ความเป็นครูวิชาชีพ

Technical Teachership

    1. เข้าใจลักษณะสภาพงาน บทบาทและหน้าที่ของครูวิชาชีพ หลักคุณธรรมและจริยธรรม และการใช้หลักศาสนาในการดำเนินชีวิตของครูวิชาชีพ หลักธรรมาภิบาลและความซื่อสัตย์สุจริต กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูวิชาชีพ วิธีการจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู วิธีการสร้างความก้าวหน้าและพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง วิธีการปลูกฝังจิตวิญญาณครูวิชาชีพ
    2. อภิปราย คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครู จรรยาบรรณของวิชาชีพตามข้อกำหนดของคุรุสภา
    3. สามารถแสวงหาและเลือกใช้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนและเสียสละให้สังคม
    4. มีทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
    5. มีจิตวิญญาณของความเป็นครูปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพครู
    6. เห็นคุณค่าของการมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
 
    1. ปรับปรุงการแบ่งหน่วยเรียน/บทเรียนให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาตามหลักสูตรฉบับปรับปรุงใหม่
    2. ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมตามลักษณะของเนื้อหาในแต่ละหน่วยเรียน/บทเรียน
    3. ปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในการจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะเกิดขึ้นหลังจากการจัดการเรียนการสอน
          ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสภาพงานของครูวิชาชีพ บทบาทและหน้าที่ คุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครู กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูวิชาชีพ การจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู การสร้างความก้าวหน้าและพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง การปลูกฝังจิตวิญญาณ คุณธรรมและจริยธรรม การใช้หลักศาสนาในการดำเนินชีวิตของครูวิชาชีพ หลักธรรมาภิบาลและความซื่อสัตย์สุจริต จรรยาบรรณของวิชาชีพตามข้อกำหนดของคุรุสภา สามารถแสวงหาและเลือกใช้ข้อมูลข่าวสารความรู้เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และเสียสละให้สังคม ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
 1. อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา และหน้าห้องพัก
 2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา สามารถขอปรึกษาตลอดเวลาโดยที่ผู้สอนจะคอยตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาตามความเหมาะสม
       นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชาต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ดังนี้
     1.1.1 แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
     1.1.2 สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
     1.1.3 แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
     1.1.4 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
     1.2.1 กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
     1.2.2 กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
     1.2.3 สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
     1.2.4 จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
     1.3.1  ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
     1.3.2  ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
     1.3.3  ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
     1.3.4  ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
 
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาวิศวศึกษาตามเอกวิชา คือ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะของนักศึกษาครูช่างอุตสาหกรรม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
     2.1.1 มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไปของรายวิชา TEDCC801 ความเป็นครูวิชาชีพ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1) ดังนี้
            1. เข้าใจลักษณะสภาพงาน บทบาทและหน้าที่ของครูวิชาชีพ
            2. เข้าใจหลักคุณธรรมและจริยธรรม และการใช้หลักศาสนาในการดำเนินชีวิตของครูวิชาชีพ
            3. อภิปรายคุณลักษณะและมาตรฐานวิชาชีพครู
            4. เข้าใจหลักธรรมาภิบาลและความซื่อสัตย์สุจริต
            5. อภิปรายจรรยาบรรณของวิชาชีพตามข้อกำหนดของคุรุสภา
            6. เข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับครูวิชาชีพ
            7. รู้วิธีการปลูกฝังจิตวิญญาณครูวิชาชีพ
            8. เข้าใจวิธีการจัดการความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพครู
            9. เข้าใจวิธีการสร้างความก้าวหน้าและพัฒนาวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง
     2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
     2.1.3 สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3) 
     2.2.1 เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
     2.2.2 ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ
     2.2.3 ส่งเสริมและชี้แนะการบูรณาการนำความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการฝึกงานในสถานประกอบการ และปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ ดังนี้
     2.3.1 ประเมินผลตลอดภาคเรียน
     2.3.2 ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
     2.3.3 ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการ
     2.3.4 ประเมินผลจากการทดสอบกลางภาคและปลายภาค
 
นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้นมาตรฐานทักษะทางปัญญาต้องครอบคลุมดังนี้
     3.1.1 มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
     3.1.2 มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
     3.2.1 ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ 
     3.2.2 ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
     3.3.1 ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     3.3.2 ประเมินผลจากการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
     3.3.3 ประเมินผลจากการอภิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน การมี ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องให้นักศึกษาระหว่างที่สอนเกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
     4.1.1 แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
     4.1.2 แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
     4.1.3 สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
     4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
     4.2.1 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
     4.2.2 ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
     4.2.3 กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
     4.2.4 ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
     4.3.1 ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
     4.3.2 ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
     4.3.3 ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
     4.3.4 ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและ การประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้นอาจารย์ผู้สอนต้องฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติดังนี้
     5.1.1 มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจองค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
     5.1.2 สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
     5.1.3 สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
     5.2.1 ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
     5.2.2 วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
     5.2.3 นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
     5.3.1 ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
     5.3.2 ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
     5.3.3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
     5.3.4 จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล 
การทำงานในสถานศึกษา สถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะการปฏิบัติ การวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงการมีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายตามสภาพจริง ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องมุ่งเน้นการสร้างทักษะการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนรู้ดังต่อไปนี้
     6.1.1 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
     6.1.2 แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
     6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
     6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยอาจารย์ผู้สอน
     6.2.3 สร้างทักษะด้านการปฏิบัติการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้
     6.3.1 ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน
     6.3.2 ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน
     6.3.3 ประเมินผลงานนักศึกษา
     6.3.4 ประเมินผลจากทักษะด้านการปฏิบัติการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2
1 TEDCC801 ความเป็นครูวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.1, 5.2 1)สอบกลางภาค 2)สอบปลายภาค 3)การเตรียมตัวและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียน 9, 17, ตลอดภาคการศึกษา 35%, 35%, 10%
2 1.1, 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 5.2, 5.3 1) การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย 2) การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.3, 4.1, 4.3, 6.2 1) การมีระเบียบวินัย การเข้าชั้นเรียน 2) การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
     1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
     2. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
     3. พรบ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
     4. ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548
     5. ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาตามมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
     6. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2547
     7. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557
     8. ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558
     9. ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ
     10. ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์คุณสมบัติของสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน
     11. ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556
     12. ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง สาระความรู้ สมรรถนะและประสบการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษา และศึกษานิเทศก์ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2556
     13. ประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาเพื่อการประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2557
     14. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579
 
ติดตามข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น คุรุสภา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     1.3 ข้อเสนอแนะผ่านกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชาที่จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
 
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
     2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
     3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
     4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1  ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
     5.2  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4