วิศวกรรมงานหล่อ

Foundry Engineering

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
ผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ความสามารถในการเลือกกรรมวิธีการขึ้นรูปโลหะ โดยสามารถทำการหล่อโลหะได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชา เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิศวกรรมงานหล่อและการประยุกต์ใช้งานต่อไป โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านดังนี้
1.  ทางด้านคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
2.  ทางด้านความรู้ สามารถใช้ความรู้วิศวกรรมงานหล่อ และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
4.  ทางด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.  ทางด้านทักษะพิสัย มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการทางด้านวิศวกรรมงานหล่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและกรรมวิธีการหล่อโลหะต่างๆ สามารถเรียนรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการทดสอบคุณสมบัติของทราย แบบหล่อทราย การทำแบบหล่อ และไส้แบบด้วยทรายชนิดต่างๆ ศึกษากลไกการแข็งตัวของน้ำโลหะเพื่อที่สามารถทำการออกแบบรูล้น ระบบจ่ายน้ำโลหะ สำหรับชิ้นงานหล่อและปฏิบัติเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ในงานหล่อ การหลอมและเทน้ำโลหะ รวมถึงการทำความสะอาดและตรวจคุณภาพงานหล่อ
1. คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการและกรรมวิธีการหล่อโลหะต่างๆ แบบหล่อทราย การทดสอบคุณสมบัติของทราย การทำแบบหล่อ และไส้แบบด้วยทรายชนิดต่างๆ กลไกการแข็งตัวของน้ำโลหะ ระบบจ่ายน้ำโลหะ การออกแบบรูล้น วัสดุที่ใช้ในงานหล่อ การหลอมและเทน้ำโลหะ การทำความสะอาดและตรวจคุณภาพงานหล่อ
เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น
1.   คุณธรรม จริยธรรม

คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา

คุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยในชีวิต ความสำเร็จทางธุรกิจ ผู้พัฒนา หรือผู้ประยุกต์โปรแกรมจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่ เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่นๆ  ได้แก่
1.1.1ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบสูงต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
1.1.3มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.5  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.1 วิธีการสอน 
1.2.1 ให้ความสำคัญของคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต ต่อการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมงานหล่อ
1.2.2 ให้ความสำคัญกำหนดให้นักศึกษาเข้าห้องเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.2.3 ให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มในการเรียนแต่ละครั้ง
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และการกระทำทุจริตในการสอบ
1.3.2  การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงต่อเวลา
1.3.3  ประเมินการนำเสนอของกระบวนการปฏิบัติที่นักศึกษาได้ทำการปฏิบัติและให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นกับงานที่ได้รับมอบหมายของเพื่อนนักศึกษาและบอกแนวทางในการแก้ไขกับข้อคิดเห็น
ความรู้

นักศึกษาด้องพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมงานหล่อที่ศึกษานั้นเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคมดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
2.1 ความรู้ ที่ต้องได้รับ
2.1.1 พัฒนาความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
2.1.2 พัฒนาความสามารถการบูรณาการความรู้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหา สาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.1.4 พัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวัสดุด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.1.5 พัฒนาความรู้และทักษะในวิชาวิศวกรรมงานหล่อ ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 บรรยาย อภิปราย หลักการทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐานวิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวัสดุ รวมถึงหลักการออกแบบสร้างนวัตกรรม
2.2.2 มอบหมายงานศึกษาและค้นคว้าปัญหาทางวิศวกรรมงานหล่อและโครงงานที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมงานหล่อ
2.2.4  ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและเลือกใช้วัสดุด้านงานหล่อด้วยหลักการทางวิศวกรรมงานหล่อและการวิเคราะห์ความเสียหายภายในเนื้อโลหะโดยใช้เครื่องอัลตร้าโซนิควิเคราะห์หารูพรุ่นในเนื้อโลหะ
2.2.5  มอบหมายรายงานกลุ่มและบุคคล และกรณีศึกษาการใช้งานวัสดุที่สามารถทำงานหล่อจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินจากรายงานและการนำเสนอ ผลการค้นคว้าข้อมูล ปัญหาทางวิศวกรรมงานหล่อ หรือให้แสดงความคิดเห็นจากการอ่านผลงานวิจัยกรณีศึกษาที่ได้ทำการศึกษา
2.3.4  ประเมินผลงานที่มอบหมายและนำเสนอจากการวิเคราะห์ข้อมูลกรณีศึกษา
2.3.5  ประเมินจากการรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.   ทักษะทางปัญญา 
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศในขณะที่สอนนักศึกษา   
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
3.1.3 พัฒนาความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาของวิศวกรรมงานหล่อได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.5 พัฒนาความสามารถการสืบค้นข้อมูลด้านวิศวกรรมงานหล่อและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2 วิธีการสอน
3.2.3  ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผลการศึกษา
3.2.5  มอบหมายงานสืบค้นด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.3  ประเมินจากการนำเสนองานที่มอบหมายจากกรณีศึกษา
3.3.5 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาและวิธีการรวมถึงปริมาณแหล่งสืบค้นข้อมูล
4.   ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อนคนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิศวกรรมงานหล่อ มาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นเหมาะสม
4.1.3  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทางวิศวกรรมงานหล่อได้อย่างต่อเนื่อง
4.1.4  พัฒนาบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5  พัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2 วิธีการสอน
4.2.1  ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.3  ฝึกให้นักศึกษาสามารถทำงานได้ตรงตามเวลา มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.4  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีวิศวกรรมงานหล่อหรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาหรือการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมงานหล่อ
4.2.5  จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อรณรงค์การปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมงานหล่อเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อการทำงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำเสนอการจัดบอร์ดหรือการที่ให้นักศึกษาปฏิบัติให้ถูกต้อง
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1  ประเมินผลจากการที่นักศึกษาสามารถช่วยเหลือกันในการแก้ไขปัญหาต่างๆและได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พยายามช่วยเหลือกันโดยตลอด
4.3.3  ประเมินผลจากการส่งงานในตอนท้ายชั่วโมง
4.3.4  ประเมินผลจากนักศึกษาเองและเพื่อนร่วมกลุ่ม ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดและการสอบสัมภาษณ์เป็นรายบุคคล
4.3.5  ประเมินผลจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มและการทำงานเป็นทีม
5.   ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.4  พัฒนาทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.5  สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2 วิธีการสอน
5.2.4  มอบหมายรายงานและการนำเสนอจากหลักการของวิศวกรรมงานหล่อหรือกรณีศึกษา
5.2.5  มอบหมายงานด้านการคำนวณเชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับงานที่ เช่น การคำนวณ การหาขนาดรูล้น จำนวนรู้ล้น อัตราการหดตัวของโลหะ หลักการคำนวณหาคุณสมบัติทางกลของวัสดุ เป็นต้น
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.4  ประเมินจากการนำเสนอ ผลการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.5  ประเมินจากการคำนวณตามที่ได้ให้แบบฝึกหัด
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1 พัฒนามีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการปฏิบัติงาน
6.2.2 พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6.2 วิธีสอน
6.2.1  ผู้สอนลงมือสาธิตการปฏิบัติการการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับงานทางด้านวิศวกรรมงานหล่อ
6.2.2  ควบคุมการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาให้มีความถูกต้องตามวิธีการที่กำหนด
6.3  วิธีประเมินผล
6.3.1   บันทึกผลเวลาการปฏิบัติ การใช้เครื่องมือ และประเมินจากรายงาน
6.3.2   ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.3, 5.4, 5.5 1.1, 2.4, 2.5, 3.5, 4.1, 4.3, 4.4, 4.5, 6.11.2, 1.3, 1.5, สอบกลางภาค (ทฤษฎี) สอบปลายภาค(ทฤษฎี) สอบกลางภาค (ปฏิบัติ) สอบปลายภาค(ปฏิบัติ)วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมายการเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 9 17 12 17 ตลอดภาคการศึกษา 25% 25% 15% 15% 20% 10%
เสริมสุข บัวเจริญ.วิศวกรรมงานหล่อ 1 (Foundry Engineering 1).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี        ราชมงคลล้านนา เชียงใหม่. 2547
หริส สูตะบุตร เคนยิ จิยิอิวา.หล่อโลหะ. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ดวงกมล.2543
เทพนารินทร์ ประพันธ์พัฒน์  ณรงค์  สมศรีรื่น.กรรมวิธีงานหล่อ.สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนนทบุรี.
-
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น วิศวกรรมงานหล่อ การหล่อโลหะ กรรมวิธีการหล่อ  
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
         การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2. กลยุทธ์การประเมินการสอน
         ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3. การปรับปรุงการสอน
         หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
         ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
         จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ