สรีรวิทยาของพืช

Plant Physiology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญ และขอบเขตของวิชาสรีรวิทยาพืช 1.2 เข้าใจโครงสร้าง องค์ประกอบทางกายภาพและเคมี และหน้าที่ในทางสรีรวิทยาของเซลล์พืช 1.3 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง คุณสมบัติ และหน้าที่ของสารประกอบหลัก (คาร์โบไฮเดรท ลิปิดส์ โปรตีน และเอนไซม์) ที่เกี่ยวช้องกับกระบวนการเมแทโบลิซึม (metabolism) ของพืช 1.4 มีความรู้และความเข้าใจถึงชนิด ความสำคัญ หน้าที่ กลไกการเคลื่อนย้าย การดูดซับ และอาการของการขาดแร่ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช 1.5 มีความรู้ ความเข้าใจถึงความหมาย ความสำคัญ กลไกการทำงาน ปฏิกิริยาทางชีวเคมี และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ และเมแทโบลิซึมของไนโตรเจน ของพืชชั้นสูง 1.6 เข้าใจความสำคัญ คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของน้ำ ความสัมพันธ์ของน้ำกับพืช 1.7 มีความรู้ ความเข้าใจความสำคัญ คุณสมบัติทางเคมี ชนิด กลไกการทำงาน และผลกระทบของฮอร์โมนพืช กับกระบวนการเจริญเติบโตและพัฒนาการ ของพืช
- มีการปรับปรุงรายเนื้อหาเพิ่มเติม และปรับรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับรูปแบบการสอนออนไลน์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์พืช หน้าที่ทางสรีรวิทยาและเมทาโบลิซึมองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์พืช เช่น คาร์โบไฮเดรต กรดอะมิโนและโปรตีน เอนไซม์ กรดไขมันและลิปิค กรดนิวคลีอิค วิตามินและเกลือแร่ ตลอดจน กระบวนการเมทาโบลิซึมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพืช เช่น การหายใจ การสังเคราะห์แสง การตรึงไนโตรเจน ธาตุอาหารพืชและการดูดซึม การเคลื่อนย้ายลำเลียงธาตุอาหารในพืช ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำกับพืช สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช การเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช
1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
-กระทำตนเป็นแบบอย่างในการมีวินัย ขยัน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบ
- ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ
- ส่งเสริมการทำกิจกรรมกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
-  ประเมินความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ในงานปฏิบัติการ โดยแสดงออกต่อส่วนรวมดังนี้
1. ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน ที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอาจารย์
2. มีการเรียนสม่ำเสมอ ตรงเวลา
3. นักศึกษาประเมินตนเอง
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1. ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเองและจากผลการทดลอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2. การสอนแบบการตั้งคำถาม
1. ข้อสอบอัตนัย
2. ข้อสอบปรนัย
3. ทำรายงานรายบุคคล
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1. การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL
2. ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา ในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้ กำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
แสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
2. ข้อสอบอัตนัย
3. ข้อสอบปรนัย
4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2 มีภาวะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1 จัดกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียนที่นักศึกษามีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอก
1. การประเมินโดยอาจารย์  โดยสังเกตสื่อสารกันในระว่างการทำงาน
2 มีการวางแผนงาน ในการดำเนินกิจกรรมที่ได้รับมอบหมาย
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.ใช้  Power point การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
2. การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการนำเสนองานโดยการบรรยาย
1.การนำเสนองานที่สามารถหาข้อมูลจากระบบสื่อสารทางไกล(อินเตอร์เน็ต) 2.ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BSCAG105 สรีรวิทยาของพืช
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 และ 3.2 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค 4 และ 9 60%
2 3.2, 4.2 และ 5.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2 และ 4.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
ชวนพิศ แดงสวสัดิ์. 2544. สรีรวทิยาของพืช. สา นกัพิมพพ์ฒันาศึกษา, กรุงเทพฯ. 380 น. ดนัย บุณยเกียรติ. 2544. สรีรวิทยาของพืช. ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลยัเชียงใหม่, เชียงใหม่. 230 น. นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2537. ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. สา นกัพิมพร์้ัวเขียว, กรุงเทพฯ. 128 น. นิตย์ ศกุนรักษ.์ 2541. สรีรวทิยาของพืช. ภาควชิาพืชไร่ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลยัแม่โจ้, เชียงใหม่. 237 น. พิทยา สรวมศิริ. 2554. ธาตุอาหารในการผลิตพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์, มหาวทิยาลยัเชียงใหม่, เชียงใหม่. 314 น. สมบุญ เตชะภิญญาวฒัน์. 2544. สรีรวทิยาของพืช. มหาวทิยาลยัเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 237 น.
1. Decoteau Dennis R.. 2005. Principles of Plant Science; Environmental Factors and Technology in Growing Plants. Pearson Prentice Hall : New Jersey. 412pp. 2. Evans, l.T. 1993. Crop Evolution, Adaptation and Yield. Cambridge University Press: London. 500pp. 3. Fageria, N.K., V.C. Balgar and R.B. Clark. 2006. Physiology of Crop Production. Food products Press: New York. 345pp. 4. Fakhri, A. Bazzaz and Wlim, G. Sambrock 1996. Global Climate Change and Agricultural Production: Direct and Indirect Effects of Changing Hydrological Soil and Plant Physiological Pro9cesses. FAO of UN. Rome, Italy. John Wiley and Sons Ltd., England. (S 600.7 C54 Q56 1996) 5. upta, U.S. 2005. Physiology of Stressed Crops, vol.1 : Hormone Relations. Sciemce Publishers, Inc., Enfield, USA (SB 112.5 G86 2005) 6. Manjit, S. Kang 2002. Crop Improvement: Challenges in the Twenty-First Century. The Haworth Press, Inc. Binghamton, New York. (SB106.147 C76 2002) 7. Milthrope, F.L. and J. Moorby. 1974. An Introduction of Crop Physiology (2nd ed.) Cambridge University Press: London. 244pp. 8. Pearson, C.J. 1984. Control of Crop Production. Academic Press: Sydney. 315pp. 9. Rama Das, V.S. 2004. Photosynthesis: regulation Under Varying Light Regimes. Scientific Publisher, Inc.: Enfield USA. 175pp. 10. Scott, Peter 2008. Physiology and Behaviour of Plants. John Wiley & Sons, Ltd. : Chichester. England. 305pp.
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยสาขาวิชา จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์นักศึกษา
โดยภาคการศึกษาที่ผ่านมา นักศึกษาไม่สามารถดำเนินกิจกรรมของบทปฏิบัติการได้ตามกำหนดเวลาเนื่องจากนักศึกษามีกิจกรรมอื่นมาก จึงเพิ่มสัดส่วนกิจการปฏิบัติเพื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้มากขึ้น
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขาวิชา ภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป