กระบวนการผลิต

Manufacturing Processes

รู้เกี่ยวกับขั้นตอนของกระบวนการผลิต รู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตขั้นพื้นฐาน เข้าใจการแปรรูปด้วยวิธีการต่างๆ เข้าใจการประกอบชิ้นส่วนด้วยวิธีต่างๆ รู้ลักษณะและการกระทำของเครื่องมือเครื่องจักรในการผลิต เลือกและใช้เครื่องจักรในการผลิตได้อย่างเหมาะสม
มีจิตสำนึกในการใช้เครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนเห็นความสำคัญของกระบวนการผลิตในลักษณะต่างๆ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านวิชาชีพวิศวกรรมและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เพื่อให้เนื้อหาของหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของตลาด เพื่อส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิต เพื่อเรียบเรียงและจัดเนื้อหาในหลักสูตรเป็นไปตามลำดับความยากง่าย
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวคิดทางกระบวนการผลิต เช่น กรรมวิธีการหล่อ การขึ้นรูปโลหะ การตัดขึ้นรูปด้วยเครื่องมือกล และการเชื่อมประสาน ความสัมพันธ์ของวัสดุกับกระบวนการผลิต การปรับปรุงคุณสมบัติของโลหะด้วยความร้อนเช่น โลหะกับการขึ้นรูป พอลิเมอร์กับการขึ้นรูป หลักมูลของการประเมินราคาทางด้านกระบวนการผลิต Study of theory and concept of manufacturing processes such as casting, forming,machining and welding; material and manufacturing processes relationships; fundamental of manufacturing cost.
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
 
อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา มอบหมายงานกลุ่มและนำเสนอผลงาน
สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่นการเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์สื่อสาร เป็นต้น
1.3.1 ประเมินผลจากการเข้าเรียน 1.3.2 ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตและตรงเวลา 1.3.3 สังเกตพฤติกรรมการตอบข้อซักถามและการยกตัวอย่างเปรียบเทียบใน ด้านการรักษากฎระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคมองค์กรให้เห็นความมีคุณค่า มีเกียรติ รู้สึกภูมิใจในตนเองและสถาบัน
 
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ 2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.1.4 สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้  
2.2.1 บรรยายหลักการ ทฤษฎี ตามคำอธิบายรายวิชา อภิปรายระหว่างอาจารย์และนักศึกษา 2.2.2 ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานวัสดุวิศวกรรมเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น 2.2.3 มอบหมายงานเป็นกลุ่ม 2.2.4 สรุปเนื้อหาบทเรียน
2.3.1 ตรวจแบบฝึกหัด ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาคด้วยข้อสอบ
3.1.1 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.2 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
 
3.2.1 มอบหมายงาน 3.2.2 เชิญวิทยากรมาบรรยาย
3.3.1 พิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย 3.3.2 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม 4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.2.1 มอบหมายงานให้ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม, รายบุคคล และมีการนำเสนองานแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น
4.3.1 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย 4.3.2 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและการนำเสนอผลงาน
 
5.1.1 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.2 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ การวัดมาตรฐานนี้อาจทำได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา และให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียน อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา
 
5.2.1 นำเสนอผลงานในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.3 อธิบายวิธีการใช้เครื่องคำนวณในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
5.3.1 ผลจากการประเมินการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.3.2 ผลจากการสังเกตพฤติกรรม ในการอภิปรายกลุ่มโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 4 3 1 4 3 2
1 ENGIE102 กระบวนการผลิต
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 จิตพิสัย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็น ตลอดภาคเรียน 10
2 งานกิจกรรมในชั้นเรียน การทำงานกลุ่ม ตลอดภาคเรียน 15
3 สอบกลางภาค 8 35
4 สอบปลายภาค 17 40
เอกสารประกอบการสอนวิชากระบวนการผลิต เรียบเรียงโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์มนูญ เทพกิจอารีกุล สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 
กุณฑล ทองศรี, กรรมวิธีการผลิต, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร, คณะวิศวกรรมเทคโนโลยีการเษตร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2547 จารุวรรณ ทวยมาตร, ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม, 2545 รศ.ดร.วันชัย ริจิรวนิช, การเพิ่มผลผลิตในอุตสาหกรรม, สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 วารี เนื่องจำนงค์, คอนเซป เคมี, สำนักพิมพ์แมค์, กรุงเทพมหานคร, 2540 มานพ ตันตระบัณฑิตย์, กรรมวิธีการผลิต, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น), 2539 สาคร คันธโชติ, กรรมวิธีการผลิต, สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2536 ดร.หริส สูตะบุตรและคณะ, หล่อโลหะ, สำนักพิมพ์ดวงกมล จำกัด, 2521 Mikell P. Groover, Fundamentals of Modern Manufacturing : Materials, Processes and Systems, Prentice-Hall International Inc., USA, 1996 Serope Kalpakjian, Manufacturing Engineering and Technology, Addison-Wesley Publishing Company, New York, 1995 David L. Goetsch, Modern Manufacturing Processes, Delmar Publishers, New York, 1991 Benjamin W. Niebel, Alan B. Draper and Richard A. Wysk, Modern Manufacturing Processes Engineering, McGraw-Hill, New York, 1989 B. H. Amstead, Phillip F. Ostwald and Myron L. Begeman, Manufacturing Processes, John Wiley & Sons, Singapore, 1986 Dave Smith, Welding Skills and Technology, McGraw-Hill, Singapore, 1986 Gower A. Kennedy, Welding technology, Howard W. Sams & Co.Inc.,Indianapolis, 1976.
ไม่มี
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ โดยให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายรายวิชาวัตถุประสงค์เนื้อหารายวิชาการประเมินผลการเรียน ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวลผล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้ ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน การพัฒนารายวิชาผ่าน Web board ของสาขาวิชา
การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
ประเมินผลโดยคณะวิชาแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตาม PM-14
อาจารย์ผู้สอนประเมินผลการสอนของตนเอง โดยดูจากพฤติกรรมการเรียนและผลการสอบของนักศึกษา
สัมมนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น การวิจัยในและนอกชั้นเรียน จัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่ สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา ปรับปรุงรายละเอียดของเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยทุก ๆ 3 ปี
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชาทุกปี ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 ตรวจสอบข้อสอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ วิเคราะห์ความยากง่ายของข้อสอบ รวมทั้งศึกษาดูงานในมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อเพิ่มกลยุทธ์ให้อาจารย์ผู้สอน