การวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร

Planning and Production Control in Food Industry

1.1  เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและกระบวนการบริหารการผลิตและการบริหารด้านอื่นๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร
1.2  เพื่อให้เข้าใจและสามารถวางแผนกำลังการผลิตและจัดตารางการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารได้
1.3  เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการควบคุมและจัดการปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
1.4  เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการวางแผนและควบคุมการผลิตอาหาร การควบคุมคุณภาพ การบริหารผลิตภาพ ตลอดจนเทคนิคและเครื่องมือในการจัดการกระบวนการการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารได้
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและกิจกรรมให้เหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน และเพื่อเพิ่มเติมสื่อการเรียนการสอนให้เข้ากับตำราเรียน ที่มีตัวอย่างที่ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น
ระบบการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร การพยากรณ์ การควบคุมสินค้าคงคลัง การวางแผน การผลิต การวางแผนความต้องการวัสดุและกําลังการผลิต การจัดสมดุลของสายงานผลิต การจัดลําดับงานและตารางการผลิต การจัดการและควบคุมคุณภาพ การจัดการการผลิตขั้นสูง โลจิสติกส์และโซ่อุปทานอาหาร และการจัดการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน อุตสาหกรรมอาหาร 
อาจารย์ผู้สอน แจ้งเวลาให้นักศึกษามาปรึกษานอกตารางเรียนในครั้งแรกของการเรียนการสอน โดยจัดสรรเวลาให้อย่างน้อย 1 คาบต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม (·)
1.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตาม สามารถทํางานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง ตามลําดับความสําคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์ (o)
1.1.3  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม (·)
1.2.1  กําหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้น เรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2  สอดแทรกและส่งเสริมให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทํางานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นํากลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
1.2.3  สอดแทรกและส่งเสริมให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์โดยต้อง ไม่กระทําการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น
1.2.4  สอดแทรก เรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน
1.2.5  ยกย่องนักศึกษาที่ทําดี ทําประโยชน์แก่ส่วนรวมมีความเสียสละ
1.3.1  ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
1.3.2  ประเมินจากปริมาณการกระทําทุจริตในการสอบและความซื่อสัตย์สุจริตในการทํางานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.3  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.5  ประเมินจากการอภิปรายในห้องเรียนเกี่ยวกับประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ต่างๆ ต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
2.1.1    มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน และวิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมอาหาร (•) 2.1.2    มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สําคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร (•) 2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหารกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (•)  2.1.4    สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้ เครื่องมือที่เหมาะสม () 2.1.5    สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ ()
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบทั้งการบรรยาย อภิปราย การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เรียนรู้และฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน เพื่อประมวลผลความรู้จากการรับฟังในภาคบรรยาย การแก้ปัญหาโจทย์การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าโจทย์ปัญหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี โดยการนำมาสรุปและนำเสนอด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1  การทดสอบย่อย ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทํา โดยเนื้อหาในรายงานเกี่ยวกับการใช้ความรู้ด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตที่นำไปการประยุกต์ใช้ในการจัดการอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงการบูรณาการความรู้กับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.3.4  ประเมินจากการนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1  คิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีและอย่างเป็นระบบ (·)
3.1.2  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  (·)
3.1.3  สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านการวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาได้ อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (·)
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายในรูปแบบ Active learning และ Problem Based Learning และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) โดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ จัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษาการวิเคราะห์ ทักษะการคิด มีการทบทวนบทเรียน และการทำแบบฝึกหัด มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่างๆโดยใช้กรณีศึกษา เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง และใช้การยกตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทำประจำสัปดาห์ตามหัวข้อต่างๆ
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการทำรายงานและนำเสนอรายงานในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับความรู้ที่ศึกษา การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่างๆ ทั้งในสถานการณ์จริงในสถานประกอบการ ประเมินจากการตอบปัญหาและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม รวมถึงประเมินจากการสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค โดยเป็นการสอบแบบข้อเขียนที่มีการแสดงถึงทักษะกระบวนการทางความคิด การวิเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ศึกษานั้นมาตอบคำถามที่แปรผันได้
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ ภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่ เหมาะสม (o)
4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและ ส่วนรวม พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอํานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งใน บทบาทผู้นําและผู้ร่วมทีมทํางาน (o)
4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับ ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (o)
4.1.4  รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทํางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคล และงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทํางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถ วางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ (·)
ใช้การสอนที่มีการกําหนดกิจกรรมให้มีการทํางานเป็นกลุ่ม การทํางานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น ข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังใน ผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
4.2.1  สามารถทํางานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้อย่างดี
4.2.4  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.5  มีภาวะผู้นําและผู้ตาม
4.3.1  ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนําเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
4.3.2  ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกของนักศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบในการทำกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2  ประเมินจากความรับผิดชอบจากการรายงานส่วนบุคคลและรายงานกลุ่ม ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4.3.3  ให้นักศึกษาประเมินความสัมพันธ์สมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
5.1.1  สามารถใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สําหรับการทํางานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี  (·)
5.1.2  มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์  (·)
5.1.3  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้ สัญลักษณ์ (·)
5.1.4  สามารถนําเสนอผลงานโดยใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารทั้งในรูปแบบที่เป็น ทางการและไม่เป็นทางการในวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม (·)
5.2.1  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จําลอง และ สถานการณ์เสมือนจริง โดยมีการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ สถิติประยุกต์ และการใช้คอมพิวเตอร์ มาช่วยในการเรียนรู้ และนําเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
5.2.2  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหา เช่น ข้อมูลจากเว็บไซต์หรือสื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.3  มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน โดยมุ่งเน้นให้มีการนำเทคนิคการสืบค้น เพื่อทำรายงานและหาแหล่งข้อมูลในทางที่แม่นยำและถูกต้อง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน เช่น การใช้ power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากเทคนิคการนําเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยี สารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
5.3.3  ประเมินจากการสุ่มหาเอกสารอ้างอิงจากการที่ผู้เรียนทำรายงานมาส่งได้
5.3.4  ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจํากัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนําเสนอต่อชั้นเรียน
6.1.1  มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ 
6.1.2  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอด ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  (·)
6.1.3  มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง (·)
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้ที่เรียนมาทำการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย โดยให้ความสําคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
6.3.1  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
6.3.2  พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
6.3.3  พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ใน รูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคณุธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสาร และการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3.
1 ENGFI106 การวางแผนและควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2, 3, 5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 30% 35%
2 1-5 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1-5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
บรรหาญ ลิลา. 2553. การวางแผนและควบคุมการผลิต. สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ
ยุทธ์ ไกยวรรณ์. 2553. การวางแผนและควบคุมการผลิต. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, กรุงเทพฯ
บุษบา พฤษาพันธุ์รักษ์. 2552. การวางแผนและควบคุมการผลิต. สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ
เสาวนีย์ เลิศวรสิริกุล. 2552. การวางแผนและควบคุมการผลิต. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
-
Chase, RB, NJ Auilano and FR Jacobs. 2001. Operation Management for competitive Advantage. 9th Edition. McGraw Hill New York, USA
Hax A.C. and D. Candea. 1984. Production and Inventory Management. Englewood Cliffs, New Jerssy, USA.
Bedworth DD. and JE Bailey. 1978. Intergrated Production Control System, Management, Analysis Design. John Wiley & Sons Inc. New York, USA.
Thuesen G.J. and JE. Fabrycky. 2001. Engineering Economy. 9th Edition, Prentice Hall International Inc. New Jessy, USA.
Vollmann T., W.L. Berry,  D.C. Whybark, and F.R. Jacobs. 2005.  Manufacturing Planning & Control Systems for Supply Chain Management.  5th ed, McGraw-Hill: New York.
Stevenson, W.J. 2005.  Operations management.  McGraw-Hill, USA.
Nahmias S.  2005.  Production and Operations Analysis.  McGraw-Hill.
Reid R.D and N. R. Sanders.  2005.  Operations Management : An Integrated Approach.  Second Edition. John Wiley & Sons Inc., USA.
Chase R.B. and N.J. Aquilano.  1995.  Production and Operations Management : Manufacturing and Services.  Seventh Edition. Irwin/ McGraw-Hill, USA.
Russell R.S. and W.T. Bernard.  2009.  Operations management: Quality and Competitiveness in a Global Environment.  John Wiley & Sons, USA.
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3  ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1  การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1  ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดกาสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
3.2  ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนการเรียน เพื่อปูพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
3.3  ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะแก่กลุ่มนักศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจแบบฝึกหัด เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
5.3  ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย
5.4  นำข้อคิดเห็นจากการประเมินโดยนักศึกษามาประมวล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประมวลจะนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป