ภาษาอังกฤษสำหรับงานบริการ

English for Hospitality

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ภาษาอังกฤษด้านการบริการโดยเน้นการศึกษาด้านการฟัง การพูด การอ่านและการเขียน เพื่อการติดต่อและสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆในงานบริการ เช่น งานบริการในโรงแรม งานบริการในร้านอาหาร งานบริการสนามบิน เป็นต้น
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจหลักภาษาอังกฤษและทักษะในการสื่อสารภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน (ฟัง พูด อ่าน เขียน) อยู่ในระดับดี
2. เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการสนทนาภาษาอังกฤษตามสถานการณ์ต่างๆ ในงานทางด้านบริการ
3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจถึงวัฒนธรรมการใช้ภาษาอังกฤษอันหลากหลายและมีความมั่นใจในการที่จะนำภาษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน
ศึกษาคำศัพท์ สำนวนรูปแบบภาษาสำหรับแขก ฝึกปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยงข้องกับการบริการ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือ ฝึกสนทนาโต้ตอบได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่วโดยฝึกสำนวน และโครงสร้างประโยคที่จำเป็นในการสนทนาสำหรับงานบริการ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการ ปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
สอนคุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในบทเรียนวิชาเฉพาะ
สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน
ทำงานเป็นกลุ่ม และรายงานผลงาน
-มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก
-มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ
มอบหัวข้อเรื่องให้ค้นคว้าและทำรายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานจริง ภาคปฏิบัติ
อภิปรายเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้สอนตั้งคำถามตามระบบการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
การศึกษานอกสถานที่และทำรายงาน
 
ทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ โดยการสอบย่อย และให้คะแนน
ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน
-มีความสามารถประมวล และศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ข้อโต้แย้ง และสังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก
-สามารถสาธิต ทักษะในการแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
การอภิปรายเป็นกลุ่ม
การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าหรืองานเกี่ยวกับการพัฒนาเป็นทีม
การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการในสายอาชีพ
กำหนดให้มีรายวิชาที่ต้องใช้ทักษะการคำนวณ เช่น การจัดการการบริการ การควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่ม
-ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ
-การสอบข้อเขียน
-การเขียนรายงาน
-มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม
-สามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และตรง ตามมาตรฐานสากล
-บรรจุเนื้อหาความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรายวิชาชีพ
-มอบหมายงานรายบุคคล
-สอนโดยใช้กรณีศึกษา
-ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
-ประเมินตนเอง 
-สังเกตพฤติกรรมในการเรียนผ่านระบบ Microsoft Teams and Moodle
-สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนอย่างมี ประสิทธิภาพ
-สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม
-สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-ทดสอบระดับความสามารถทางภาษาในการติดต่อกับคนไทยและต่างชาติโดยการสอบปฏิบัติ
-ฝึกให้นำเสนอผลงานที่ค้นคว้าด้วยตนเองในห้องเรียน
-บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชาที่
สามารถทำได้
-ประเมินผลโดยการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ
-ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 1.41 บันทึกการเข้าห้องเรียนตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 และพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนการสอน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1 การสอบกลางภาค 9 20%
3 2.1 4.3 ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมาย (International Menu & Ingredients - Powerpoint 10 5%
4 2.1 3.1 4.1 ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย งานที่ 1 Vedio Clip: Announcement - Emergency / Evacuation / Airline on board (5 คะแนน) งานที่ 2 What is your favourite menu? (5 คะแนน) งานที่ 1 สัปดาห์ที่ 14 งานที่ 2 สัปดาห์ที่ 16 10%
5 2.1 5.3 การสอบปลายภาค 16 20%
6 2.1 5.3 การมอบหมายงานผ่าน worksheet บนระบบ Moodle (RMUTL Education) ตลอดภาคการศึกษา (15 สัปดาห์) 30%
7 2.1 5.3 การทำแบบทดสอบ (Quiz ผ่านระบบ Moodle) 16 5%
Career Paths: Hotels & Catering, TES
Francis O’Hara. (2002). Be My Guest English for the Hotel Industry. The United Kingdom at the University Press, Cambridge: print (2008).
Cambridge University Press. (2005). Cambridge IELTS 4 Examination papers from University of Cambridge ESOL Examinations: English for Speakers of Other Languages. United Kingdom: University Press. Cambridge.
Erica J. Willaims. (2008). Presentation in English. Thailand: Macmillan.
Garry Adams & Terry Peck. (2010). 101 Helpful Hints for IELTS. Australia: Adam & Austen Press.
Kenneth Thomson. (2008). English for meetings expresses series. New York: Oxford University Press.
TGRE Institute publications. (2006). CU-TEP Listening with Audio CD. Thailand: TGRE Institute publications.
Karl Nordvall, (2003). Talk about travel, Compass Publishing.
Robin Walker and Keith Harding. (2007). Oxford English for Careers Tourism 2. Oxford University
Press
Peter Strutt. (2010). English for International Tourism. Pearson Education Limited.
Jones Leo. (2005). Welcome! English for the travel and tourism industry. Cambridge Professional English. Cambridge University Press.
 
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้
1.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

1.2 ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้

ความรู้ความสามารถโดยรวมและประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชานี้

ข้อเสนอแนะอื่นๆ
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ประจำหลักสูตร ดำเนินการดังต่อไปนี้
2.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ 1
2.2 สุ่มสังเกตการสอนและการประเมินการจัดการเรียนการสอน (โดยเพื่อนอาจารย์) ในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

2.3 ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเอง ในประเด็นต่อไปนี้

ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มีกลไกและวิธีการปรับปรุงการเรียนการสอน ดังนี้
3.1 ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละครั้ง
3.2 ประชุม/สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้

ผลการศึกษาของนักศึกษา

ผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยใช้แบบประเมินตนเองของนักศึกษาต่อระดับผลการเรียนรู้ และวิธีการสุ่มสัมภาษณ์นักศึกษา
นำข้อมูลที่ได้รับจากการประเมินผู้สอนมาใช้ในการปรับปรุงทั้งเนื้อหา ลำดับการสอน วิธีการสอนและประเมินผล ในปีการศึกษาต่อไป