ภาษาอังกฤษเพื่อจุดมุ่งหมายทางวิชาการ

English for Academic Purposes

เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การพูด การฟัง และการเขียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวิชาการ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้  ความเข้าใจภาษาอังกฤษในการเขียนบทความ บทคัดย่อ รายงานวิชาการ รวมทั้งการนำเสนอและอภิปรายบทความทางวิชาการภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม    
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการอ่าน การพูด การฟัง และการเขียนภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวิชาการ ให้สอดคล้องกับแนวโน้มสภาพสังคมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 ศึกษาและฝึกทักษะการอ่าน การพูด การฟัง และการเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ
Study and practice reading speaking listening and writing English skills for academic purposes
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  กำหนดเวลาในการให้คำปรึกษา
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1   คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ“ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2  วิธีการสอน
1.2.1 จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
1.2.2 สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
1.2.3 สร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ขยัน อดทน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
1.2.4 ส่งเสริมให้นักศึกษารับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม ยกย่องและเชิดชูผู้ที่ทำความดีและเสียสละ
1.3  วิธีการประเมินผล
1.3.1 การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่มและการส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย
1.3.2 การเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2.1 ความรู้ที่ต้องพัฒนา
        2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
        2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการเเละเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
        2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
        2.1.4 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการสอน

    2.2.1 จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนี้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ
    2.2.2  จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง
    2.2.3  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป ได้แก่

การฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาในการพูด การฟัง และการเขียนภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในชั้นเรียน

การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนจากสื่อเทคโนโลยีต่างๆเช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากสื่อมัลติมีเดียในบทเรียนออนไลน์ Quartet Scholar หรือ Tell Me More
วิธีการประเมินผล

   2.3.1   การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
   2.3.2   ทดสอบการฝึกปฏิบัติการเขียนภาษาอังกฤษ การนำเสนองานและการอภิปราย
   2.3.3   ผลงานจากการค้นคว้าและทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนจากสื่อเทคโนโลยีต่างๆ
            2.3.4   การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
     3.1  ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
            3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ
            3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
            3.1.3   มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์
                      และวัฒนธรรมสากล
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ  การเรียนการสอนกับการทำงานเชิงวิชาการ
3.2.2 จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบจากกรณีศึกษา
3.2.3 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติผ่านทางบทบาทสมมติในการรายงานและการนำเสนองาน
3.3  วิธีการประเมินผล
            3.3.1  ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษาในการเขียนรายงานการนำเสนองานและการอภิปราย
            3.3.2   การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่างๆ
            3.3.3   การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
           4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
           4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
            4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
           4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
วิธีสอน

     4.2.1   สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
     4.2.2   จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
     4.2.3   จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
    4.2.4   มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
วิธีการประเมินผล

4.3.1   การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
4.3.2   ทดสอบการฝึกปฏิบัติการเขียนภาษาอังกฤษ การนำเสนองานและการอภิปราย
4.3.3   ผลงานจากการค้นคว้าและทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนจากสื่อเทคโนโลยีต่างๆ
         4.3.4   การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
        5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
        5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
        5.1.3 สามารถใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
     5.2  วิธีสอน
        5.2.1 สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
        5.2.2 จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา
        5.2.3 จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
5.3  วิธีการประเมินผล
       5.3.1 จากการทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
       5.3.2 จากผลงานของนักศึกษาจากงานที่ได้รับมอบหมาย
       5.3.3 จากพฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาของนักศึกษาเพื่อสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. การตรงเวลาในการเข้าชั้นเรียน และการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนของนักศึกษา 2. พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของนักศึกษาระหว่างการเรียน นักศึกษาได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย ผลงานจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียนจากสื่อเทคโนโลยีต่างๆ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในการสื่อสารจากสถานการณ์ที่หลากหลาย ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการในการสื่อสารจากสถานการณ์ที่หลากหลาย จิตพิสัย การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองทดสอบย่อย Unit 1, 2 and 3 การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองทดสอบย่อย Unit 4, 5 and 6 สอบกลางภาค Unit 1-3 สอบปลายภาค Unit 4-6 ตลอดภาคการศึกษา 1. การตรงเวลาในการเข้าชั้นเรียน และการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนของนักศึกษา 10% 2. พฤติกรรมและความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการของนักศึกษาระหว่างการเรียน นักศึกษาได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเช
- Dublicka, Iwonna and Margaret O’Keeffe. English for International Tourism: Pearson Education Limited, 2003.
- Harrington, David and Charles Lebeau. Speaking of Speech Basic Presentation Skills for Beginners, 1996.
- Sarah Philpot. Academic Skills. Reading, Writing, and Study Skills: Oxford University Press, 2011.
- Sarah Philpot. Academic Skills. Listening, Speaking, and Study Skills: Oxford University Press, 2011.
- Susan Stempleski, James R. Morgan and Nancy Douglas. World Link Developing English Fluency. Heinle Cengage Learning, 2011.
 แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากสื่อมัลติมีเดียในบทเรียนออนไลน์
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาและแบบฝึกหัดออนไลน์
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา ดำเนินการดังนี้

นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง


 การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา


ประเมินผลการสอนโดยใช้ระบบออนไลน์
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1 สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
2.2 สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2.3 ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจเนื้อหา
2.4 ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
3.1   ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
3.2   สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและปรับปรุงแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3.3   สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งเพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและรายงานโดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าหรือไม่มี จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบาทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
 การวางแผนการปรับปรุงการสอนและเนื้อหาวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
5.2   มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ๆ และตามความน่าสนใจ
5.3   ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายและสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
5.4  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี