เทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น

Welding and Sheet Metal Technology

ผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นสำหรับงานทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ถูกต้องตามหลักวิชา เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการในสภาพปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านดังนี้
1. ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม ในด้านของเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
2. ทางด้านความรู้ มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
3. ทางด้านทักษะทางปัญญา มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดีในด้านของเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
4. ทางด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติ ประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5. ทางด้านทักษะพิสัย มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการ ในสภาพปัจจุบันเพื่อผลิตวิศวกรอุตสาหการที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถศึกษาเข้าใจหลักการและปฏิบัติงานเกี่ยวกับเทคนิคของกระบวนการเชื่อม การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อมใต้ฟลักซ์ การเชื่อมแบบความต้านทาน               การประสาน และ การเชื่อมพลาสติก ตลอดจนเทคโนโลยีการเชื่อมสมัยใหม่ กลวิธีการเชื่อมตามกระบวน          การต่างๆ กรรมวิธีการตัดด้วยความร้อน งานเขียนแบบแผ่นคลี่ และการขึ้นรูปโลหะแผ่นขั้นพื้นฐาน งานพับ งานต่อตะเข็บ งานย้ำหมุด งานดัดม้วน งานเข้าขอบลวด การบัดกรี ขั้นพื้นฐาน
ศึกษาเกี่ยวกับ กระบวนการเชื่อม การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมมิก การเชื่อมทิก การเชื่อมใต้ฟลักซ์ การเชื่อมแบบความต้านทาน การประสาน และ การเชื่อมพลาสติก ตลอดจนเทคโนโลยีการเชื่อมสมัยใหม่ กลวิธีการเชื่อมตามกระบวนการต่างๆ กรรมวิธีการตัดด้วยความร้อน งานเขียนแบบแผ่นคลี่ และการขึ้นรูปโลหะแผ่นขั้นพื้นฐาน งานพับ งานต่อตะเข็บ งานย้ำหมุด งานดัดม้วน งานเข้าขอบลวด การบัดกรี ปฏิบัติงานเชื่อม เกี่ยวกับเทคนิค การเชื่อมด้วยลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ การเชื่อมแก๊ส การประสาน กรรมวิธีการตัดด้วยความร้อน ปฏิบัติงานโลหะแผ่น งานเขียนแบบแผ่นคลี่ การขึ้นรูปโลหะแผ่น งานพับ งานต่อตะเข็บ งานย้ำหมุด งานดัดม้วน งานเข้าขอบลวด การบัดกรี ขั้นพื้นฐาน
เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น และวันเสาร์ 9.00-12.00 น.
คุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสำเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนา หรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ  ได้แก่

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริตเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
ให้ความสำคัญกำหนดให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มในการเรียนแต่ละครั้ง ให้ความสำคัญของคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต ต่อการปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มแล้วฝึกปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นพร้อมกับสร้างชิ้นจริงขึ้นมา
1.3.1   การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา
1.3.2   ประเมินการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและงานที่มอบหมาย
1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการกระทำทุจริตใน การสอบ
1.3.4   ประเมินผลจากผลงานของเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
1.3.5   ประเมินผลจากชิ้นงานที่ได้ปฏิบัติตามที่ได้ทำการออกแบบ
1.3.6   ประเมินจากการแต่งกายให้ตรงตามระเบียบ และ ปฏิบัติตามข้อบังคับของการใช้พื้นที่ปฏิบัติงาน
2.1.1   พัฒนาความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ พื้นฐานวิทยาศาสตร์ พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2   พัฒนาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
2.1.3   พัฒนาความสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น การเขียนแบบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5   พัฒนาความรู้และทักษะในวิชาเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
2.2.1      บรรยาย อภิปราย หลักการทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ รวมถึงหลักการออกแบบสร้างนวัตกรรม
2.2.2      มอบหมายงานศึกษาและค้นคว้าปัญหาทางด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นและ           การผลิตชิ้นงานที่จำเป็นต้องอาศัยหลักการเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
2.2.3      ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและเลือกใช้วัสดุในงานเชื่อมและโลหะแผ่น ด้วยหลักการทางด้านของเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
2.2.4      มอบหมายให้แบ่งกลุ่มหรือเฉพาะบุคคล โดยให้กรณีศึกษาเทคโนโลยีงานเชื่อมและ           โลหะแผ่น วัสดุจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและทำการออกแบบและสร้างชิ้นงานเสมือนจริง
2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินผลจากการออกแบบ ผลจากการค้นคว้าข้อมูล ปัญหาทางด้านการออกแบบ
2.3.3  ประเมินผลจากงานที่มอบหมายและนำเสนอจากการวิเคราะห์ข้อมูลกรณีศึกษา
3.1.1  พัฒนาความสามารถในความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2  พัฒนาความสามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3  พัฒนาความสามารถทางการคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะ แผ่นได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4  พัฒนาความสามารถในด้านของจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5  พัฒนาความสามารถในด้านของการสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  ฝึกวิเคราะห์จากกรณีศึกษา ชิ้นงานตัวอย่าง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.2.2  มอบหมายงานสืบค้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.2.3  ฝึกการใช้เทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นอยู่เป็นประจำ
3.2.4  ฝึกปฏิบัติงานทางเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
3.3.1  ประเมินผลจากการวิเคราะห์ด้วยหลักการ พร้อมอธิบายวิธีการใช้งาน ปัญหา แนวทางในการออกแบบ จากกรณีศึกษา ชิ้นงานตัวอย่าง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาและวิธีการรวมถึงปริมาณแหล่งสืบค้นข้อมูล
3.3.3  ประเมินผลจากการออกแบบและงานที่มอบหมายสามารถใช้งานได้จริง
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.2  สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นอย่างต่อเนื่อง
4.1.4  พัฒนาบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5  พัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1  ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2  ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานได้ตรงตามเวลา มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3  มอบหมายงานการปฏิบัติงานกลุ่มและปฏิบัติงานรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาหรือการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
4.2.4  จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อรณรงค์การปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการทำงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำเสนอการจัดบอร์ดหรือการที่ให้นักศึกษาปฏิบัติให้ถูกต้อง
4.3.1  นักศึกษาสามารถช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และมีการแลกเปลี่ยน                 ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พยายามช่วยเหลือกันโดยตลอด
4.3.2  ประเมินผลจากการส่งงานได้ตรงตามกำหนด
4.3.3  ประเมินตนเองและเพื่อนร่วมกลุ่ม ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดและการสอบสัมภาษณ์          การปฏิบัติงานเป็นรายบุคคล
4.3.4  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม
5.1.1 พัฒนาทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นได้เป็นอย่างดี
5. 1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาทางด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ทางเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพทางด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
5.2.1   ฝึกให้นักศึกษาได้ทำการออกแบบทางเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
5.2.2   ฝึกให้นักศึกษาได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาทางด้านเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
5.2.3   มอบหมายรายงานและการนำเสนอจากหลักการของเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นหรือกรณีศึกษา
5.2.4   มอบหมายงานด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับงานที่ เช่น การคำนวณหาจุดคุ้มทุนในการใช้เทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่นเป็นต้น
5.3.1  ประเมินผลจากการนำเสนอ การสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2 ประเมินผลจากงานเชื่อมและโลหะแผ่น
5.3.3  ประเมินผลจากการคำนวณตามที่ได้ให้แบบฝึกหัด
6.1.1   พัฒนามีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการปฏิบัติงาน
6.2.2  พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6.2.1  ผู้สอนลงมือสาธิตการปฏิบัติการการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
6.2.2  ควบคุมการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาให้มีความถูกต้องตามวิธีการที่กำหนด
6.3.1   บันทึกผลเวลาการปฏิบัติ การใช้เครื่องมือ และประเมินจากรายงาน
6.3.2   ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 3.3, 5.2, 5.4, 5.5 สอบกลางภาค (ทฤษฎี) สอบปลายภาค(ทฤษฎี) สอบกลางภาค (ปฏิบัติ) สอบปลายภาค(ปฏิบัติ) 9 18 12 19 25% 25% 15% 15%
ตำราหลัก     
มานะศิษฏ์ พิมพ์สาร. คู่มือการเชื่อม มิก-แม็ก (GMAW-Welding). บริษัท เอ็มแอนด์อี. กรุงเทพฯ. 2545
คะเนย์ วรรณโท. คู่มือการเชื่อมโลหะ 2.สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.2554
ประภาส เกตุไทย. งานเชื่อมโลหะ 2-3-4.บริษัท สกายบุ๊กส์. กรุงเทพฯ. 2546
ตำราเพิ่มเติม
ทวี พันธ์มาศ, บัณฑิต ทองสัมฤทธิ์.งานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น. บริษัท สกายบุ๊กส์. กรุงเทพฯ.2547
อนุศักดิ์ ฉิ่นไพศาล. งานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น.กรุงเทพฯ. 2555
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาเทคโนโลยีงานเชื่อมและโลหะแผ่น
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
    ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ