สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย

Society, Economy, Politics and Law

1. เพื่อให้เข้าใจในความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย
2. เพื่อให้วิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย
3. เพื่อตระหนักถึงบทบาทของประชาชนในการมีส่วนร่วมในกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมายของไทยในปัจจุบัน
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาในฐานะพลเมืองได้ตระหนักถึงความซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนและอนาคตของประเทศ
- ศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ระบบสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การบริหารจัดการ และพฤติกรรมการเมืองไทย
- วิเคราะห์สัมพันธภาพระหว่างการเมืองกับปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ
- สำรวจปัญหาที่เกี่ยวข้องในยุคของการเปลี่ยนแปลง สังคมกับการเมืองและกฏหมาย บทบาท ความรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมต่อสังคม
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาในห้องเรียน
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางสังคมและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ กำหนดให้นักศึกษาได้รับชมสื่อต่างๆ ที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับบทเรียน

 
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปวิเคราะห์ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาในฐานะพลเมืองตระหนักถึงความซับซ้อนการเปลี่ยนแปลงของสถาบันการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนและอนาคตของประเทศ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคม และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา โครงงานและการปฏิบัติ Problem – based Learning, Project – based Learning, and Practice – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
 
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ตลอดจนแบบทดสอบปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกรณีศึกษาหรือโจทย์จาก Problem – based Learning, Project – based Learning, and Practice – based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดโดยมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆ ได้
 
 
3.2.1 ตั้งโจทย์ให้นักศึกษาได้ฝึกคิดวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางสังคมโดยเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีที่ได้เรียนในชั้นเรียน
3.2.2 การฝึกปฏิบัติโดยการอ่าน ฟัง และคิดวิเคราะห์
3.2.3 การนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม
3.2.4 ให้ทดลองเสนอความคิดต่อสิ่งที่เพื่อนได้นำเสนอในชั้นเรียน
3.3.1 แบบทดสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ ประยุกต์ใช้เนื้อหาที่มีในบทเรียนมาตอบปัญหาหรือคำถามได้
3.3.2 ดูความตั้งใจ ใส่ใจ การทำงานเป็นทีม และทักษะในการคิดวิเคราะห์ และสะท้อนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ ทั้งในการเรียนและการปฏิบัติงานกลุ่ม
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 จัดกลุ่มให้ร่วมกิจกรรมสันทนาการ ให้ร่วมกันใช้ความคิดในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
4.2.3 การฝึกปฏิบัติและการนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากการแสดงออก การนำเสนอ และรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิขาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1. มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม 3. สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 1. เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้อย่างเหมาะสม 2. สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
1 GEBSO103 สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5 11 18 19 5% 20% 5% 25%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
1. คนไทยมาจากไหน โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ
2. ประวัติศาสตร์ไทย ฉบับสังเขป โดย เดวิด เค วัยอาจ /กาญจนา ละอองศรี บรรณาธิการ
3. ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย โดย คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร
4. เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น โดย สมถวิล จิตติมงคล
5. โลกสมัยใหม่ในชีวิตประจำวัน โดย วสันต์ ปัญญาแก้ว บรรณาธิการ
ไม่มี
ไม่มี
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ดที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 1 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ