โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการปศุสัตว์

Computer Application for Livestock

เข้าใจระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ เข้าใจการใช้การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมแผ่นตาราง และโปรแกรมนำเสนอ เข้าใจการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการผลิตสัตว์ และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล มีทักษะในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการผลิตสัตว์ เห็นประโยชน์ของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสัตว์
2.1 มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการบูรณาการเทคโนโลยีทางสัตวศาสตร์ เพื่อปฏิบัติงานทางวิชาการด้านการปศุสัตว์ และผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ในฐานะผู้ประกอบการ นักวิชาการ หรือผู้จัดการฟาร์ม และสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
2.3 มีคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในจรรยาของวิชาชีพที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคมและเสริมสร้างเอกลักษณ์ไทย
2.4 มีทัศนคติและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพทางการเกษตร
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป จัดทำเอกสาร ฐานข้อมูล นำเสนอข้อมูล วาดภาพแผนผัง และโปรแกรมสำเร็จรูปที่เกี่ยวข้องกับการปศุสัตว์
- นักศึกษาสามารถติดต่อได้ทาง e-mail address: wera0625@yahoo.com, Line
1.1 มีคุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่วเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัย และเคารพกฏกติกาของสังคม ประพฤติ ปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- การบรรยายและยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
- การยกย่องนักศึกษาที่ประพฤติตนดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม และเสียสละ เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
- ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
- การอ้างอิงบทความวิชาการจากแหล่งความรู้ต่างๆ มาใช้เพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของงานนั้น
- ประเมินการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตามกำหนด และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
- ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ตรงต่อเวลา มีวินัยและความสามัคคีในการทำกิจกรรม
- รายงาน หรืองานที่นำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทางวิชาการถูกต้อง
- ไม่มีการทุจริตในการสอบ
2.1. มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจในสาขาวิชาชีพสัตวศาสตร์ ที่เรียนเป็นระบบทั้งหลักการ ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชา และสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
- การบรรยาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษา การคิด วิเคราะห์ ถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณและวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต
- นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม วิเคราะห์กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย จัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอรายงาน โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
- การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
- ประเมินผลจากรายงาน และการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากาการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3.1 ความสามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบหมายถึง มีทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.2 สามารถคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรม หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3.3 ใฝ่รู้ และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และรู้จักเทคนิควิธี และกระบวนการในการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
- ฝึกให้วิเคราะห์ปัญหาจากกรณีศึกษาของฟาร์มที่นักศึกษาฝึกงานภายนอก โดยเปรียบเทียบกับความรู้ทางวิชาการจากเอกสารการปศุสัตว์ต่าง ๆ
- ทดสอบโดยข้อเขียน และสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
- ดูจากรายงาน การนำเสนอรายงานและการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในชั้นเรียน
4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นขอลผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
4,2 มีจิตอาสา และสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งเวดล้อม และสาธารณะสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
- ให้นักศึกษาทำงานวิเคราะห์กรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย จัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอ
- การสังเกตและประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานราย ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินการทำงาน มารยาททางสังคมที่ดี การทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ การอ่าน พูด ฟัง เละเขียน
5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
- มอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นองค์ความรู้จากเอกสาร หรือข้อมูลผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- มีการนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่เหมาะสมกับลักษณะงานต่อชั้นเรียน พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจนและกระชับ
- ประเมินจากภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานและการนำเสนอในชั้นเรียนที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยอาจนำเสนอในรูปของตัวเลข กราฟหรือตารางด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณ 2.1. มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ 2.2 มีความรอบรู้ 3.1 ความสามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ 3.2 สามารถคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ 3.3 ใฝ่รู้ และรู้จักวิธีการเรียนรู้ 4.1 ภาวะผู้นำ 4.2 มีจิตอาสา และสำนึกสาธารณะ 5.1 มีทักษะการสื่อสาร 5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
1 BSCAG250 โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการปศุสัตว์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.2, 2.1.2, 3.1.1, 3.1.2, 3.1.3, 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2 ผลงาน /รายงาน/การทำงานกลุ่ม/การศึกษาอิสระ ทุกสัปดาห์ 30%
2 2.1.1, 3.1.1, 3.1.2, 4.1.1, 4.1.2, 5.1.1, 5.1.2 นำเสนอรายงานเป็นกลุ่มโดยนักศึกษา พฤติกรรมต่างๆ เช่น การร่วมอภิปราย การตอบคำถาม เป็นต้น ทุกสัปดาห์ 10%
3 1.1.2, 4.1.1, 4.1.2, การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ คุณธรรม และจริยธรรม ทุกสัปดาห์ 10%
4 1.1.1, 2.1.1, 2.1.2, 3.1.1, 3.1.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 50%
วีระ อินทร์นารี. 2561. เอกสารประกอบการสอนวิชา BSCAG250 โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการปศุสัตว์. สาขาวิชาสัตวศาสตร์. คณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง. ลำปาง. 278 น.
วีระ อินทร์นารี. 2561. เอกสารประกอบการสอนวิชา BSCAG250 บทปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพื่อการปศุสัตว์. สาขาวิชาสัตวศาสตร์. คณะวิทยศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง. ลำปาง. 349 น.
สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ. 2548. เอกสารฝึกอบรมและสัมมนา เรื่องการใช้สูตรและฟังก์ชั่นของโปรแกรมแผ่นตารางทำการ. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). กรุงเทพฯ.
สมเกียรติ ฟุ้งเกียรติ. 2548. เอกสารฝึกอบรมและสัมมนา เรื่องหันมาใช้ Excel จัดการฐานข้อมูลแทน Access. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). กรุงเทพฯ.
ณรงค์ หุตานุวัตร นันทิยา หุตานุวัตร และประสาธน์ เกียรติไพบูลย์กิจ. 2548. ฐานข้อมูล Excel ง่าย แต่เก่ง. คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วิโรจน์ ภัทรจินดา และมนต์ชัย ดวงจินดา. 2549. KCF 2006 โปรแกรมจัดการอาหารโคนมและคำนวณสูตรอาหารราคาต่ำสุด. ภาควิชาสัตวศาสตร์. คณะเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัย ขอนแก่น. 59 น.
อุทัย คันโธ. 2529. อาหารและการผลิตอาหารเลี้ยงสุกรและสัตว์ปีก. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมการเลี้ยงสุกรแห่งชาติ. ภาควิชาสัตวบาล. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กำแพงแสน. นครปฐม. 297 น.
ตัวอย่างแบบบันทึกข้อมูลงานฟาร์มที่นักศึกษาได้รับจากการฝึกงานภายนอก และแบบบันทึกข้อมูลงานฟาร์มของมหาวิทยาลัย.
- https://www.youtube.com/watch?v=_jgZ7fYubw4 การใช้โปรแกรม Zoom ในการเรียนการสอนออนไลน์
- https://www.youtube.com/watch?v=jCzAfNwT7Og เรียนด้วย Zoom Meeting
- https://www.youtube.com/watch?v=yIA21CsRayU วิธีเปลี่ยนพื้นหลังวีดีโอใน Zoom | Ep.120
- https://www.youtube.com/watch?v=NApWjRUcnDQ ใช้งาน Zoom จัดเทรนนิ่ง ประชุมและสัมนา Online
- https://www.youtube.com/watch?v=Qc_pStYU8Ag ใช้ Zoom ร่วมกับ OBS Studio เพื่อเพิ่มลูกเล่นในการใช้งาน
- https://www.youtube.com/playlist?list=PLv8EYkfiqfiaTMGRQUD9Tg3LDO1kTmlSa การใช้งาน Microsoft Excel 2010
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา โดยใช้แบบประเมินอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
ประเมินการจัดการเรียน การสอนจากการทดสอบย่อย การตอบคำถามของนักศึกษาระหว่างการสอนแต่ละหน่วยเรียน เพื่อให้ทราบปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา ปรับปรุงวิธีการสอนหรือกิจกรรมการเรียน การสอน และการทดสอบกลางภาค และปลายภาคเรียน
อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์ และวิธีการสอนจากผลการประเมินอาจารย์ผู้สอน แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน การประชุมอาจารย์ที่รับผิดชอบวิชา เพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
อาจารย์ผู้สอนร่วมสุ่มสังเกตกิจกรรมการเรียน การสอน ในรายวิชา ให้ข้อเสนอแนะการจัดการเรียน การสอน การวัดผลและการประเมินผลการเรียน
ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนรายงานและการนำเสนอรายงาน เพื่อตรวจสอบรายงานของนักศึกษา ให้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
การประเมินการสอนโดยนักศึกษา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอรายงานแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนา เสนอต่อสาขาวิชา เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป