ฝึกงานวิชาชีพทางเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์

Job Internship in Printing and Packaging Technology

ทักษะในการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ตลอดจนมีความเข้าใจในหลักการความจำเป็นในการเรียนรู้ทฤษฎีมากยิ่งขึ้น บูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อนำมาแก้ปัญหาทางด้านการพิมพ์ได้อย่างเหมาะสม มีมนุษย์สัมพันธ์และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เข้าใจวัฒนธรรมและสามารถปรับตัวเข้ากับสถานประกอบการได้ มีความกล้าในการแสดงออก และนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ประโยชน์ในงานได้
    เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการฝึกประสบการณ์และเรียนรู้การทำงานโดยให้สอดคล้องกับชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนการปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นและสามารถทำงานร่วมกันได้
การฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ในสถานประกอบการด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง และจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานเพื่ออภิปรายหรือนำเสนอให้อาจารย์หรือผู้รับผิดชอบพิจารณาประเมินผลเป็น S (Satisfactory) กับ U (Unsatisfactory) ภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกงานตามระยะเวลาที่กำหนด
1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
              1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
              1.1.2  มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
              1.1.3  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.2     กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
              1.2.1  ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติก่อนการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
              1.2.2  กำหนดตารางเวลาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม บันทึกเวลาฝึกประสบการณ์ภาคสนามกำหนดขอบเขตของงาน กำหนดวิธีการประเมินผลงาน
              1.2.3  มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร
              1.2.4  ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
1.3     กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
              1.3.1  นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรม จริยธรรม
              1.3.2  ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง
              1.3.3  ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมมีรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามประกอบ
    2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
              2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเเละทฤษฎีที่สำคัญ ในเนื้อหาวิชาทางด้านเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
              2.1.2  สามารถวิเคราะห์ปัญหาทางด้านเทคโนโลยีการพิมพ์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
              2.1.3  สามารถวิเคราะห์หรือประเมินคุณภาพงานทางด้านการพิมพ์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ
    2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้
              2.2.1  สถานประกอบการที่ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง
              2.2.2  ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงาน   พี่เลี้ยง
              2.2.3  จัดประชุม แบ่งงาน ติดตามงาน เป็นระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความเหมาะสม
    2.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
              2.3.1  ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ เป็นต้น
              2.3.2  ประเมินผลจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น
              2.3.3  ประเมินผลจากความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
3.2     กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
              3.2.1 การมอบหมายโจทย์ปัญหา ให้ฝึกการค้นหาความต้องการ และวิเคราะห์ผลความต้องการ
              3.2.2  ประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนามอย่างต่อเนื่อง
              3.2.3  มอบหมายโจทย์ปัญหาให้ฝึกทดสอบ
              3.2.4  จัดทำรายงานผลการฝึกงานและนำเสนอ
    3.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
              ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่เกี่ยวข้องและควรนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน
4.1     ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ
              4.1.1  สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
              4.1.2  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
              4.1.3  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
              4.1.4  มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
4.2     กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
              4.2.1  สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
              4.2.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
              4.2.3  สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
              4.2.4  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
              4.2.5  มีภาวะผู้นำ
4.3     กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
              4.3.1  ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
              4.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
5.1     ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
              5.1.1  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
              5.1.2  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
5.2     กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
              5.2.1  มอบหมายงานที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ ทักษะการคำนวณ และใช้สถิติเพื่อนำเสนอข้อมูล
              5.2.2  มอบหมายงานที่ต้องมีการสื่อสารโดยใช้ภาษาทั้งไทยและต่างประเทศ ทั้งการพูด เขียน ในการประสานการทำงาน
              5.2.3  มอบหมายงานที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการแก้ปัญหา หรือนำเสนอผลงาน
5.3     กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
              5.3.1  ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
              5.3.2  ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1. กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้
1.1  นักศึกษา
      จัดให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม
1.2  พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ
      พนักงานพี่เลี้ยงบันทึกงานที่มอบหมาย และผลการฝึกฯ ในแบบฟอร์ม
1.3  อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
      อาจารย์ที่ปรึกษาบันทึกการให้คำปรึกษา ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษา ในแบบฟอร์มรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม การนำคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาไปใช้ในการแก้ปัญหาของนักศึกษา
1.4  อื่นๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่
      ติดตามความความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามสาขาวิชา โดยการสำรวจสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิต
2. กระบวนการทบทวนผลการประเมินและการวางแผนปรับปรุง
          -  อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ประมวลผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษาจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา จากพนักงานพี่เลี้ยง และจากอาจารย์ที่นิเทศ รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตรและประธานหลักสูตรเพื่อทราบ
          -  ประชุมหลักสูตรร่วมพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไปนำ
แสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร