การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

International Business Management

1.1 รู้เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัยเกื้อหนุนต่อการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศ
1.2 เข้าใจกระบวนการและขั้นตอนของการจัดการในองค์การธุรกิจระหว่างประเทศ

รู้วิธีดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศด้วยการจัดการสมัยใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ของบริษัทข้ามชาติ


เข้าใจผลกระทบของความแตกต่างทางวัฒนธรรมในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการระหว่างประเทศ ด้วยความรู้ คุณธรรมและจริยธรรมที่ดี
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และความเข้าใจต่อสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในระดับสากล ทั้งนี้นักศึกษาจะได้มีการเตรียมความพร้อมต่อการนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศได้อย่างเหมาะสม ด้วยการบูรณาการร่วมกับสาระการเรียนรู้ของศาสตร์อื่น ๆ เช่น เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ กระบวนการจัดการการผลิต ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการและการวางแผน รวมทั้งนักศึกษาจะได้มีการปรับตัวและเรียนรู้ถึงการทำงานร่วมกันบนความแตกต่างของวัฒนธรรมที่หลากหลายได้อย่างเหมาะสม
ศึกษาพื้นฐานของการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศ ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเกื้อหนุนต่อการขยายตัวสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ  กระบวนการทางการจัดการที่เกิดขึ้นในองค์การระหว่างประเทศ  การลงทุนในต่างประเทศ กระบวนการวางแผน การจัดองค์การ การนำพาธุรกิจ และการควบคุมการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ  ศึกษาผลกระทบในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม และศึกษากลยุทธ์ทางการจัดการสมัยใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการของบริษัทข้ามชาติในยุคปัจจุบัน
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์การและสังคม สามารถคิดและวิเคราะห์ผลกระทบของความแตกต่างระหว่างบุคคล องค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ อภิปรายกลุ่ม

กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการและทฤษฎี
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากความหลากหลายทางวัฒนธรรม
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาโดยการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศที่เหมาะสม
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการศึกษากรณีศึกษา
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการบริหารจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
3.3.2 วัดผลจากการนำเสนอผลงาน
3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา และการมีส่วนร่วม
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคลและรายกลุ่ม
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.4 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.4 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอ
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะในการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพอย่างมืออาชีพ (Hands on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2,3,4 5,6 1,3 2,4 5,6,7,8,9 2 1,3 4,5 1 2,4 3,5,6,7 2 1,3 4,5,6 1,2,3,4,5
1 BBAIB924 การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
มานิตย์ มัลลวงค์. 2551. การจัดการระหว่างประเทศ. เชียงใหม่ : ชำนาญการพิมพ์.
กนกวรรณ เวชกามา. 2554. การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. ลำปาง : มทร.ล้านนา ลำปาง
อัจฉราพรรณ ลีฬพันธ์. 2557. Global Marketing Strategy. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
Dean B. McFarlin, Paul D. Sweeney. 1998. International Management : Trends,Challenges, and Opportunities. South-Western College Publishing Company : Cincinnati, Ohio.
Mike W. Peng. 2009. Global Business. South-Western Cengage Learning : Nelson Education, Ltd., Canada.
คำศัพท์เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ
ขั้นตอนการส่งสินค้าออกต่างประเทศ
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
เว็บไซต์ กรมการส่งออก และ กรมการค้าระหว่างประเทศ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์