การวิจัยดำเนินงาน

Operations Research

ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางของการวิจัยการดําเนินงาน ศึกษาเกี่ยวกับการจัดตั้งรูปแบบของปัญหา ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างและหาผลลัพธ์ของแบบจําลองของปัญหา ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการโปรแกรมเชิงเส้น ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้แบบจำลองของระบบพัสดุคงคลัง ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการขนส่ง ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการมอบหมายงาน ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีเกมส์ ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีแถวคอย ศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงข่ายและเทคนิคการจําลองแบบปัญหารวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ที่เหมาะสม นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อวิชาการวิจัยการดําเนินงาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแนวทางของการวิจัยการดําเนินงาน การจัดตั้งรูปแบบของปัญหา การสร้างและหาผลลัพธ์ของแบบจําลองของปัญหา และใช้เครื่องมือที่ถูกต้องในการแก้ปัญหา
ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางของการวิจัยการดําเนินงาน การจัดตั้งรูปแบบของปัญหา การสร้างและหาผลลัพธ์ของแบบจําลองของปัญหา ปัญหาการโปรแกรมเชิงเส้น การประยุกต์ใช้แบบจำลองของระบบพัสดุคงคลัง ปัญหาการขนส่ง ปัญหาการมอบหมายงาน ทฤษฎีเกมส์ ทฤษฏีแถวคอย การวิเคราะห์โครงข่ายและเทคนิคการจําลองแบบปัญหา การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์หาผลลัพธ์ที่เหมาะสม
อาจารย์ผู้สอนประจำวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1-2  ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีระเบียบ วินัย ตรงต่อเวลา มีสมาธิในการเรียน มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อ บังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตาม ลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.3  สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์สังคม  และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึง เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ สอนให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลาจากการมอบหมายงาน การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม  ความมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพของวิศวกร
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   พฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อประยุกต์เข้ากับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ
2.1.3    สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
2.1.5   สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
สอนบรรยายและสาธิตการใช้อุปกรณ์นำเจาะและจับงาน ถาม ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียนให้ทำแบบฝึกหัดในชั่วโมงปฏิบัติจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความรู้การหาผลลัพธ์ของปัญหา
2.3.2  ประเมินจากการปฏิบัติงานตามใบงาน และงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1  มีแนวความคิดอย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2  สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.3  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1   การมอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยดำเนินงาน
3.2.2   มอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำเพิ่มจากใบงานและให้หาข้อมูลประกอบรายงาน
3.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่วัดความรู้ในหลักการการหาผลลัพธ์ของปัญหาทางด้านการวิจัยดำเนินงาน
3.3.2   ประเมินจากการทำใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพ มาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.4  มีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.2 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สังเกตพฤติกรรมการทำงาน ความรับผิดชอบในการทำงาน การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือและ อุปกรณ์ในห้องเรียนและความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
5.1.1  มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.3  ฝึกให้นักศึกษาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการออกแบบเครื่องมือ และสืบค้นข้อมูล ได้อย่างทันสมัยและเหมาะสม
5.2.1  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ  web site สื่อการสอน ต่าง ๆ
5.2.2   มอบหมายงานที่ใช้การคิดคำนวณ เชิงตัวเลข จากใบงาน
5.2.3 มีการฝึกนั่งสมาธิ เพื่อฝึกให้นักศึกษามีจิตใจที่แน่วแน่ในการเรียน และรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
5.3.1  ประเมินจากรายงาน สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นวัดความรู้การหาผลลัพธ์ของปัญหาโปรแกรมเชิงเส้น
5.3.2  ประเมินจากใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา สำหรับ เครื่องมือ อุปกรณ์ การบำรุงรักษาและวิธีการ ได้อย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพ
6.2.1  ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
6.3.1  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2  ประเมินจากการวัดขนาดงานตามใบงานปฏิบัติและงานที่ได้รับมอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การวัดความรู้ทฤษฎี สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบย่อย 9 17 5 และ 12 25% 25% 20%
2 การฝึกปฏิบัติตามใบงานและงานที่ได้รับมอบหมาย การฝึกปฏิบัติ การศึกษาค้าคว้างานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษายกเว้นสัปดาห์สอบ 20% 20%
3 การมีส่วนร่วมในการเรียน การเข้าชั้นเรียนและความประพฤติการมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชา การวิจัยดำเนินงาน Operation Research, ปริดา จิ๋วปัญญา
 

รศ.ดร. รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ (สีเหลืองสวัสดิ์) และ ผศ.ดร. พรธิภาองค์คุณารักษ์. การวิจัยดำเนินงาน Operation Research. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2556 มานพ วราภักดิ์. การวิจัยดำเนินการ Operations Research. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2009 รศ. สุทธิมา ชำนาญเวช. การวิจัยดำเนินการ Operations Research. วิทยพัฒน์, บจก. 2009 ศักดิ์สิทธิ์ ศุขสุเมฆ. สร้างแบบจำลองเพื่อการตัดสินใจ (Optimization Modeling) ด้วย Excel (Solver). ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ. 2014 Frederick S. Hillier, Gerald J. Lieberman. Operation Research., 10th Edition. New York. McGraw-Hill Education, 2015 Law, A. M., Kelton, W. D., & Kelton, W. D. (1991). Simulation modeling and analysis (Vol. 2): McGraw-Hill New York. MYERSON, Roger B. Game theory. Harvard university press, 2013. Shubik, Martin. Game theory in the social sciences: concepts and solutions. Vol. 155. Cambridge, MA: MIT press, 1982.

 
งานวิจัย

W. El-Khattam, Y. G. Hegazy and M. M. A. Salama, "An integrated distributed generation optimization model for distribution system planning," in IEEE Transactions on Power Systems, vol. 20, no. 2, pp. 1158-1165, May 2005. doi: 10.1109/TPWRS.2005.846114 Rapport, D. J. (1971). An Optimization Model of Food Selection. The American Naturalist, 105(946), 575-587. doi:10.1086/282746 Karakatič, S., & Podgorelec, V. (2015). A survey of genetic algorithms for solving multi depot vehicle routing problem. Applied Soft Computing, 27, 519-532. doi:10.1016/j.asoc.2014.11.005 Yu, V. F., Jewpanya, P., & Redi, A. P. (2016). Open vehicle routing problem with cross-docking. Computers & Industrial Engineering, 94, 6-17. Weir, A. H., Bragg, P. L., Porter, J. R., & Rayner, J. H. (1984). A winter wheat crop simulation model without water or nutrient limitations. The Journal of Agricultural Science, 102(2), 371-382. Stöckle, C. O., Donatelli, M., & Nelson, R. (2003). CropSyst, a cropping systems simulation model. European journal of agronomy, 18(3-4), 289-307. Spiess, H., & Florian, M. (1989). Optimal strategies: a new assignment model for transit networks. Transportation Research Part B: Methodological, 23(2), 83-102. Bikhchandani, S., & Ostroy, J. M. (2002). The package assignment model. Journal of Economic theory, 107(2), 377-406. Idris, H., Clarke, J. P., Bhuva, R., & Kang, L. (2002). Queuing model for taxi-out time estimation. Air Traffic Control Quarterly, 10(1), 1-22. Siddharthan, K., Jones, W. J., & Johnson, J. A. (1996). A priority queuing model to reduce waiting times in emergency care. International Journal of Health Care Quality Assurance, 9(5), 10-16. Geroliminis, N., Karlaftis, M. G., & Skabardonis, A. (2009). A spatial queuing model for the emergency vehicle districting and location problem. Transportation research part B: methodological, 43(7), 798-811. Planning, Scheduling. "Inventory Control." Lecture Notes in Economics and (1958). Belobaba, P. P. (1989). OR practice—application of a probabilistic decision model to airline seat inventory control. Operations Research, 37(2), 183-197.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3  ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้แจ้งให้กับนักศึกษาเพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อที่ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนด้วยการทำการวิจัยในชั้นเรียน การจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา การตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อที่ 4 ดำเนินการปรับปรุงกิจกรรมการสอนและแผนการสอนให้มีความเหมาะสมกับปัจจุบัน