินจากผลการ ดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมิน จากการสังเกตพฤติกรรม การตรงเวลา ในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วม กิจกรรมที่ไม่เอาเปรียบเพื่อนร่วมชั้น - ประเมินพฤติกรรมการรับรู้จากการสอนด้าน คุณธรรม จริยธรรม มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงตนเอง นำข้อมูลหรือคำสั่งและ คำเตือนนำไปใช้จริง - วัดผลจากผลงานทั้งในระหว่างการทำงาน และหลังจากมีผลงานสำเร็จแล้ว มีการลอก เลียนผลงานของผู้อื่นมากน้อยในระดับใด มี การยอมรับว่าอ้างอิงและให้เครดิตแก่ เจ้าของผลงานตัวจริงหรือไม่ 1-8, 10-16 10%
2 คะแนนด้านความรู้ - ประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้จดจำ ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ - สังเกตพฤติกรรมการนำความรู้ที่ได้รับจาก การเรียนการสอนได้ครบถ้วนมากน้อย เพียงใด - วัดผลจากการใช้ความรู้ทางเทคโนโลยี ในทางสื่อศิลปะ ตรงตามจุดประสงค์และ คำอธิบายรายวิชาได้ 9, 18 20%
3 คะแนนด้านทักษะทางปัญญา - ประเมินและวัดผลตามสภาพจริงจาก ผลงานที่สำเร็จแล้วอย่างสมบูรณ์ - สังเกตและวัดผลการปฏิบัติงานทั้ง ใน ระหว่างการทำงานและการนำเสนอ ผลงานที่สมบูรณ์ มีการนำเสนองาน วิพากษ์ผลงานอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ผลงานที่สมบูรณ์ต้องสามารถวิเคราะห์จาก การตีความทางศิลปะตามหลักวิชาการ มีความสอดคล้องกับผลงานที่สำเร็จแล้ว - การนำเสนอผลงานต้องมีขั้นตอนและ หลักการทางศิลปะมาอ้างอิง สามารถ อธิบายที่มาความเป็นมาต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงพัฒนาอย่าง มีประสิทธิภาพ อธิบายทุกขั้นตอนอย่างเป็น ระบบเพื่อวัดผลการสร้างผลงานเกิดขึ้นจาก ความสามารถที่แท้จริง 1-8, 10-16 10%
4 ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกใน การนำเสนองานของตนเอง การยอมรับข้อดี ข้อเสียในผลงาน นำไปปรับปรุงตาม ข้อแนะนำของผู้สอนได้ - สังเกตการกระทำในชั้นเรียนที่มีต่อเพื่อน ร่วมชั้นและประเมินจากพฤติกรรมที่ แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น การช่วยเพื่อนร่วมชั้นจัดแสดงนิทรรศการ ศิลปะ การแบ่งพื้นที่การจัดแสดงงานในแต่ ละโครงการศิลปะ (Project Art) - การประเมินจากผลงานที่สมบูรณ์เพื่อ นำเสนองานนั้นมีประเด็นใดที่เกี่ยวข้องกับ การช่วยเหลือทางสังคมและมีความ เหมาะสมมากน้อยเพียงใด หรือสอดคล้อง กับข้อคิดที่ชวนให้ตระหนักรู้ทางความคิดใน ประเด็นที่เหมาะสมหรือไม่ 1-8, 10-16 5%
5 คะแนนด้านทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ - ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลที่ วิเคราะห์ออกมาอย่างเป็นระบบ การ เลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างเหมาะสม - ประเมินและวัดผลจากเอกสารนำเสนอใน ชั้นเรียนและการใช้ข้อมูลเทคโนโลยี สารสนเทศมาปรับใช้ร่วมกับผลงาน สร้างสรรค์สื่อศิลปะของตนเองซึ่งมุ่งเน้นให้มี การใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม 1-8, 10-16 5%
6 คะแนนด้านทักษะพิสัย - สังเกตพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้วัสดุอุปกรณ์ ทางสื่อศิลปะให้มีประสิทธิภาพและ ปลอดภัย หากเกิดอุบัติเหตุต้องมีการ จัดการหรือการปฏิบัติตัวเบื้องต้นอย่างไรให้ เหมาะสมเป็นไปตามคำแนะนำหรือไม่ - ประเมินและวัดผลจากผลงานภาพร่างก่อน การขยายผลงานจริง การพัฒนาสู่การทำ ภาพทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ ก่อนการ ขยายเป็นผลงานจริง - ประเมินผลจากการนำเทคนิคตามความ ถนัดเฉพาะทางแต่ละคน นำมาสร้างเป็น ผลงานสมบูรณ์โดยสอดคล้องกับเทคนิคทาง สื่อศิลปะให้มีความเฉพาะตัวอย่างโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ได้มากน้อยเพียงใด - สังเกตพฤติกรรมวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าเมื่อผลงานต้องมีการปรับเปลี่ยนหรือ ปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และวัสดุที่ใช้ - วัดผลและประเมินผลจากการนำเสนอ ผลงานที่มุ่งเน้นการใช้ทักษะทางสื่อ ศิลปะสร้างสรรค์ในรูปแบบที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะตัว เมื่ออ้างอิงผลงานศิลปินตัวอย่าง สามารถตอบคำถามผู้สอนและสามารถ วิเคราะห์และตีความได้ว่านำส่วนใดมา อ้างอิงและพัฒนามาจนเป็นผลงานของ ตนเองได้อย่างชัดเจนถูกต้อง 1-8, 10-16 50%
กรมวิชาการ. 2544. ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
กรมวิชาการ. 2544. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
กรกฎ ใจรักษ์. 2018. โรงมหรสพแห่งการจับจ้อง. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก https://www.tci- thaijo.org/index.php/fineartsJournal
กาญจนา นาคสกุล. 2552. เอกลักษณ์กับอัตลักษณ์. สืบค้น 24 มีนาคม 2562. จาก https://www.tci-          thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/download/58858/48905/
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 2557. การจัดการองค์ความรู้เทคนิคการเผยแพร่ ผลงานสร้างสรรค์. สืบค้น 22 มีนาคม 2562. จาก http://bkkthon.ac.th/home/user_files /post/post-491/files/15-6-58(1).pdf
จริยา เลิศอรรฆยมณี. 2552. เทคนิคการนำเสนอที่ดี. สืบค้น 20 มีนาคม 2562. จาก https://www.tci-          thaijo.org/index.php/simedbull/article/view/81962/65172
ชาญ ชัยพงศ์พันธุ์. 2008. Sound Art ศิลปะแห่งเสียง: ประวัติและความเป็นมา. สืบค้น 21 มีนาคม     2562. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/download/77708/62327/
ชนกพร พัวพัฒนกุล. 2558. การเขียนรายงานทางวิชาการ. สืบค้น 20 มีนาคม 2562. จากhttp://www.la.mahidol.ac.th/course/lath100/wp-content/uploads/2016/02/AcademicWriting02.pdf
ชัยลิขิต สร้อยเพชรเกษม. 2558. หลักการทดลอง. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก http://www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/experimental2.pdf
ซิลเวีย มาติน. 2552. วิดิโออาร์ต. สมพร วาร์นาโด แปล. เชียงใหม่ไฟน์อาร์ต
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. 2556. การประเมินผลจากการชมภาพยนตร์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจของนิสิต ปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยงบประมาณ รายได้มหาวิทยาลัยประจำปี พ.ศ. 2556.
จักรพันธ์ วิลาสินีกุล. 2544. พลังแห่งการวิจารณ์.   สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น
ถนอม ชาภักดี. 2557. การสร้างสรรค์สื่อเรื่อง กระบวนการวิจารณ์ทัศนศิลป์ในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ.   2530-2550; ภายใต้บริบทของโลกาภิวัฒน์ และโลกศิลปะ. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จากhttp://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/45898/1/5286807035.pdf
ทักษิณา สุขพัทธี. 2560. รูปแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะนิทรรศการ. สืบค้น 24 มีนาคม    2562. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/view/97741
ทักษิณา พิพิธกุล. 2016. สุนทรียศาสตร์กับศิลปะ: จากการเสนอภาพตัวแทนถึงสุนทรียะเชิงสัมพันธ์.     สืบค้น 24 มีนาคม 2562. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/ download/ 99305/77176/
ทักษิณา พิพิธกุล. 2561. การศึกษาแนวทางการใช้สื่อประกอบนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยเพื่อถ่ายทอด    ความรู้ จากนิทรรศการให้กับคนพิการทางการเห็น. สืบค้น 24 มีนาคม 2562. จาก https://tci-          thaijo.org/index.php/rpu/article/download/144129/106647/
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. 2552. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia technology).  กรุงเทพมหานคร: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ บจก. และทฤษฏีการออกแบบสื่อ กระบวนวิชาสื่อวีดีทัศน์และ โทรทัศน์
นิพนธ์ จิตต์ภักดี. 2523. การสอนแบบสร้างสรรค์. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก http://www.nana-          bio.com/Research/image%20research/research%20work/ceative%20thinking/creativee%20thinking05.html
น้ำทิพย์ วิภาวิน. 2552. การรู้เรื่องการอ่าน การรู้ สารสนเทศและการรู้เท่าทันเทคโนโลยี. วารสารศาสตร์ มศว.
น้ำทิพย์ วิภาวิน. 2551. การสร้างแรงบันดาลใจ. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จากhttp://edu.pbru.ac.th/work/วิจัยอมรรัตน์_ชื่อโครงการ.pdf.
นภ คงดี. 2017. ซุปเปอร์ฮีโร่แห่งล้านนา. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/116057
บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. 2544. ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาหนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
บุญเหลือ ทองอยู่. 2521. ความคิดสร้างสรรค์. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก http://www.nana-          bio.com/Research/image%20research/research%20work/ceative%20thinking/creativee%20thinking05.html
ปรียา หิรัญประดิษฐ์. 2019. หลักการเขียนที่ดี. สืบค้น 20 มีนาคม 2562. จาก http://laws.anamai.moph.go.th/download/slide/Training_writer1.4.doc
ประสิทธิ์ ตงยิ่งศริ. 2545. การวางแผนและการวิเคราะห์โครงการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พจน์ ใจชาญสุขกิจ. 2010. The Power of Inspiration การสื่อสารเพื่อสร้างพลังแห่งแรงบันดาลใจของ ผู้นำ. สืบค้น 20 มีนาคม 2562. จาก http://www.drphot.com/images/journal/2553/ceo_tips/Article_inspiration_communicate20%20Jan%202010.pdf
ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์. 2560. อะไร (แม่ง) ก็เป็นศิลปะ: ชาติ…หน้า ศิลปะเชิงทดลองที่ว่าด้วย  แรงสั่นสะเทือน. มติชนสุดสัปดาห์ออนไลน์. สืบค้น 23 มีนาคม 2562. จาก  https://www.matichonweekly.com/column/article_69340
ภัทรภร ฐิติชาญชัยกุลา. 2019. การวิเคราะห์ทฤษฎีทางศิลปวิจารณ์ ระหว่างทฤษฎีการวิจารณ์ อย่าง    สุนทรีย์ของราล์ฟ สมิธ กับ ทฤษฎีศิลปะวิเคราะห์ ของเอ็ดมันด์ เบิร์ก เฟลด์แมน เพื่อการ     จัดการเรียนการสอนศิลปวิจารณ์. สืบค้น 20 มีนาคม 2562. จาก http://journal.pbru.ac.th /admin/upload/article/4887-2019-04-03.pdf
ภูเบศร์ สมุทรจักร. 2552. Inspiration พลังแห่งลมหายใจไฟในการทำงาน. สืบค้น 20 มีนาคม 2562.   จาก http://liblog.dpu.ac.th/article/detail01view.php?arid=802
มาร์ค ไทร์บ, รีนา จานา. 2552. นิวมีเดียอาร์ต. สำราญ หม่อมพกุล, วรพจน์ สัตตะพันธ์คีรี แปล. เชียงใหม่ไฟน์อาร์ต
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2011. การสื่อสารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. สืบค้น 20 มีนาคม 2562.   จาก http://elearning.psru.ac.th/courses/153/mko.pdf
ราชบัณฑิตยสภา. โครงการ. 2552. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก http://www.royin.go.th/
ราชบัณฑิตยสภา. อัตลักษณ์. 2550. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก http://www.royin.go.th/
ราชบัณฑิตยสภา. เอกลักษณ์. 2550. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก http://www.royin.go.th/
โรงเรียนสตรีสมุทรปราการ. 2014. การค้นคว้า. สืบค้น 20 มีนาคม 2562. จาก http://km.streesp.ac.th/files/140514099442670_15071310100624.pdf
วุฒิ วัฒนสิน. ประวัติศาสตร์ศิลปะ. กรุงเทพฯ: สิปประภา
วัฒนะ จูทะวิภาต. 2526. การจัดนิทรรศการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กลิ่นแก้ว
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2019. ระเบียบการวิเคราะห์ ขอบข่ายและวัตถุประสงค์.     สืบค้น 20 มีนาคม 2562. จาก https://km.opsmoac.go.th/download/file_upload/05Analysis.doc
สมพร รอดบุญ. 2554. ศิลปะกับปฏิสัมพันธ์ของผู้ดู. บทความตีพิมพ์ในสูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 57.
สมพร รอดบุญ. 2552. เนื้อหาความรู้ด้านศิลปะ. เอกสารประกอบการสอนวิชาเรียนทฤษฎีศิลปะ.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธณ์. 2537. เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สิริชัย ดีเลิศ. 2013. อัตลักษณ์แห่งตัวตนในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในมุมมองของอาจารย์กลุ่มศิลปะ         ในมุมมองของอาจารย์กลุ่มศิลปะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัย    ศิลปากร เพชรบุรี. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก e-journal https://www.tci-thaijo.org/
 index.php/Veridian-E-Journal/article/download/31170/26839/+&cd=1&hl=en&ct=clnk&gl=th
สุริวัสสา หิรัญรัตนศักดิ์. 2557.  นิทรรศการศิลปะในชุมชนจังหวัดราชบุรี. สืบค้น 20 มีนาคม 2562. จาก           http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/bachelor/p52557001/ fulltext.pdf
สุเมธ ยอดแก้ว. 2017. สุนทรียภาพแห่งสภาวะอารมณ์. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จากhttps://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/115917
ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้. 2015. การอ่าน. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก https://libraryswpk.files.wordpress.com/2015/08/8-5.pdf
อธิปัตย์ คลี่สุนทร. 2013. การเขียนโครงการ. สืบค้น 21 มีนาคม 2562. จาก https://www.tci- thaijo.org/index.php/psru/article/view/16982
อารี พันธ์มณี. 2537. ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.
อาร์ตแอนด์ดีไซส์. 2018. วิถีแห่ง ‘วะบิ-ซะบิ’ ความงามที่มีรอยตำหนิและกาลเวลาเป็นกัลยาณมิตร.     สืบค้น 24 มีนาคม 2562. จาก https://themomentum.co/wabi-sabi/      
อารยา ราษฎร์จำเริญสุข. 2539. การประเมินคุณค่าศิลปะ ที่ไหน เมื่อไหร่ โดยใคร ประเด็นไหน และเพื่อ อะไร?.  กรุงเทพธุรกิจ (จุดประกาย). สืบค้น 22 มีนาคม 2562.  จาก http://www.artbangkok.com/?p=6074
อิศรา ชื่นสุขเกษมวงศ์, พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช. 2560. การจัดการนิทรรศการศิลปะร่วมสมัย กรณีศึกษา   รยางค์สัมพันธ์. สืบค้น 22 มีนาคม 2562. จาก http://203.131.210.100/ejournal/wp-content/uploads/2017/12/JCIS60063.pdf
อิทธิเทพสวรรค์ กฤดากร. 2476. พลังแห่งการวิจารณ์. สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น
เอส.เอส.อนาคามี. 2555. พลังสร้างสรรค์ จากแรงบันดาลใจ. สำนักพิมพ์ สยามมิส พับลิชชิ่ง เฮ้าส์.
E.L, Deci/ R.M, Ryan. 1985. Intrinsic Motivation and Self-Determination in HumanBehavior. New York: Springer Science.
Ekim, Berna. 2011. A Video Projection Mapping Conceptual Design and Application:    YEKPARE. Retrieved March 21, 2019, from https://www.academia.edu/534617/A_Video_Projection_Mapping_Conceptual_Design_and_Application_YEKPARE
Format Team. 2018. How to Promote your art. Retrieved March 21, 2019, from https://www.format.com/magazine/resources/art/how-to-promote-your-art
Gonzalez/ Metzler/ Newton. 2011. The Influence of a Simulated ‘Pep Talk’ on Athlete Inspiration, Situational Motivation, and Emotion. International Journal of Sports Science & Coaching. 6 (3) 2, 445-459. Retrieved March 20, 2019, from           https://www.researchgate.net/publication/274240979_The_Influence_of_  a_Simulated_'Pep_Talk'_on_Athlete_Inspiration_Situational_Motivation_and_Emotion
Kuo , Chen-Wo/Lin, Chih-ta/ Wang, Michelle C. 2016. New Media Display Technology     and Exhibition Experience A Case Study from the National Palace Museum.  Retrieved March 20, 2019, from https://pdfs.semanticscholar.org/1eed/509dc8bda842829457650cec297954bb14f2.pdf
Martin, Sylvia. 2006. Video Art. Basic art series Taschen's 25th Anniversary Special Editions.
Mccarthy, Kevin F/ Ondaatje, Elizabeth Heneghan. 2001. The Chapter: development of   media art: Celluloid to cyberspace. Retrieved March 23, 2019, fromhttps://apps.dtic.mil/dtic/tr/fulltext/u2/a411844.pdf
Smith, Kathryn. 2001. A four-volume revisionist anthology of South African art.  Chapter four- The experimental turn in the visual art. Retrieved March 21, 2019,     from https://www.academia.edu/9404121/The_Experimental_Turn_in_the_Visual_Arts
T. M, Thrash/ A. J, Elliot. 2003. Inspiration as a Psychological Construct, Journal ofPersonality and Social Psychology. Journal of Personality and Social Psychology. Retrieved March 22, 2019, from https://www.researchgate.net  /publication/10796715_Inspiration_as_a_Psychological_Construct
T. M, Thrash/ A. J, Elliot. 2004. Inspiration: Core Characteristics, Component       Processes, Antecedents, and Function. Journal of Personality and Social      Psychology. 87, 957-973. Retrieved March 22, 2019, from           https://www.researchgate.net/publication/8132056_Inspiration_Core_Characteristics          _Component_Processes_Antecedents_and_Function
T. M, Thrash/ A. J, Elliot. 2010. Inspiration and the Promotion of Well-Being: Tests of    Causality and Mediation. Journal of Personality and Social Psychology. 98, 488-   506. Retrieved March 22, 2019, from https://www.researchgate.net/publication
/41531119_Inspiration_and_the_Promotion_of_Well_Being_Tests_of_Causality_and  _Mediation
Tribe, Mark /Jana, Reena. 2009. New Media Art. Basic art series Taschen's 25th     Anniversary. Special Editions..
Stokstad, Marilyn. 2001. Art History. London
Zagalo, Nelson Troca/ Branco, Pedro Sérgio/ Marcos, Adérito Fernandes. 2009. The          creation process in Digital art. Springer Science+Business Media, New Yok.  Retrieved March 24, 2019, from https://www.researchgate.net/publication/227244741_The_Creation_Process_in_Digital_A
- บทความทางศิลปะที่เกี่ยวข้องกับสื่อศิลปะ
- ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสื่อศิลปะ
- หนังสือสูจิบัตรการจัดแสดงนิทรรศการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ผลงานโครงงานของนักศึกษารุ่นก่อนเพื่อนำเป็นตัวอย่างให้กับนักศึกษาปัจจุบัน
              3.1 วารสารศิลปะ
          - Art 4D Magazine
          - Aesthetica - The Art and Culture Magazine
          - Anatomy for 3d Artist The essential guide for professional Book
          - The Professional Photoshop Book
          - Media Art School Arts Collection Book
          - ImageFX Magazine
          - Artists Magazine
          - Art & Beyond Magazine
          - Art & Electronic Media
3.2 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานสร้างสรรค์ศิลปะ
          http://www.deviantart.com
http://www.artdaily.org
http://www.interartcenter.net
http://www.artbubble.org
http://www.theartsmap.com
http://www.aestheticamagazine.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา การสอบถามความพึงพอใจในการปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนด การให้ข้อแนะนำหรือตอบปัญหาข้อซักถามกับนักศึกษาเพื่อการพัฒนารายวิชาในปีถัดไป
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์การสอนของผู้ร่วมทีมสอนและสลับกับทีมสอนในการประเมินผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา ค่าน้ำหนักของการให้เกรด เหตุผลการให้ระดับเกรดรายบุคคล
2.3   ผลการทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
2.4   ผลการประเมินจากผู้ชมในการจัดแสดงนิทรรศการของนักศึกษาสื่อศิลปะในแต่ละปี
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   ทีมผู้สอนจัดสัมมนาการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในปีต่อไป
3.2   นำผลงานวิจัยสร้างสรรค์ในแต่ละปีมาประกอบการเรียนการสอน
3.3   นำบทความที่เกี่ยวข้องการรายวิชาที่มีการปรับข้อมูลเก่าให้เป็นข้อมูลปัจจุบันที่ทันสมัย
3.4   ปรับปรุงวิธีการสอนให้เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
3.5   บันทึกหรือจัดเก็บข้อมูลที่ผ่านมาเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาการปรับปรุงการเรียน    
           การสอนในปีต่อไป
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
           4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
           4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
           4.3 มีการทำรายงานการทวนสอบเพื่อให้คณะกรรมการหลักสูตรพิจารณาผลงานการทวนสอบอย่างเป็นระบบซึ่งภายในรายงานจะประกอบด้วยผลการประเมินจากนักศึกษา ผลการประเมินตนเองและเนื้อหาการทวนสอบรายวิชาสำหรับให้กรรมการหลักสูตรตรวจสอบต่อไป
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   การเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาให้ความรู้เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้
          หรือรู้จักการบูรณาการความรู้ของตนเองให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
5.3   การนำข้อแนะนำทั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษาจากภายในและภายนอก รวมถึงข้อแนะนำจาก                                      
          คณะกรรมการหลักสูตรและข้อแนะนำของศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบันมาปรับปรุง
5.4   นำเอาผลงานวิจัยหรือบทความทางวิชาการของผู้สอนในแต่ละปีมาถ่ายทอดให้กับนักศึกษาและปรับ
          ให้เข้ากับการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทั้งศักยภาพของผู้สอนและนักศึกษา
5.5   นำเอาผลการประเมินการทวนสอบเพื่อมาจัดทำแผนการปรับปรุงการเรียนการสอนในแต่ละปีโดย 
         การจัดให้ทีมผู้สอนสัมมนาหรือประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน