ทักษะวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 1

Practical Skills in Food Science and Technology 1

- เพื่อผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถทั้งทฤษฎี
และปฏิบัติในงานด้านอุตสาหกรรมอาหาร
- เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพมีคุณธรรมจริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
- เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนางานทางด้าน        อุตสาหกรรมอาหารโดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านอุตสาหกรรมอาหารให้สอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ตามความเหมาะสม
- เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
- เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน ทั้งด้านความรู้ ความเข้าใจ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ของหลักสูตร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับงานที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน
          ฝึกปฏิบัติการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และการบำรุงรักษาเครื่องมือในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผักผลไม้ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ธัญพืชและวิเคราะห์คุณภาพเบื้องต้น
Basic skills in food processing; proper use and maintenance of processing tools and equipments in fruit & vegetable, meat and cereal production; basic food analysis.
- วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์ 3 หรือติดต่อทางโทรศัพท์ 084-0853879
- หรือ e-mail; pinubon@hotmail.com เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน
 
- การปลูกฝังให้นักศึกษาให้มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
-  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
- เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- โดยใช้วิธีการสอนแบบผสมผสานกันอาทิ อธิบายทำความเข้าใจพร้อมยกตัวแย่างประเด็นทางจริยธรรม : การใช้ส่วนผสม/วัตถุดิบที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย 
- โดยแบ่งกลุ่มปฎิบัติเป็นกลุ่มๆ การสอนฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ ร่วมกับการสอนแบบสาธิต ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม(Participatory Learning) และการสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติและอาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรก  เรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในงานที่ฝึกปฏิบัติ และให้นักศึกษาตระหนักถึงความมีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียนและในกลุ่ม
- ประเมินผลจากการสังเกตพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลาและการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์ โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
-  การเขียนบันทึกการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาประกอบรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
-  ประเมินผลจากการทดสอบด้านการปฎิบัติ                                                                                       
-  ประเมินจากการนำเสนอรายงานจากการปฎิบัติ
 
-  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาโดยสอดแทรกความรู้ให้นักศึกษาระหว่างการฝึกปฎิบัติงาน                                                                             
-  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
-  การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสังเกตกการสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ตในองค์ความรู้ทางทฤษฎีที่สอดคล้องต่อผลการฝึกปฏิบัติเพื่อประกอบการบันทึกรายงาน 
-  โดยแบ่งกลุ่มปฏิบัติงาน และสอดแทรกความรู้ให้นักศึกษาระหว่างที่นักศึกษากำลังปฏิบัติงาน และส่งผลงานที่ให้ปฎิบัติงานตามสภาพจริง
-  ประเมินจากการสังเกต การตอบคำถาม จการปฎิบัติงานเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม อาทิ ความรับผิดชอบต่องานมอบหมายและประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย และเล่มรายงาน     
-  ประเมินจากการทดสอบภาคปฎิบัติและการนำเสนอ                 
-  มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ                                                     
-  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
-  ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา                       
-  ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
-  ประเมินจากการคิดคำนวณสูตร การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน ผลิตภัณฑ์สุดท้ายที่ได้จากการปฏิบัติ และการนำเสนอผลงานแบบกลุ่ม การตอบคำถาม และการจากเล่มรายงานประกอบ
-  มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี                     
-  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ                                                               
-  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะส                                     
-  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
-  แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ มอบหมายงานทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม                                                   
-  อธิบายข้อปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียนภาคปฏิบัติ การทำงานร่วมกัน                                                                 
-  เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นขณะเรียน
-  ประเมินผลจากการทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงาน                                                          -  การตรวจสอบการความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา การแต่งกายที่เหมาะ สมและการทำความ สะอาดหลังการปฏิบัติ สังเกตและประเมินการทำงานร่วมกับผู้อื่น จากการส่งรายงานบทปฏิบัติการ
-  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
-  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
-  สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้รู้จักวิเคราะห์การคิดคำนวณสูตร การใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ     ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย การนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
-  ประเมินจากความสนใจ ความรับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย และจากผลงานการปฎิบัติ
-  ประเมินจากการนำเสนองานและเล่มรายงาน 
-  สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
-  สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
-  สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
-  การอธิบายทำความเข้าใจก่อนปฎิบัติการ
-  อธิบายพร้อมสาธิตและให้นักศึกษาปฏิบัติการเองในห้องทดลอง และ
-  ประเมินจากวามรับผิดชอบต่องานที่มอบหมาย และจากผลงานการปฎิบัติ  รายงานบทปฏิบัติการ
-  การสอบภาคปฎิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 BSCFT101 ทักษะวิชาชีพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1..3, 1..4, 3..4,..4..1, 4..2, 5..1 5..2, 6..1 - ผลการปฏิบัติงานตามมอบหมาย - การปฏิบัติงานเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล - ผลงานการฝึกปฏิบัติรายกลุ่ม 1-16 70 %
2 1..3, 1..4, 2..1, 2..2, 3..4, 4..1, 4..2, 5..1, 5..2, 6..1 - การนาเสนอรายงาน - การทดสอบภาคปฏิบัติ - เล่มรายการผลการปฏิบัติรายบุคคลและการทดสอบภาคปฏิบัติ 1 - 16 17 20 %
3 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 3.4, 4.1, 4.2, 6.1 - การเขา้ช้้นเรียน การปฏิบัติงาน ความต้งัใจการมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในช้้น เรียน 1 - 16 10 %
คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์. 2549. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย   
             เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
จุฑามาศ ถิระสาโรช. 2552. ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์. สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, คณะวิทยาศาสตร์การเกษตร มหาวิทยาลัย
             เทคโนโลยีราชมงคลล้านา, พิษณุโลก.
ไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาสิก. 2535. กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ.
รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2535. วิศวกรรมแปรรูปอาหาร : การถนอมอาหาร. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ กรุงเทพฯ.
วิชัย หฤทัยธนาสันติ์. 2523. หลักการถนอมและแปรรูปผักและผลไม้. ภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะเกษตร
            มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
สมบัติ ขอทวีวัฒนา. 2529. กรรมวิธีการอบแห้ง. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย
            เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
สมบัติ ขอทวีวัฒนา. 2546. เทคโนโลยีน้ำตาล. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัย
            เกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.
วารสารอาหาร, Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of Meat Science
เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
            E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
วารสารอาหาร, Journal of Food Science, Journal of Food Technology, Journal of Meat Science
เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรม
           วิทยาศาสตร์การแพทย์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3  ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
 
        หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับเครื่องมือในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ผักและผลไม้ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ธัญพืช ในชั้นเรียน
3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.4 การศึกษาดูงานนอกสถานตามโอกาส
       ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผล การทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชามีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
    4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
    4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม  
        จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ