ปฏิบัติงานเชื่อมโลหะสำหรับครูช่างอุตสาหกรรม

Metal Welding Practices for Industrial Professional

ปฏิบัติการสำหรับการเตรียมเป็นครูช่างอุตสาหกรรม เกี่ยวกับความปลอดภัยในงานเชื่อม พื้นฐานงานเชื่อม การเชื่อม’ไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักส์ การตัดและการเชื่อมแก๊ส การเชื่อมด้วยทำเชื่อมชนิดต่าง ๆ การเชื่อมท่อ การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อม ใต้ฟลักสํ และจัดทำชุดการสอนวิชางานเชื่อมโลหะ Practice of industrial professional of safety in welding, fundamentals of welding, shield metal arc welding, gas-cutting and welding, positions of welding, pipe welding, MIG-welding, TIG-welding, submerge arc welding and construction of an instructional package of metal welding.
ปฏิบัติการสำหรับการเตรียมเป็นครูช่างอุตสาหกรรม เกี่ยวกับความปลอดภัยในงานเชื่อม พื้นฐานงานเชื่อม การเชื่อม’ไฟฟ้าด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักส์ การตัดและการเชื่อมแก๊ส การเชื่อมด้วยทำเชื่อมชนิดต่าง ๆ การเชื่อมท่อ การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อม ใต้ฟลักสํ และจัดทำชุดการสอนวิชางานเชื่อมโลหะ Practice of industrial professional of safety in welding, fundamentals of welding, shield metal arc welding, gas-cutting and welding, positions of welding, pipe welding, MIG-welding, TIG-welding, submerge arc welding and construction of an instructional package of metal welding. 
นอกเวลา
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การทำข้อตกลงและกฎเกณฑ์ในการแต่งกาย การเข้าชั้นเรียน การปฏิบัติตนในระหว่างการศึกษา การมอบหมายแบบฝึกหัด การศึกษาวิชาการและงานวิจัยในสื่อ Online พร้อมนำเสนอหน้าชั้นเรียน การศึกษากฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างที่เกี่ยวข้อง มาตรฐานและจรรยาบรรณที่สัมพันธ์กับรายละเอียดเนื้อหาที่สอนตามความที่จำเป็น การมอบหมายการทำงานเป็นกลุ่มในรูปแบบระดมความคิดหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันเพื่อสร้างพื้นฐานนิสัยการยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นๆ การสอดแทรกตัวอย่างประกอบในการนำเทคโนโลยีไปใช้ร่วมกับสังคมและศิลปวัฒนธรรม เช่น บ้าน วัด และสาธารณสถานต่างๆได้อย่างเหมาะสม
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมที่มอบหมาย
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ความตั้งใจและความสนใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสอนโดยการมอบหมายการศึกษาตัวอย่างเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหรือสิ่งที่เรียน โดยให้ผู้เรียนทำการสรุปประเด็นสำคัญและนำเสนอหน้าชั้นเรียน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน การเสนอแนวคิดในการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้กับสภาพแวดล้อมที่สมมติ/สภาพภูมิศาสตร์/สภาพแวดล้อมใกล้เคียง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1 การทดสอบย่อย
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4 ประเมินจากโครงการที่นาเสนอ
2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน และการตอบคำถาม
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ใช้การสอนแบบมอบหมายงานศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้น พร้อมให้แสดงข้อคิดเห็นและตอบข้อซักถาม การยกตัวอย่างข้อปัญหาและให้ประมวลความรู้ที่มีในการปรับใช้เพื่อการแก้ประเด็นปัญหา
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
3.3.1 บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
3.3.2 การเรียบเรียงขั้นตอนและการเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่าง ๆ
3.3.3 การนำเสนอรายงานการค้นคว้า
3.3.4 การทดสอบ/การซักถามระหว่างเรียน/การซักถามระหว่างการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
4.1  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม/การมอบหมายงานค้นคว้าและการนำเสนอ การกำหนดโจทย์ตัวอย่างและให้ระดมสมองเพื่อหาข้อสรุปและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกลุ่ม การสอดแทรกและยกตัวอย่างการประพฤติปฏิบัติที่ดีของนักศึกษาที่ผ่านการฝึกประสบการณ์ครู
การวัดและประเมินผลทำได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น โดยสังเกตจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ความตั้งใจในการนำเสนอผลงาน การประสานความช่วยเหลือจากผู้อื่น
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การยกตัวอย่างข้อปัญหาจากที่พบในเหตุการณ์จำลองแบบรูปต่างรวมถึงการแก้ไขปัญหาหน้างานระหว่างการมอบหมายเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยนำทักษะทางวิชาการ คำนวณ ความเป็นเหตุเป็นผล ความเหมาะสมต่อสภาพงานพร้อมทั้งให้แสดงความเห็นประกอบ
การประเมินผลจากความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล การนำเสนอผลงาน ความถูกต้องและเหมาะสมของเนื้อหา การมีจรรยาบรรณและมารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ความสามารถในการถ่ายทอดหรือแนะนำผู้อื่น
6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม
การมอบหมายให้เข้าร่วมกิจกรรมและงานของหลักสูตรทั้งในและนอกเวลาเรียน การมอบหมายงานค้นคว้าและทดลองเพื่อหาข้อสรุปของปัญหา การระดมกลุ่มเพื่อปฏิบัติงานที่มอบหมาย
มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน ผลการทำงานในภาคปฏิบัติและ/หรือกิจกรรมที่เข้าร่วม การนำความรู้และทักษะไปใช้ในการแก้ปัญหาภายนอกของผู้เรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2 ด้านความรู้ 3 ด้านทักษะทางปัญญา 4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 34014301 ปฏิบัติงานเชื่อมโลหะสำหรับครูช่างอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 8 และ 17 50
2 รายงานกลุ่มพร้อมนำเสนอ - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า - การนำเสนอรายงาน - การทำงานกลุ่มและผลงาน - การอ่านและสรุปบทความ - การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40
3 จิตพิสัย - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
เอกสารประกอบการสอน/คู่มือ/ใบงาน ของอาจารย์ผู้สอน
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3. และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4.  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ