ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ

English for Business Communication

เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้รูปแบบการสื่อสารทางธุรกิจในสถานการณ์ต่างๆ และฝึกทักษะภาษาอังกฤษทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียนที่ใช้ในการสื่อสารภายใต้สถานการณ์นั้น
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสื่อสารทางธุรกิจในสถานการณ์ต่างๆ และได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษทั้งสี่ด้านโดยปรับเนื้อหาให้เป็นปัจจุบันมากขึ้น
ฝึกทักษะภาษาอังกฤษที่ใช้ในธุรกิจทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน ในการติดต่อธุรกิจ เช่น การใช้โทรศัพท์ติดต่อธุรกิจ การสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน และการเขียนจดหมายธุรกิจ เช่น จดหมายสมัครงาน จดหมายสอบถาม เป็นต้น
-   อาจารย์ประจำรายวิชาแจ้งให้ทราบในชั่วโมงแรกของการเรียน และจัดตั้งไลน์กลุ่มเพื่อเป็นช่องทางในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
- มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
- มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- กำหนดงานเป็นกลุ่ม เน้นการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม เน้นความมี ส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น
- อธิบายระเบียบลงโทษผู้ทุจริตการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน
- การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
- การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
- ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
- มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
- จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
- จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
- ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
- การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
- การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
- ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
- มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
- สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
- มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
- พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
- สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
- สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
- สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
- จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา              การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6
1 BBABA739 ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2, 3.1.1, 3.1.2, 3.1.3, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.5, 5.1.2, 5.1.3, 5.1.6 การแสดงบทบาทสมมุติ ตลอดภาคการศึกษา 20
2 2.1.1, 2.1.2, 3.1.1, 3.1.2, 3.1.3, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.5, 5.1.2, 5.1.3, 5.1.6 งานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20
3 2.1.1, 2.1.2 การทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 20
4 2.1.1, 2.1.2 สอบกลางภาคเรียน 8 15
5 2.1.1, 2.1.2 สอบปลายภาคเรียน 17 15
6 1.1.2, 1.1.3 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10
Blackler, J. (2016). Workplace Success 2. Taiwan: Cengage Learning.
Cotton, D., Falvey, D., & Kent, S. (2016). Elementary Market Leader. Third edition extra. England: Pearson Education Limited.
Parisuthiman, S. (2013). Business Communication: A Functional Approach. Ninth edition. Bangkok: Thammasat University Press.
Rimkeeratikul, S. (2007). English for Work. Sixth edition. Bangkok: Thammasat University Press.
-
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง เช่น online dictionaries
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาโดยนักศึกษา (ผ่านระบบการจัดประเมินของมหาวิทยาลัย)
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านระบบการสื่อสารออนไลน์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์ผู้เรียน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3   พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอนโดยการเข้ารับการอบรมสัมมนา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชาดำเนินการโดยคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง โดยแบ่งการประเมินออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3  การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมินตาม มคอ. 3/ มคอ. 5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรดโดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือสาขาวิชา
จากผลการประเมินและการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2 นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ. 5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ. 3 ในครั้งต่อไปโดยอาจารย์ผู้สอน
5.3 นำผลการทวนสอบฯ ไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร